วันที่ 2009-09-18 15:52:35
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
การไฟฟ้า 3 แห่ง เปิดให้ SPP และ VSPP ประเภทพลังงานหมุนเวียน ยื่นข้อเสนอขอรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าใหม่ หวังกระตุ้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่ม ตามแผนพัฒนาพลังงานฯ 15 ปี
ภาครัฐเพิ่มมาตรการจูงใจ SPP และ VSPP กระตุ้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี โดยการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ออกประกาศเปิดให้ SPP และ VSPP รายใหม่ และรายเดิมที่ยังไม่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้า หรือยังไม่มีสัญญาซื้อขายกับการไฟฟ้า สามารถยื่นข้อเสนอขอรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าใหม่แล้ว
รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน แจ้งว่า ตามที่ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เคยเห็นชอบแนวทางการปรับปรุงการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ไปแล้วเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 โดยแนวทางสำคัญในการส่งเสริมคือการกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า หรือ Adder
สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะโครงการขนาดเล็กมากๆ ที่อยู่ในชุมชน หรือแหล่งอนุรักษ์ป่าและต้นน้ำ และให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยกร่างประกาศการให้ Adder เพื่อให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ออกประกาศการกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า ตามประเภทระเบียบการรับซื้อไฟฟ้า
ซึ่งมีอยู่ 2 ระเบียบ คือ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) นั้น การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้ออกประกาศเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีผลบังคับใช้กับ SPP และ VSPP รายใหม่ และรายเดิมที่ยังไม่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้า หรือยังไม่มีสัญญาซื้อขายกับการไฟฟ้า ทั้งนี้ ผู้สนใจที่เข้าข่ายคุณสมบัติดังกล่าว สามารถยื่นข้อเสนอดังกล่าวได้แล้วที่การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง
สำหรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าที่ให้การส่งเสริมจะแยกตามประเภทเทคโนโลยีและเชื้อเพลิง โดยมีระยะเวลาการสนับสนุน 7 ปี ยกเว้นพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ มีระยะเวลาการสนับสนุน 10 ปี
1. ชีวมวล และก๊าซชีวภาพ กำลังการผลิตติดตั้งน้อยกว่าหรือเท่ากับ ( ≤ )1 MW รับส่วนเพิ่ม 0.50 บาท/kWh หากมี กำลังการผลิตติดตั้งมากกว่า ( > ) 1 MW รับส่วนเพิ่ม 0.30 บาท/kWh
2. ขยะ แหล่งที่มาของขยะจะเป็นขยะชุมชน หรือขยะอุตสาหกรรมก็ได้ แต่ถ้าเป็นขยะอุตสาหกรรมต้องไม่ใช่ขยะอันตรายหรือขยะที่เป็นอินทรียวัตถุ โดยให้ Adder แตกต่างตามประเภทเทคโนโลยี คือ ระบบหมักหรือหลุมฝังกลบขยะ รับส่วนเพิ่ม 2.50 บาท/kWh พลังงานความร้อน รับส่วนเพิ่ม 3.50 บาท/kWh
3. พลังงานลม กำลังการผลิตติดตั้งน้อยกว่าหรือเท่ากับ ( ≤ ) 50 kW รับส่วนเพิ่ม 4.50 บาท/kWh ถ้ากำลังการผลิตติดตั้งมากกว่า ( > ) 50 kW รับส่วนเพิ่ม 3.50 บาท/kWh
4. พลังงานน้ำขนาดเล็ก กำลังการผลิตติดตั้งตั้งแต่ 50 kW ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 200 kW รับส่วนเพิ่ม 0.80 บาท/kWh หากกำลังการผลิตติดตั้งน้อยกว่า ( < ) 50 kW รับส่วนเพิ่ม 1.50 บาท/kWh
5. พลังงานแสงอาทิตย์ รับส่วนเพิ่ม 8 บาท/kWh
ผู้ผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ในพื้นที่มีการผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันดีเซลของ กฟภ. จะได้รับส่วนเพิ่มพิเศษอีก 1 บาท/kWh สำหรับพลังงานชีวมวล พลังน้ำ ขยะ และก๊าซชีวภาพ และในอัตรา 1.50 บาท/kWh สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม นอกจากนี้ หากผู้ผลิตไฟฟ้าที่ตั้งโรงไฟฟ้าในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ ก็จะได้รับส่วนเพิ่มฯ พิเศษเพิ่มขึ้นอีกในอัตราพิเศษเดียวกัน
ทั้งนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้าสามารถยื่นเอกสารขอรับส่วนเพิ่ม ตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าและหลักค้ำประกันการยื่นเสนอขายไฟฟ้า โดยกำหนดตามปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายในอัตรา 200 บาทต่อกิโลวัตต์ สำหรับปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายต่ำกว่า 100 กิโลวัตต์ จะยกเว้นการวางหลักค้ำประกัน ซึ่งกำหนดให้ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเดิมวางหลักค้ำประกันภายใน 60 วันหลังได้รับแจ้ง และผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหม่ให้วางหลักค้ำประกัน ณ วันยื่นข้อเสนอ
สำหรับหลักการพิจารณาตอบรับซื้อไฟฟ้า จะพิจารณาจากลำดับการยื่นข้อเสนอ และความพร้อมที่จะดำเนินการได้ตามแผนการดำเนินงานที่เสนอ รวมทั้งเอกสารหลักฐานที่ยื่นประกอบการพิจารณาและผลกระทบต่อค่าเอฟที ตลอดจนความสอดคล้องของวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบกับเป้าหมายตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี
อย่างไรก็ตาม การไฟฟ้าจะคืนหลักค้ำประกันให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอภายใน 15 วันทำการ สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้า หรือผู้ผลิตไฟฟ้าที่ได้เริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าตามวันเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้า (SCOD) ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และการไฟฟ้าฯ จะยึดหลักค้ำประกันในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอขอถอนข้อเสนอขายไฟฟ้า หรือไม่สามารถลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ได้มีการตกลงตามขั้นตอนของการเจรจา
ในกรณีผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วไม่สามารถเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าได้ตาม SCOD ที่ระบุในสัญญา การไฟฟ้าจะคิดค่าปรับจากการล่าช้านั้นได้ในอัตราร้อยละ 0.33 ต่อวันของวงเงินค้ำประกัน หลังจากครบ 60 วัน นับจากวัน SCOD และถ้าไม่มีการเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าภายในระยะเวลา 12 นับจากวัน SCOD แล้ว ให้ถือว่าสัญญาซื้อขายไฟฟ้าสิ้นสุดลง และการไฟฟ้าฯ มีสิทธิยึดหลักค้ำประกันการยื่นข้อเสนอได้
. (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
การไฟฟ้า 3 แห่ง เปิดให้ SPP และ VSPP ประเภทพลังงานหมุนเวียน ยื่นข้อเสนอขอรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าใหม่ หวังกระตุ้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่ม ตามแผนพัฒนาพลังงานฯ 15 ปี
ภาครัฐเพิ่มมาตรการจูงใจ SPP และ VSPP กระตุ้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี โดยการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ออกประกาศเปิดให้ SPP และ VSPP รายใหม่ และรายเดิมที่ยังไม่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้า หรือยังไม่มีสัญญาซื้อขายกับการไฟฟ้า สามารถยื่นข้อเสนอขอรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าใหม่แล้ว
รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน แจ้งว่า ตามที่ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เคยเห็นชอบแนวทางการปรับปรุงการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ไปแล้วเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 โดยแนวทางสำคัญในการส่งเสริมคือการกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า หรือ Adder
สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะโครงการขนาดเล็กมากๆ ที่อยู่ในชุมชน หรือแหล่งอนุรักษ์ป่าและต้นน้ำ และให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยกร่างประกาศการให้ Adder เพื่อให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ออกประกาศการกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า ตามประเภทระเบียบการรับซื้อไฟฟ้า
ซึ่งมีอยู่ 2 ระเบียบ คือ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) นั้น การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้ออกประกาศเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีผลบังคับใช้กับ SPP และ VSPP รายใหม่ และรายเดิมที่ยังไม่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้า หรือยังไม่มีสัญญาซื้อขายกับการไฟฟ้า ทั้งนี้ ผู้สนใจที่เข้าข่ายคุณสมบัติดังกล่าว สามารถยื่นข้อเสนอดังกล่าวได้แล้วที่การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง
สำหรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าที่ให้การส่งเสริมจะแยกตามประเภทเทคโนโลยีและเชื้อเพลิง โดยมีระยะเวลาการสนับสนุน 7 ปี ยกเว้นพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ มีระยะเวลาการสนับสนุน 10 ปี
1. ชีวมวล และก๊าซชีวภาพ กำลังการผลิตติดตั้งน้อยกว่าหรือเท่ากับ ( ≤ )1 MW รับส่วนเพิ่ม 0.50 บาท/kWh หากมี กำลังการผลิตติดตั้งมากกว่า ( > ) 1 MW รับส่วนเพิ่ม 0.30 บาท/kWh
2. ขยะ แหล่งที่มาของขยะจะเป็นขยะชุมชน หรือขยะอุตสาหกรรมก็ได้ แต่ถ้าเป็นขยะอุตสาหกรรมต้องไม่ใช่ขยะอันตรายหรือขยะที่เป็นอินทรียวัตถุ โดยให้ Adder แตกต่างตามประเภทเทคโนโลยี คือ ระบบหมักหรือหลุมฝังกลบขยะ รับส่วนเพิ่ม 2.50 บาท/kWh พลังงานความร้อน รับส่วนเพิ่ม 3.50 บาท/kWh
3. พลังงานลม กำลังการผลิตติดตั้งน้อยกว่าหรือเท่ากับ ( ≤ ) 50 kW รับส่วนเพิ่ม 4.50 บาท/kWh ถ้ากำลังการผลิตติดตั้งมากกว่า ( > ) 50 kW รับส่วนเพิ่ม 3.50 บาท/kWh
4. พลังงานน้ำขนาดเล็ก กำลังการผลิตติดตั้งตั้งแต่ 50 kW ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 200 kW รับส่วนเพิ่ม 0.80 บาท/kWh หากกำลังการผลิตติดตั้งน้อยกว่า ( < ) 50 kW รับส่วนเพิ่ม 1.50 บาท/kWh
5. พลังงานแสงอาทิตย์ รับส่วนเพิ่ม 8 บาท/kWh
ผู้ผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ในพื้นที่มีการผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันดีเซลของ กฟภ. จะได้รับส่วนเพิ่มพิเศษอีก 1 บาท/kWh สำหรับพลังงานชีวมวล พลังน้ำ ขยะ และก๊าซชีวภาพ และในอัตรา 1.50 บาท/kWh สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม นอกจากนี้ หากผู้ผลิตไฟฟ้าที่ตั้งโรงไฟฟ้าในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ ก็จะได้รับส่วนเพิ่มฯ พิเศษเพิ่มขึ้นอีกในอัตราพิเศษเดียวกัน
ทั้งนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้าสามารถยื่นเอกสารขอรับส่วนเพิ่ม ตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าและหลักค้ำประกันการยื่นเสนอขายไฟฟ้า โดยกำหนดตามปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายในอัตรา 200 บาทต่อกิโลวัตต์ สำหรับปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายต่ำกว่า 100 กิโลวัตต์ จะยกเว้นการวางหลักค้ำประกัน ซึ่งกำหนดให้ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเดิมวางหลักค้ำประกันภายใน 60 วันหลังได้รับแจ้ง และผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหม่ให้วางหลักค้ำประกัน ณ วันยื่นข้อเสนอ
สำหรับหลักการพิจารณาตอบรับซื้อไฟฟ้า จะพิจารณาจากลำดับการยื่นข้อเสนอ และความพร้อมที่จะดำเนินการได้ตามแผนการดำเนินงานที่เสนอ รวมทั้งเอกสารหลักฐานที่ยื่นประกอบการพิจารณาและผลกระทบต่อค่าเอฟที ตลอดจนความสอดคล้องของวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบกับเป้าหมายตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี
อย่างไรก็ตาม การไฟฟ้าจะคืนหลักค้ำประกันให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอภายใน 15 วันทำการ สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้า หรือผู้ผลิตไฟฟ้าที่ได้เริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าตามวันเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้า (SCOD) ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และการไฟฟ้าฯ จะยึดหลักค้ำประกันในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอขอถอนข้อเสนอขายไฟฟ้า หรือไม่สามารถลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ได้มีการตกลงตามขั้นตอนของการเจรจา
ในกรณีผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วไม่สามารถเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าได้ตาม SCOD ที่ระบุในสัญญา การไฟฟ้าจะคิดค่าปรับจากการล่าช้านั้นได้ในอัตราร้อยละ 0.33 ต่อวันของวงเงินค้ำประกัน หลังจากครบ 60 วัน นับจากวัน SCOD และถ้าไม่มีการเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าภายในระยะเวลา 12 นับจากวัน SCOD แล้ว ให้ถือว่าสัญญาซื้อขายไฟฟ้าสิ้นสุดลง และการไฟฟ้าฯ มีสิทธิยึดหลักค้ำประกันการยื่นข้อเสนอได้
. (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)