วันที่ 2009-09-18 10:04:15
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
กอร์ปศักดิ์ เผยรัฐบาลสั่งสภาพัฒน์รื้อแผนพัฒนาอุตสาหกรรมให้เสร็จปีนี้ เน้นเศรษฐกิจเติบโตจากภายในประเทศ ค้านโครงการลงทุนเหล็กต้นน้ำในไทย หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อม
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในงานเสวนา "ทิศทางอุตสาหกรรมไทยภายใต้หลักเกณฑ์ HIA" จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ว่า รัฐบาลสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศใหม่ ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้
ซึ่งตั้งโจทย์ไปว่าให้เพิ่มสัดส่วนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจากภายในประเทศให้มากขึ้น และประชาชนเกิดความสุขมากขึ้น ไม่ใช่มุ่งเน้นแต่การส่งออกแต่ความสุขของคนไทยน้อยลง เพราะถูกแทนที่ด้วยโรงงานที่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
"โครงการลงทุนใหญ่ๆ อาทิ โครงการลงทุนเหล็กต้นน้ำ โครงการปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานเม็ดพลาสติก แม้เม็ดเงินลงทุนโครงการเหล่านี้จะสูง แต่ยังมีสิ่งต้องระวัง เพราะไม่ว่าจะทำระบบให้ดีเพียงใด มีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ เช่น ระบบไฟฟ้าขัดข้อง อาจมีการรั่วไหลของสารเคมีต่างๆ จนกลายเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในระยะต่อไปในที่สุด หากเป็นไปได้ประเทศไทยควรซื้อสิ่งเหล่านี้จากต่างประเทศ" นายกอร์ปศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ในความเห็นส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับโครงการลงทุนเหล็กต้นน้ำที่นักลงทุนญี่ปุ่นต้องการเข้าลงทุนในไทย ไทยต้องกล้าปฏิเสธหากเห็นว่าเป็นอันตรายต่อประเทศ โดยมองว่าในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนจะไม่มีพรหมแดน เพราะภาษีนำเข้าสินค้าจะเป็น 0% และเมื่อนั้นไทยก็สามารถนำเข้าเหล็กแทนได้
ดังนั้นการลงทุนเหล็กต้นน้ำสามารถชะลอออกไปก่อนได้ จากขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมกำลังศึกษาพื้นที่เหมาะสมในการตั้งโครงการเหล็กต้นน้ำ ซึ่งโครงการนี้ไม่ควรเกิดขึ้นในภาคใต้ที่เหมาะสมในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวมากกว่า
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวถึงการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุดว่า การลงทุนใน 55 โครงการที่ผ่านการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)แล้ว มูลค่า 2.8 แสนล้านบาท ควรจะเป็นการลงทุนล็อตสุดท้าย เพราะพื้นที่การลงทุนไม่มีเหลือแล้ว ต้องศึกษาพื้นที่ใหม่เพื่อรองรับการลงทุนใหม่ๆ ในอนาคต
ซึ่งต้องมีความชัดเจนว่าอุตสาหกรรมใดจะสามารถลงทุนในพื้นที่ใดได้บ้าง กระทบถึงปัญหาคุณภาพน้ำใต้ดินหรือไม่ โดยต้องพิจารณาว่าการลงทุนแถบชายฝั่งทะเลภาคใต้(เซาเทิร์นซีบอร์ด) จะเป็นที่ควรลงทุนอุตสาหกรรมหนักหรือไม่ หลังจากการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก(อีสเทิร์นซีบอร์ด) ไม่สามารถรองรับการลงทุนโครงการใหม่ๆ ได้อีกต่อไป
นายเดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(เอชไอเอ) กล่าวว่า อยากให้ทุกหน่วยงานเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำให้เกิดพื้นสาธารณะในเขตมาบตาพุดอีกครั้ง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะด้านสุขภาพที่จะถูกพัฒนาให้ดีขึ้นถึงเวลาที่จะต้องเอาโซนสาธารณะกลับคืนมา
ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสดออนไลน์ (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
กอร์ปศักดิ์ เผยรัฐบาลสั่งสภาพัฒน์รื้อแผนพัฒนาอุตสาหกรรมให้เสร็จปีนี้ เน้นเศรษฐกิจเติบโตจากภายในประเทศ ค้านโครงการลงทุนเหล็กต้นน้ำในไทย หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อม
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในงานเสวนา "ทิศทางอุตสาหกรรมไทยภายใต้หลักเกณฑ์ HIA" จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ว่า รัฐบาลสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศใหม่ ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้
ซึ่งตั้งโจทย์ไปว่าให้เพิ่มสัดส่วนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจากภายในประเทศให้มากขึ้น และประชาชนเกิดความสุขมากขึ้น ไม่ใช่มุ่งเน้นแต่การส่งออกแต่ความสุขของคนไทยน้อยลง เพราะถูกแทนที่ด้วยโรงงานที่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
"โครงการลงทุนใหญ่ๆ อาทิ โครงการลงทุนเหล็กต้นน้ำ โครงการปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานเม็ดพลาสติก แม้เม็ดเงินลงทุนโครงการเหล่านี้จะสูง แต่ยังมีสิ่งต้องระวัง เพราะไม่ว่าจะทำระบบให้ดีเพียงใด มีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ เช่น ระบบไฟฟ้าขัดข้อง อาจมีการรั่วไหลของสารเคมีต่างๆ จนกลายเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในระยะต่อไปในที่สุด หากเป็นไปได้ประเทศไทยควรซื้อสิ่งเหล่านี้จากต่างประเทศ" นายกอร์ปศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ในความเห็นส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับโครงการลงทุนเหล็กต้นน้ำที่นักลงทุนญี่ปุ่นต้องการเข้าลงทุนในไทย ไทยต้องกล้าปฏิเสธหากเห็นว่าเป็นอันตรายต่อประเทศ โดยมองว่าในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนจะไม่มีพรหมแดน เพราะภาษีนำเข้าสินค้าจะเป็น 0% และเมื่อนั้นไทยก็สามารถนำเข้าเหล็กแทนได้
ดังนั้นการลงทุนเหล็กต้นน้ำสามารถชะลอออกไปก่อนได้ จากขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมกำลังศึกษาพื้นที่เหมาะสมในการตั้งโครงการเหล็กต้นน้ำ ซึ่งโครงการนี้ไม่ควรเกิดขึ้นในภาคใต้ที่เหมาะสมในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวมากกว่า
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวถึงการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุดว่า การลงทุนใน 55 โครงการที่ผ่านการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)แล้ว มูลค่า 2.8 แสนล้านบาท ควรจะเป็นการลงทุนล็อตสุดท้าย เพราะพื้นที่การลงทุนไม่มีเหลือแล้ว ต้องศึกษาพื้นที่ใหม่เพื่อรองรับการลงทุนใหม่ๆ ในอนาคต
ซึ่งต้องมีความชัดเจนว่าอุตสาหกรรมใดจะสามารถลงทุนในพื้นที่ใดได้บ้าง กระทบถึงปัญหาคุณภาพน้ำใต้ดินหรือไม่ โดยต้องพิจารณาว่าการลงทุนแถบชายฝั่งทะเลภาคใต้(เซาเทิร์นซีบอร์ด) จะเป็นที่ควรลงทุนอุตสาหกรรมหนักหรือไม่ หลังจากการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก(อีสเทิร์นซีบอร์ด) ไม่สามารถรองรับการลงทุนโครงการใหม่ๆ ได้อีกต่อไป
นายเดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(เอชไอเอ) กล่าวว่า อยากให้ทุกหน่วยงานเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำให้เกิดพื้นสาธารณะในเขตมาบตาพุดอีกครั้ง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะด้านสุขภาพที่จะถูกพัฒนาให้ดีขึ้นถึงเวลาที่จะต้องเอาโซนสาธารณะกลับคืนมา
ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสดออนไลน์ (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)