วันที่ 2009-10-14 13:42:21
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
สภาทนายความออกโรงค้านอุทธรณ์ "มาบตาพุด" ยื่นศาลปกครองดีเดย์ 15 ต.ค. จวกรัฐอ้างเศรษฐกิจดิ่งเหว ด้าน "ขุนคลัง" รับลูกทันควันแก้กฎหมายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ยันต้องใช้เวลา ขณะที่ ครม.อนุมัติกรอบโครงการลงทุน 2.3 แสน ล.โยกเงินคงคลัง 5 หมื่นล้านหนุนลงทุน
นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ
นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ กล่าวว่า ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ สภาทนายความและชาวบ้านจะยื่นคัดค้านการยื่นอุทธรณ์ของรัฐบาลต่อศาลปกครอง หลังจากศาลปกครองกลางมีคำสั่งระงับ 76 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวระหว่างที่ยังไม่มีคำพิพากษากรณีการยื่นฟ้องต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกับพวกรวม 18 คน เพื่อให้โครงการในนิคมอุตสาหกรรมปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
โดยกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้โครงการใหญ่ ต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน การจัดกระบวนการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน และต้องให้มีผู้แทนองค์กรอิสระให้ความเห็นชอบก่อน
ทั้งนี้การยื่นคัดค้านการอุทธรณ์ดังกล่าว สภาทนายความและชาวบ้านจะให้เหตุผลว่า หากดำเนินโครงการต่อไป จะส่งผลกระทบต่อชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณดังกล่าว โดยจะแนบเอกสารให้ศาลพิจารณา รายงานการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในเม็ดเลือดของชาวบ้าน ผลการตรวจสอบสภาพน้ำใต้ดินและรายงานมลภาวะ
นายเดชอุดม กล่าวต่อว่า การนำเหตุผลทางเศรษฐกิจของกลุ่มโรงงาน อาทิ รายได้ของประเทศจะลดลง การสูญเสียโอกาสทางการลงทุน การจ้างงานที่จะเสียไปนั้น ถือเป็นข้ออ้างที่ไม่เหมาะสม เพราะไม่ใช่ประเด็นที่นำไปต่อสู้ทางคดี ซึ่งถือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง จึงเรียกร้องให้ฝ่ายตรงกันข้ามยุติการดำเนินการดังกล่าว
นายสุทธิ อัชฌาศัย แกนนำกลุ่มผู้ฟ้อง กล่าวว่า แม้ศาลปกครองมีคำสั่งให้ 76 โครงการยุติการดำเนินการ แต่ยังพบว่าในพื้นที่ยังคงมีการก่อสร้างอาคารโรงงานเป็นปกติเช่นเดิม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีมีการหารือทางออกกรณีที่ศาลปกครองมีคำสั่งระงับ 76 โครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอให้คณะรัฐมนตรี เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งกฎหมายฉบับดังกล่าว เป็นฉบับแก้ไขเพื่อให้มีกฎหมายถาวรรองรับการตีความประเภทอุตสาหกรรมที่รุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในระหว่างที่รอการแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในขั้นตอนของสภาต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงต้องออกระเบียบควบคุมดูแลโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2
หากโรงงานอุตสาหกรรมรายใดปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวแล้ว ก็จะสามารถกลับมาดำเนินการต่อไปได้ โดยยอมรับว่าการที่เอ็นจีโอจะฟ้องร้องโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมฯ ทั่วประเทศ หากส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อผู้ประกอบการได้ แต่รัฐบาลก็ต้องหาจุดสมดุลระหว่างการดูแลสิ่งแวดล้อมและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
นายกรณ์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบอนุมัติโครงการลงทุนตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งเพิ่มเติมอีกในวงเงิน 230,000 แสนล้านบาท จากเดิมมีการอนุมัติโครงการลงทุนไปแล้ว 1.06 ล้านล้าน ซึ่งจะทำให้โครงการลงทุนตามแผนไทยเข้มแข็ง มีการอนุมัติการลงทุนรวมแล้ว 1.3 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ ครม.ยังได้อนุมัติกรอบการใช้เงิน ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นเงินลงทุนตามแผนไทยเข้มแข็ง 50,000 ล้านบาท หลังจากที่รัฐบาลใช้เงินกู้ตาม พ.ร.ก. เพื่อชดเชยเงินคงคลังลดลงเหลือเพียง 50,000 ล้านบาท ดังนั้น การนำเงินจากการกู้เงินตาม พ.ร.ก.กู้เงินฯ ไปใช้เพื่อการลงทุนจึงเพิ่มเป็น 350,000 ล้านบาท
กระทรวงการคลังจะเสนอ ครม.ในสัปดาหน้า เพื่อพิจารณารายละเอียดโครงการลงทุน ในวงเงิน 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่ใช้เงินตาม พ.ร.ก.กู้เงินฯ ที่จะผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการลงทุนที่มีนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์ ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน
โดยบางโครงการสามารถบรรจุเข้าวาระการพิจารณาได้ เนื่องจากมีความชัดเจนแล้ว เช่น โครงการประกันรายได้เกษตร ที่ปลูกมันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ วงเงิน 41,000 ล้านบาท โครงการกระจายงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 30,000 ล้านบาท เงินสมทบเข้ากองทุนหมู่บ้าน 19,000 ล้านบาท โครงการบ้านมั่นคง 6,000 ล้านบาท
ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
สภาทนายความออกโรงค้านอุทธรณ์ "มาบตาพุด" ยื่นศาลปกครองดีเดย์ 15 ต.ค. จวกรัฐอ้างเศรษฐกิจดิ่งเหว ด้าน "ขุนคลัง" รับลูกทันควันแก้กฎหมายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ยันต้องใช้เวลา ขณะที่ ครม.อนุมัติกรอบโครงการลงทุน 2.3 แสน ล.โยกเงินคงคลัง 5 หมื่นล้านหนุนลงทุน
นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ
นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ กล่าวว่า ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ สภาทนายความและชาวบ้านจะยื่นคัดค้านการยื่นอุทธรณ์ของรัฐบาลต่อศาลปกครอง หลังจากศาลปกครองกลางมีคำสั่งระงับ 76 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวระหว่างที่ยังไม่มีคำพิพากษากรณีการยื่นฟ้องต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกับพวกรวม 18 คน เพื่อให้โครงการในนิคมอุตสาหกรรมปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
โดยกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้โครงการใหญ่ ต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน การจัดกระบวนการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน และต้องให้มีผู้แทนองค์กรอิสระให้ความเห็นชอบก่อน
ทั้งนี้การยื่นคัดค้านการอุทธรณ์ดังกล่าว สภาทนายความและชาวบ้านจะให้เหตุผลว่า หากดำเนินโครงการต่อไป จะส่งผลกระทบต่อชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณดังกล่าว โดยจะแนบเอกสารให้ศาลพิจารณา รายงานการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในเม็ดเลือดของชาวบ้าน ผลการตรวจสอบสภาพน้ำใต้ดินและรายงานมลภาวะ
นายเดชอุดม กล่าวต่อว่า การนำเหตุผลทางเศรษฐกิจของกลุ่มโรงงาน อาทิ รายได้ของประเทศจะลดลง การสูญเสียโอกาสทางการลงทุน การจ้างงานที่จะเสียไปนั้น ถือเป็นข้ออ้างที่ไม่เหมาะสม เพราะไม่ใช่ประเด็นที่นำไปต่อสู้ทางคดี ซึ่งถือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง จึงเรียกร้องให้ฝ่ายตรงกันข้ามยุติการดำเนินการดังกล่าว
นายสุทธิ อัชฌาศัย แกนนำกลุ่มผู้ฟ้อง กล่าวว่า แม้ศาลปกครองมีคำสั่งให้ 76 โครงการยุติการดำเนินการ แต่ยังพบว่าในพื้นที่ยังคงมีการก่อสร้างอาคารโรงงานเป็นปกติเช่นเดิม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีมีการหารือทางออกกรณีที่ศาลปกครองมีคำสั่งระงับ 76 โครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอให้คณะรัฐมนตรี เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งกฎหมายฉบับดังกล่าว เป็นฉบับแก้ไขเพื่อให้มีกฎหมายถาวรรองรับการตีความประเภทอุตสาหกรรมที่รุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในระหว่างที่รอการแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในขั้นตอนของสภาต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงต้องออกระเบียบควบคุมดูแลโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2
หากโรงงานอุตสาหกรรมรายใดปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวแล้ว ก็จะสามารถกลับมาดำเนินการต่อไปได้ โดยยอมรับว่าการที่เอ็นจีโอจะฟ้องร้องโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมฯ ทั่วประเทศ หากส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อผู้ประกอบการได้ แต่รัฐบาลก็ต้องหาจุดสมดุลระหว่างการดูแลสิ่งแวดล้อมและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
นายกรณ์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบอนุมัติโครงการลงทุนตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งเพิ่มเติมอีกในวงเงิน 230,000 แสนล้านบาท จากเดิมมีการอนุมัติโครงการลงทุนไปแล้ว 1.06 ล้านล้าน ซึ่งจะทำให้โครงการลงทุนตามแผนไทยเข้มแข็ง มีการอนุมัติการลงทุนรวมแล้ว 1.3 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ ครม.ยังได้อนุมัติกรอบการใช้เงิน ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นเงินลงทุนตามแผนไทยเข้มแข็ง 50,000 ล้านบาท หลังจากที่รัฐบาลใช้เงินกู้ตาม พ.ร.ก. เพื่อชดเชยเงินคงคลังลดลงเหลือเพียง 50,000 ล้านบาท ดังนั้น การนำเงินจากการกู้เงินตาม พ.ร.ก.กู้เงินฯ ไปใช้เพื่อการลงทุนจึงเพิ่มเป็น 350,000 ล้านบาท
กระทรวงการคลังจะเสนอ ครม.ในสัปดาหน้า เพื่อพิจารณารายละเอียดโครงการลงทุน ในวงเงิน 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่ใช้เงินตาม พ.ร.ก.กู้เงินฯ ที่จะผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการลงทุนที่มีนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์ ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน
โดยบางโครงการสามารถบรรจุเข้าวาระการพิจารณาได้ เนื่องจากมีความชัดเจนแล้ว เช่น โครงการประกันรายได้เกษตร ที่ปลูกมันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ วงเงิน 41,000 ล้านบาท โครงการกระจายงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 30,000 ล้านบาท เงินสมทบเข้ากองทุนหมู่บ้าน 19,000 ล้านบาท โครงการบ้านมั่นคง 6,000 ล้านบาท
ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)