วันที่ 2009-09-10 16:01:31
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มองอนาคตการผลิตไฟฟ้าไทย แนะปรับสัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า กระจายแหล่งนำเข้าเชื้อเพลิง มีเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าที่หลากหลายช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน
ผศ.ดร.จำนง สรพิพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ไฟฟ้าคือปัจจัยที่ห้าของมนุษย์ หากไม่มีไฟฟ้าชีวิตของเราทุกคนคงแทบจะหยุดนิ่ง จะทำอย่างไรหากโรงไฟฟ้าไม่สามารถผลิตไฟฟ้าส่งไปทั่วทุกครัวเรือนได้ และจะทำเช่นไรหากแหล่งเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตไฟฟ้าไม่สามารถส่งมายังโรงไฟฟ้าได้ หลักประกันที่ว่าคนไทยจะมีแสงสว่างให้ใช้ทุกเมื่อโดยไม่ขาดแคลนนี้เรียกว่า "ความมั่นคงด้านพลังงาน"
จากกรณีที่สองเขื่อนใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรี คือ เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ต้องปล่อยน้ำจำนวนมากเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เพื่อทดแทนการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากแหล่งก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่าเกิดขัดข้องและไม่สามารถส่งก๊าซมายังประเทศไทยได้
เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเรื่องที่คนไทยไม่ควรมองข้าม และไม่เฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีเท่านั้นที่ต้องให้ความสนใจ เพราะความมั่นคงด้านพลังงานเป็นเรื่องที่เราทุกคนควรให้ความสนใจ และร่วมกันพิจารณาว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก ประเทศไทยจะรับมือกับเหตุขัดข้องด้านเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเช่นนี้ได้อย่างไร
ผศ.ดร.จำนง สรพิพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ประเด็นเกี่ยวกับพลังงาน โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องง่าย มีประเด็นต้องพิจารณาหลายด้าน ตั้งแต่การผลิตไฟฟ้าเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ การจัดหาเชื้อเพลิงเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า และเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตไฟฟ้า ซึ่งประเด็นทั้งหมดมีความเชื่อมโยงต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
"ผลิต เท่ากับ ความต้องการ" หลักการพื้นฐานของ "ไฟฟ้า"
การผลิตไฟฟ้าแตกต่างจากการผลิตพลังงานรูปแบบอื่น ที่ต้องมีการวางแผนการผลิตให้พอดีกับความต้องการใช้พลังงาน เพื่อไม่ให้กระแสไฟฟ้าที่จ่ายออกไปมากหรือน้อยเกินความต้องการใช้ไฟฟ้า เพราะจะส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปลายทางเกิดการชำรุดเสียหาย
"การผลิตไฟฟ้าต้องผลิตแล้วจ่ายออกทันที ไม่สามารถผลิตเกินแล้วเก็บไว้ใช้ได้ และเนื่องจากความต้องการไฟฟ้าในแต่ละวัน และแต่ละช่วงวันยังไม่เท่ากัน ดังนั้นการผลิตไฟฟ้าจึงต้องวางแผนให้สามารถผลิตได้เพียงพอในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้เพียงพอและไม่เกิดปัญหาไฟฟ้าดับ ทั้งนี้ในแต่ละปีจะมีความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จึงต้องมีการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้า ซึ่งต้องวางแผนล่วงหน้าอย่างน้อย 4-5 ปี จึงจะทันกับความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น
ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยประสบปัญหาขาดแคลนกระแสไฟฟ้า เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) มีการวางแผนการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง และมีกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่า 15% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด แต่ในประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ มักประสบปัญหาไฟฟ้าดับเป็นเวลานาน และดับในหลายๆ พื้นที่เป็นวงกว้าง หรือที่เรียกว่า Black Out" ผศ.ดร.จำนง กล่าว
ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงด้านพลังงาน
เชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อความมั่นคงด้านพลังงาน เชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้ามีหลายชนิด เช่น ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ชีวมวล น้ำมัน เป็นต้น การเลือกใช้เชื้อเพลิงควรมีการจัดสรรสัดส่วนให้เหมาะสม และไม่ควรใช้เชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งมากจนเกินไป ในกรณีที่ประเทศนั้นๆ ไม่มีแหล่งเชื้อเพลิงเป็นของตัวเอง
ผศ.ดร.จำนง กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ที่มีการพบแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในอ่าวไทย ประเทศไทยมีสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนขณะนี้มีสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าประมาณ 70% ในขณะที่ปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเริ่มร่อยหรอลงไปทุกที
ดังนั้นจึงต้องมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศพม่า และมาเลเซีย อีกทั้งนี้การนำเข้าก๊าซธรรมชาติก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน จากเดิมเมื่อ 5 ปีก่อนนำเข้าจากพม่าเพียง 3-5% เพิ่มเป็น 10% ในปัจจุบัน ซึ่งหากเกิดกรณีที่พม่าไม่สามารถส่งก๊าซธรรมชาติมาได้จะทำให้ขาดเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าไปถึง 10% อาจส่งผลเกิด Black Out ได้ จะเห็นว่าการพึ่งพาแหล่งเชื้อเพลิงจากประเทศอื่นมากเกินไปอาจนำไปสู่ความไม่มั่นคงด้านพลังงานของประเทศในอนาคต
ยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน
การปรับสัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า กระจายแหล่งนำเข้าเชื้อเพลิง และมีเทคโนโลยีสำหรับผลิตไฟฟ้าที่หลากหลายจะช่วยเพิ่มความมั่นด้านพลังงานให้กับประเทศได้
"ในระยะยาวประเทศไทยควรจะปรับสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับผลิตไฟฟ้าให้น้อยลง และเพิ่มสัดส่วนเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ให้มากขึ้น ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่สอดคล้องกับชนิดของเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน เขื่อนพลังงานน้ำ หรือผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
ทั้งนี้ การพิจารณาปรับสัดส่วนต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และต้นทุนการผลิตด้วย เช่น หากจะเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหิน ควรต้องสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับการใช้พลังงานหมุนเวียนนั้น แม้ในปัจจุบันจะมีต้นทุนสูง แต่จำเป็นต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้เพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
อีกทั้งทั่วโลกยังมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน และลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลง 50% ภายในระยะเวลา 50 ปีข้างหน้า เพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อน
สำหรับระยะกลาง ระหว่างที่ยังปรับสัดส่วนเชื้อเพลิงได้ไม่มากนัก และยังคงต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติอยู่ ควรจะกระจายแหล่งนำเข้าเชื้อเพลิงไปในหลายประเทศ เช่น นำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่า มาเลเซีย เขมร หรือนำเข้าไฟฟ้าที่ผลิตโดยพลังน้ำจากลาว
และในระยะสั้น สิ่งที่ควรทำมากที่สุด คือ การประหยัดไฟ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ทำได้ทันที และมีต้นทุนถูกที่สุด อีกทั้งทุกคนช่วยกันทำได้ ที่ผ่านมาเรามุ่งให้ความสนใจกับการจัดหาพลังงานมากเกินไป โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง คือ การประหยัดพลังงาน
การสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรู้จักประหยัดพลังงาน จะช่วยให้การเพิ่มขึ้นของความต้องการไฟฟ้าเป็นไปอย่างช้าๆหรือแม้แต่คงที่ ซึ่งจะช่วยให้มีการลดต้นทุนการนำเข้าเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้า ช่วยลดการพึ่งพาแหล่งเชื้อเพลิงจากต่างชาติ ซึ่งท้ายที่สุดจะช่วยนำพาประเทศไทยไปสู่หนทางของความมั่นคงด้านพลังงานที่ไม่ยาก" ผศ.ดร.จำนง กล่าว
ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนควรจะหันมาให้ความสนใจกับการใช้พลังงานอย่างประหยัด ไม่รอคอยให้มีใครมาแก้ปัญหา เพราะเราสามารถช่วยกันแก้ปัญหาด้านพลังงานที่เกิดขึ้นได้ด้วยมือของเราเอง
. (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มองอนาคตการผลิตไฟฟ้าไทย แนะปรับสัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า กระจายแหล่งนำเข้าเชื้อเพลิง มีเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าที่หลากหลายช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน
ผศ.ดร.จำนง สรพิพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ไฟฟ้าคือปัจจัยที่ห้าของมนุษย์ หากไม่มีไฟฟ้าชีวิตของเราทุกคนคงแทบจะหยุดนิ่ง จะทำอย่างไรหากโรงไฟฟ้าไม่สามารถผลิตไฟฟ้าส่งไปทั่วทุกครัวเรือนได้ และจะทำเช่นไรหากแหล่งเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตไฟฟ้าไม่สามารถส่งมายังโรงไฟฟ้าได้ หลักประกันที่ว่าคนไทยจะมีแสงสว่างให้ใช้ทุกเมื่อโดยไม่ขาดแคลนนี้เรียกว่า "ความมั่นคงด้านพลังงาน"
จากกรณีที่สองเขื่อนใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรี คือ เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ต้องปล่อยน้ำจำนวนมากเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เพื่อทดแทนการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากแหล่งก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่าเกิดขัดข้องและไม่สามารถส่งก๊าซมายังประเทศไทยได้
เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเรื่องที่คนไทยไม่ควรมองข้าม และไม่เฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีเท่านั้นที่ต้องให้ความสนใจ เพราะความมั่นคงด้านพลังงานเป็นเรื่องที่เราทุกคนควรให้ความสนใจ และร่วมกันพิจารณาว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก ประเทศไทยจะรับมือกับเหตุขัดข้องด้านเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเช่นนี้ได้อย่างไร
ผศ.ดร.จำนง สรพิพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ประเด็นเกี่ยวกับพลังงาน โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องง่าย มีประเด็นต้องพิจารณาหลายด้าน ตั้งแต่การผลิตไฟฟ้าเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ การจัดหาเชื้อเพลิงเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า และเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตไฟฟ้า ซึ่งประเด็นทั้งหมดมีความเชื่อมโยงต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
"ผลิต เท่ากับ ความต้องการ" หลักการพื้นฐานของ "ไฟฟ้า"
การผลิตไฟฟ้าแตกต่างจากการผลิตพลังงานรูปแบบอื่น ที่ต้องมีการวางแผนการผลิตให้พอดีกับความต้องการใช้พลังงาน เพื่อไม่ให้กระแสไฟฟ้าที่จ่ายออกไปมากหรือน้อยเกินความต้องการใช้ไฟฟ้า เพราะจะส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปลายทางเกิดการชำรุดเสียหาย
"การผลิตไฟฟ้าต้องผลิตแล้วจ่ายออกทันที ไม่สามารถผลิตเกินแล้วเก็บไว้ใช้ได้ และเนื่องจากความต้องการไฟฟ้าในแต่ละวัน และแต่ละช่วงวันยังไม่เท่ากัน ดังนั้นการผลิตไฟฟ้าจึงต้องวางแผนให้สามารถผลิตได้เพียงพอในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้เพียงพอและไม่เกิดปัญหาไฟฟ้าดับ ทั้งนี้ในแต่ละปีจะมีความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จึงต้องมีการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้า ซึ่งต้องวางแผนล่วงหน้าอย่างน้อย 4-5 ปี จึงจะทันกับความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น
ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยประสบปัญหาขาดแคลนกระแสไฟฟ้า เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) มีการวางแผนการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง และมีกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่า 15% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด แต่ในประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ มักประสบปัญหาไฟฟ้าดับเป็นเวลานาน และดับในหลายๆ พื้นที่เป็นวงกว้าง หรือที่เรียกว่า Black Out" ผศ.ดร.จำนง กล่าว
ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงด้านพลังงาน
เชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อความมั่นคงด้านพลังงาน เชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้ามีหลายชนิด เช่น ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ชีวมวล น้ำมัน เป็นต้น การเลือกใช้เชื้อเพลิงควรมีการจัดสรรสัดส่วนให้เหมาะสม และไม่ควรใช้เชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งมากจนเกินไป ในกรณีที่ประเทศนั้นๆ ไม่มีแหล่งเชื้อเพลิงเป็นของตัวเอง
ผศ.ดร.จำนง กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ที่มีการพบแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในอ่าวไทย ประเทศไทยมีสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนขณะนี้มีสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าประมาณ 70% ในขณะที่ปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเริ่มร่อยหรอลงไปทุกที
ดังนั้นจึงต้องมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศพม่า และมาเลเซีย อีกทั้งนี้การนำเข้าก๊าซธรรมชาติก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน จากเดิมเมื่อ 5 ปีก่อนนำเข้าจากพม่าเพียง 3-5% เพิ่มเป็น 10% ในปัจจุบัน ซึ่งหากเกิดกรณีที่พม่าไม่สามารถส่งก๊าซธรรมชาติมาได้จะทำให้ขาดเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าไปถึง 10% อาจส่งผลเกิด Black Out ได้ จะเห็นว่าการพึ่งพาแหล่งเชื้อเพลิงจากประเทศอื่นมากเกินไปอาจนำไปสู่ความไม่มั่นคงด้านพลังงานของประเทศในอนาคต
ยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน
การปรับสัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า กระจายแหล่งนำเข้าเชื้อเพลิง และมีเทคโนโลยีสำหรับผลิตไฟฟ้าที่หลากหลายจะช่วยเพิ่มความมั่นด้านพลังงานให้กับประเทศได้
"ในระยะยาวประเทศไทยควรจะปรับสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับผลิตไฟฟ้าให้น้อยลง และเพิ่มสัดส่วนเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ให้มากขึ้น ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่สอดคล้องกับชนิดของเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน เขื่อนพลังงานน้ำ หรือผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
ทั้งนี้ การพิจารณาปรับสัดส่วนต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และต้นทุนการผลิตด้วย เช่น หากจะเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหิน ควรต้องสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับการใช้พลังงานหมุนเวียนนั้น แม้ในปัจจุบันจะมีต้นทุนสูง แต่จำเป็นต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้เพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
อีกทั้งทั่วโลกยังมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน และลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลง 50% ภายในระยะเวลา 50 ปีข้างหน้า เพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อน
สำหรับระยะกลาง ระหว่างที่ยังปรับสัดส่วนเชื้อเพลิงได้ไม่มากนัก และยังคงต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติอยู่ ควรจะกระจายแหล่งนำเข้าเชื้อเพลิงไปในหลายประเทศ เช่น นำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่า มาเลเซีย เขมร หรือนำเข้าไฟฟ้าที่ผลิตโดยพลังน้ำจากลาว
และในระยะสั้น สิ่งที่ควรทำมากที่สุด คือ การประหยัดไฟ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ทำได้ทันที และมีต้นทุนถูกที่สุด อีกทั้งทุกคนช่วยกันทำได้ ที่ผ่านมาเรามุ่งให้ความสนใจกับการจัดหาพลังงานมากเกินไป โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง คือ การประหยัดพลังงาน
การสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรู้จักประหยัดพลังงาน จะช่วยให้การเพิ่มขึ้นของความต้องการไฟฟ้าเป็นไปอย่างช้าๆหรือแม้แต่คงที่ ซึ่งจะช่วยให้มีการลดต้นทุนการนำเข้าเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้า ช่วยลดการพึ่งพาแหล่งเชื้อเพลิงจากต่างชาติ ซึ่งท้ายที่สุดจะช่วยนำพาประเทศไทยไปสู่หนทางของความมั่นคงด้านพลังงานที่ไม่ยาก" ผศ.ดร.จำนง กล่าว
ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนควรจะหันมาให้ความสนใจกับการใช้พลังงานอย่างประหยัด ไม่รอคอยให้มีใครมาแก้ปัญหา เพราะเราสามารถช่วยกันแก้ปัญหาด้านพลังงานที่เกิดขึ้นได้ด้วยมือของเราเอง
. (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)