วันที่ 2009-09-07 11:49:30
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
7-8 ก.ย.นี้ กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ IEA ระดมสมองการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพในอาเซียนประจำปี 2009 เพื่อก้าวเข้าสู่เจเนอเรชั่นที่ 2 เชื่อมั่นภูมิภาคอาเซียนจะเป็น "OPEC แห่งเชื้อเพลิงชีวภาพ"
.
ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2552 กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ องค์การพลังงานระหว่างประเทศ(International Energy Agency : IEA) จัดงาน Bangkok Biofuels 2009 ภายใต้หัวข้อ "การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างยั่งยืน" ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประกอบด้วย ผู้แทนจาก 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงพลังงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
.
รวมถึงหน่วยงานด้านพลังงาน ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจากปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเอทานอล ผู้ผลิตไบโอดีเซล สถาบันการศึกษา และสถาบันการเงิน รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงาน IEA และเจ้าหน้าที่จากอาเซียนพร้อมทั้ง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และบราซิลรวมกว่า 18 ประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมงานครั้งนี้มากกว่า 200 คน
.
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นับเป็นความสำเร็จของประเทศไทยในการจัดงาน Bangkok Biofuels 2009 ภายใต้หัวข้อ "การพัฒนาพลังงานชีวภาพอย่างยั่งยืน" ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นการสนับสนุนเป้าหมายของการพัฒนาพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวภาพภายใต้แผนปฏิบัติการด้านพลังงานของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Plan of Action for Energy Cooperation : APAEC 2010-2015) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพไปสู่การพัฒนาในยุคต่อไป (2nd Generation Biofuels) หรือการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพด้วยวัตถุดิบด้านพลังงาน
.
ประเด็นสำคัญที่จะมีการพูดคุยครั้งนี้ ได้แก่ การพัฒนาพลังงานชีวภาพในระดับอาเซียนและระดับโลก เรื่องของเทคโนโลยีและการถ่ายทอดงานวิจัย โดยเฉพาะประเด็นข้อถกเถียงด้านวัตถุดิบการนำพืชอาหารมาผลิตเป็นพลังงาน ซึ่งในอนาคตได้มีการแก้ไขไปสู่การพัฒนาพลังงานในยุค 2nd Generation Biofuels เพื่อผลิตจากพืชพลังงานโดยตรงไม่พึ่งพาการใช้พืชอาหาร
.
เช่น การผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่าย การผลิตเอทานอลจากเศษไม้และฟางข้าว เป็นต้น นอกจากนี้ การหารือที่สำคัญ คือ เรื่องราคาเอทานอลแลกเปลี่ยนแนวคิดในการกำหนดราคาในแต่ละประเทศ ซึ่งมีการสะท้อนตามต้นทุนที่แท้จริง เพื่อให้ราคาเอทานอลสามารถแข่งขันได้กับราคาน้ำมันโดยไม่มีกลไกการให้เงินช่วยเหลือ ซึ่งประเทศบราซิลประสบความสำเร็จมาแล้ว
.
นายแพทย์วรรณรัตน์ กล่าวว่า ในอนาคตกลุ่มประเทศอาเซียนมีศักยภาพเพียงพอในการเป็นศูนย์กลางผู้ผลิตและผู้ส่งออกพลังงานชีวภาพในระดับโลก หรืออีกนัยหนึ่งเป็น "OPEC แห่งเชื้อเพลิงชีวภาพ" เนื่องจากพบว่าแต่ละประเทศมีศักยภาพที่เข้มแข็ง ตัวอย่างเช่น ประทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย เป็น ผู้ส่งออกปาล์มอันดับ 1 และอันดับ 2 ของโลก ส่วนประเทศไทยนั้น มีศักยภาพความเหมาะสมด้านภูมิศาสตร์การเป็นศูนย์กลาง (Hub) ด้านการพัฒนา/ผลิตวัตถุดิบและเชื้อเพลิงชีวภาพสำเร็จรูป เช่น แก๊สโซฮอล์ รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงได้หลากหลาย (Flexible Fuel Vehicle) และไบโอดีเซล
.
สำหรับในระดับภูมิภาคสำนักเลขาธิการอาเซียน และศูนย์พลังงานอาเซียน ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพและเน้นให้เกิดความร่วมมือในกลุ่มประเทศสมาชิกซึ่งรวมถึงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology) ด้านการกำกับดูแล กฎหมาย และกฎระเบียบ (Regulatory Framework) ด้านเศรษฐศาสตร์ การค้า และการลงทุน (Economic Trade and Investment) และด้านการเงิน (Financing) โดยมีเป้าหมายในปี 2015 ที่จะถึงนี้ในการเป็น 1 เดียว (ASEAN Community 2015) ในรูปแบบเดียวกับ EU
.
"การจัดงานประชุมครั้งนี้จึงเป็นการสะท้อนทิศทางการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างจริงจังในภูมิภาคอาเซียน เพื่อทดแทนการนำเข้าพลังงานหรือลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งประเทศไทยนับว่าเป็นผู้นำทางด้านพลังงานชีวภาพ เพราะเรามีแหล่งผลิตวัตถุดิบ และเป็นประเทศต้นแบบที่มีการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี โดยส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอย่างหลากหลาย ซึ่งในสถานีบริการน้ำมัน
.
ผู้ใช้น้ำมันเบนซินสามารถเลือกเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ซึ่งมีส่วนผสมเอทานอลได้ตั้งแต่สัดส่วน 10% - 20% และปัจจุบันมีสัดส่วน เอทานอลสูงสุดถึง 85% หรือ E85 ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับอนาคต นอกจากนี้ในน้ำมันดีเซลก็ให้มีการผสมไบโอดีเซลอย่างน้อย 2% และสามารถเลือกเติมไบโอดีเซล B5 ที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซล 5% ได้" นายแพทย์วรรณรัตน์ กล่าว
. (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
7-8 ก.ย.นี้ กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ IEA ระดมสมองการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพในอาเซียนประจำปี 2009 เพื่อก้าวเข้าสู่เจเนอเรชั่นที่ 2 เชื่อมั่นภูมิภาคอาเซียนจะเป็น "OPEC แห่งเชื้อเพลิงชีวภาพ"
.
ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2552 กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ องค์การพลังงานระหว่างประเทศ(International Energy Agency : IEA) จัดงาน Bangkok Biofuels 2009 ภายใต้หัวข้อ "การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างยั่งยืน" ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประกอบด้วย ผู้แทนจาก 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงพลังงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
.
รวมถึงหน่วยงานด้านพลังงาน ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจากปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเอทานอล ผู้ผลิตไบโอดีเซล สถาบันการศึกษา และสถาบันการเงิน รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงาน IEA และเจ้าหน้าที่จากอาเซียนพร้อมทั้ง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และบราซิลรวมกว่า 18 ประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมงานครั้งนี้มากกว่า 200 คน
.
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นับเป็นความสำเร็จของประเทศไทยในการจัดงาน Bangkok Biofuels 2009 ภายใต้หัวข้อ "การพัฒนาพลังงานชีวภาพอย่างยั่งยืน" ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นการสนับสนุนเป้าหมายของการพัฒนาพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวภาพภายใต้แผนปฏิบัติการด้านพลังงานของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Plan of Action for Energy Cooperation : APAEC 2010-2015) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพไปสู่การพัฒนาในยุคต่อไป (2nd Generation Biofuels) หรือการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพด้วยวัตถุดิบด้านพลังงาน
.
ประเด็นสำคัญที่จะมีการพูดคุยครั้งนี้ ได้แก่ การพัฒนาพลังงานชีวภาพในระดับอาเซียนและระดับโลก เรื่องของเทคโนโลยีและการถ่ายทอดงานวิจัย โดยเฉพาะประเด็นข้อถกเถียงด้านวัตถุดิบการนำพืชอาหารมาผลิตเป็นพลังงาน ซึ่งในอนาคตได้มีการแก้ไขไปสู่การพัฒนาพลังงานในยุค 2nd Generation Biofuels เพื่อผลิตจากพืชพลังงานโดยตรงไม่พึ่งพาการใช้พืชอาหาร
.
เช่น การผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่าย การผลิตเอทานอลจากเศษไม้และฟางข้าว เป็นต้น นอกจากนี้ การหารือที่สำคัญ คือ เรื่องราคาเอทานอลแลกเปลี่ยนแนวคิดในการกำหนดราคาในแต่ละประเทศ ซึ่งมีการสะท้อนตามต้นทุนที่แท้จริง เพื่อให้ราคาเอทานอลสามารถแข่งขันได้กับราคาน้ำมันโดยไม่มีกลไกการให้เงินช่วยเหลือ ซึ่งประเทศบราซิลประสบความสำเร็จมาแล้ว
.
นายแพทย์วรรณรัตน์ กล่าวว่า ในอนาคตกลุ่มประเทศอาเซียนมีศักยภาพเพียงพอในการเป็นศูนย์กลางผู้ผลิตและผู้ส่งออกพลังงานชีวภาพในระดับโลก หรืออีกนัยหนึ่งเป็น "OPEC แห่งเชื้อเพลิงชีวภาพ" เนื่องจากพบว่าแต่ละประเทศมีศักยภาพที่เข้มแข็ง ตัวอย่างเช่น ประทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย เป็น ผู้ส่งออกปาล์มอันดับ 1 และอันดับ 2 ของโลก ส่วนประเทศไทยนั้น มีศักยภาพความเหมาะสมด้านภูมิศาสตร์การเป็นศูนย์กลาง (Hub) ด้านการพัฒนา/ผลิตวัตถุดิบและเชื้อเพลิงชีวภาพสำเร็จรูป เช่น แก๊สโซฮอล์ รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงได้หลากหลาย (Flexible Fuel Vehicle) และไบโอดีเซล
.
สำหรับในระดับภูมิภาคสำนักเลขาธิการอาเซียน และศูนย์พลังงานอาเซียน ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพและเน้นให้เกิดความร่วมมือในกลุ่มประเทศสมาชิกซึ่งรวมถึงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology) ด้านการกำกับดูแล กฎหมาย และกฎระเบียบ (Regulatory Framework) ด้านเศรษฐศาสตร์ การค้า และการลงทุน (Economic Trade and Investment) และด้านการเงิน (Financing) โดยมีเป้าหมายในปี 2015 ที่จะถึงนี้ในการเป็น 1 เดียว (ASEAN Community 2015) ในรูปแบบเดียวกับ EU
.
"การจัดงานประชุมครั้งนี้จึงเป็นการสะท้อนทิศทางการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างจริงจังในภูมิภาคอาเซียน เพื่อทดแทนการนำเข้าพลังงานหรือลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งประเทศไทยนับว่าเป็นผู้นำทางด้านพลังงานชีวภาพ เพราะเรามีแหล่งผลิตวัตถุดิบ และเป็นประเทศต้นแบบที่มีการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี โดยส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอย่างหลากหลาย ซึ่งในสถานีบริการน้ำมัน
.
ผู้ใช้น้ำมันเบนซินสามารถเลือกเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ซึ่งมีส่วนผสมเอทานอลได้ตั้งแต่สัดส่วน 10% - 20% และปัจจุบันมีสัดส่วน เอทานอลสูงสุดถึง 85% หรือ E85 ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับอนาคต นอกจากนี้ในน้ำมันดีเซลก็ให้มีการผสมไบโอดีเซลอย่างน้อย 2% และสามารถเลือกเติมไบโอดีเซล B5 ที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซล 5% ได้" นายแพทย์วรรณรัตน์ กล่าว
. (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)