โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 กันยายน 2552 16:31 น.
2 เต่าดงยะไข่วัยเยาว์ เมื่อโตเต็มที่ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่ไปกว่า 1 ฟุต หรือ 1 ไม้บรรทัด (Photo: Steven Platt)
"เต่าเหลือง" อีกสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่แถวชายแดนไทย-พม่า และเป็นที่นิยมของนักล่า ก็กำลังจะสูญพันธุ์
พบ "เต่าดงยะไข่" ในป่าไผ่อันหนาแน่นของพม่า ซึ่งนักอนุรักษ์ปักใจไปแล้วว่าน่าจะสูญพันธุ์ มีเพียงแค่ตัวอย่างที่แสดงในพิพิธภัณฑ์ หรือตามสวนสัตว์ให้ดูต่างหน้า อีกทั้งยังพบเต่าเหลือง-เต่าใบไม้ ที่แม้จะใกล้สูญพันธุ์ก็ยังเป็นเหยื่อของนักล่า ชี้เหตุวัฒนธรรมบริโภคเต่าของชาวเอเชียทำเต่าสิ้นโลก
สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า หรือ ดับเบิลยูซีเอส (Wildlife Conservation Society : WCS) เปิดเผยถึงอีกหนึ่งการค้นพบที่น่าภาคภูมิใจ กับ "เต่าป่าอาระกัน" หรือ "เต่าดงยะไข่" (Arakan forest turtle, Heosemys depressa) ที่ใครๆ ต่างเชื่อว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว นับเป็นหนึ่งในพันธุ์เต่าที่หายากที่สุดในโลกขณะนี้
ทีมงานของ WCS นำโดย ดร.สตีฟ แพลต (Dr. Steven Platt) จากซัลรอส สเตทยูนิเวอร์ซิตี ในเท็กซัส สหรัฐอเมริกา (Sul Ross State University, Alpine, Texas) และ ขิ่น เมียว เมียว (Khin Myo Myo) สมาชิก WSC ได้ร่วมกันสำรวจป่าบริเวณรัฐยะไข่ ของสหภาพพม่า จนพบเต่าดงยะไข่จำนวน 5 ตัว ในเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่า เดิมทีเขตสัตว์สงวนแห่งนี้ตั้งขึ้นเพื่อปกป้องช้าง และป่าไผ่ที่เต็มไปด้วยต้นไผ่อันหนาแน่น
เต่าดงยะไข่ที่เป็นหนึ่งใน 25 สายพันธุ์เต่าที่หายากที่สุดในโลกและถูกคุกคาม ที่ทั้ง 2 ค้นพบนั้นมีทั้งตัวโตเต็มวัยและวัยรุ่น โดยเต่าดงยะไข่วัยผู้ใหญ่วัดขนาดแล้วตัวเล็กกว่า 1 ฟุต ลักษณะกระดองเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีลายดำๆ แซมอยู่บ้าง
ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่า เต่าสายพันธุ์นี้สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งการพบเห็นอย่างเป็นทางการครั้งล่าสุดคือในปี พ.ศ. 2451 เจ้าหน้าที่ทหารแห่งสหราชอาณาจักรมีครอบครองไว้ 1 ตัว
ทว่าในปี พ.ศ.2537 ก็มีนักอนุรักษ์ได้เห็นเต่าชนิดนี้ หลงเหลือเป็นวัตถุดิบในตลาดอาหารที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเหล่านักอนุรักษ์ก็กล่าวหาว่า วัฒนธรรมการบริโภคเต่าของชาวเอเชีย ส่งผลให้สัตว์ชนิดนี้เหลือน้อยเต็มทีในธรรมชาติ
อย่างไรก็ดี ที่บริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าที่เดียวกันนี้ ทีมสำรวจของ WCS ก็ยังพบเต่าเหลือง (yellow tortoise, Indotestudo elongate) และเต่าใบไม้ (Asian leaf turtle, Cyclemys dentate) อีกหลายตัว ซึ่งทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ ก็ได้รับความนิยมซื้อขายอย่างผิดกฎหมายกันอยู่ แม้ว่าจะเป็นสายพันธุ์ที่ขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ที่ถูกคุกคามแล้วก็ตาม
"ทั่วเอเชีย เต่ากลายเป็นสัตว์ที่กำลังจะสูญหาย เพราะมีผู้ลุกล้ำเขตที่พวกมันอาศัยอยู่ เพื่อนำไปขายอย่างผิดกฎหมาย" คอลิน โพล (Colin Poole) ผู้อำนวยการ WCS ในภูมิภาคเอเชีย โดยเขากล่าวอีกว่า การค้นพบครั้งนี้ช่างน่าพิศวง และฉายแสงให้เกิดการรณรงค์ดูแลสัตว์สายพันธุ์ที่กำลังหายากยิ่งนี้ในพม่า โดยต้องทำในขณะที่ยังมีประชากรเต่าพอหลงเหลือ ก่อนที่จะหมดไปมากกว่านี้
นอกจากนี้ ในรายงานการค้นพบก็ยังมีข้อแนะนำ เพื่อสร้างความมั่นใจว่า เต่าที่หายากเหล่านี้จะได้รับการปกป้องเป็นอย่างดีในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พร้อมทั้งข้อเสนอให้ฝึกฝนเจ้าหน้าท้องถิ่นได้รู้จักปกป้องดูแลพื้นที่ พร้อมทั้งเชิญชวนกลุ่มอนุรักษ์นักศึกษาได้เข้ามาเก็บข้อมูลของสายพันธุ์ต่างๆ และก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์เพื่อปกป้องเต่าเหล่านี้จากผู้ล่า อย่างถาวรต่อไป
สำหรับเต่าดงยะไข่นั้น มีชื่อท้องถิ่นภาษาพม่าว่า Pyant Cheezar ซึ่งแปลว่า เต่ากินมูลแรด เพราะบริเวณเดียวกันนี้เคยมีแรดสุมาตราอาศัยอยู่ และสูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อประมาณ 55 ปีก่อน นอกจากนี้เต่าดงยะไข่ยังเป็นเต่าที่สืบพันธุ์ยากเมื่ออยู่ในกรงเลี้ยง แต่ที่สวนสัตว์แอตแลนตา สหรัฐฯ ก็ทำได้สำเร็จในปี 2548 ที่ผ่านมา.
2 เต่าดงยะไข่วัยเยาว์ เมื่อโตเต็มที่ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่ไปกว่า 1 ฟุต หรือ 1 ไม้บรรทัด (Photo: Steven Platt)
"เต่าเหลือง" อีกสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่แถวชายแดนไทย-พม่า และเป็นที่นิยมของนักล่า ก็กำลังจะสูญพันธุ์
พบ "เต่าดงยะไข่" ในป่าไผ่อันหนาแน่นของพม่า ซึ่งนักอนุรักษ์ปักใจไปแล้วว่าน่าจะสูญพันธุ์ มีเพียงแค่ตัวอย่างที่แสดงในพิพิธภัณฑ์ หรือตามสวนสัตว์ให้ดูต่างหน้า อีกทั้งยังพบเต่าเหลือง-เต่าใบไม้ ที่แม้จะใกล้สูญพันธุ์ก็ยังเป็นเหยื่อของนักล่า ชี้เหตุวัฒนธรรมบริโภคเต่าของชาวเอเชียทำเต่าสิ้นโลก
สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า หรือ ดับเบิลยูซีเอส (Wildlife Conservation Society : WCS) เปิดเผยถึงอีกหนึ่งการค้นพบที่น่าภาคภูมิใจ กับ "เต่าป่าอาระกัน" หรือ "เต่าดงยะไข่" (Arakan forest turtle, Heosemys depressa) ที่ใครๆ ต่างเชื่อว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว นับเป็นหนึ่งในพันธุ์เต่าที่หายากที่สุดในโลกขณะนี้
ทีมงานของ WCS นำโดย ดร.สตีฟ แพลต (Dr. Steven Platt) จากซัลรอส สเตทยูนิเวอร์ซิตี ในเท็กซัส สหรัฐอเมริกา (Sul Ross State University, Alpine, Texas) และ ขิ่น เมียว เมียว (Khin Myo Myo) สมาชิก WSC ได้ร่วมกันสำรวจป่าบริเวณรัฐยะไข่ ของสหภาพพม่า จนพบเต่าดงยะไข่จำนวน 5 ตัว ในเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่า เดิมทีเขตสัตว์สงวนแห่งนี้ตั้งขึ้นเพื่อปกป้องช้าง และป่าไผ่ที่เต็มไปด้วยต้นไผ่อันหนาแน่น
เต่าดงยะไข่ที่เป็นหนึ่งใน 25 สายพันธุ์เต่าที่หายากที่สุดในโลกและถูกคุกคาม ที่ทั้ง 2 ค้นพบนั้นมีทั้งตัวโตเต็มวัยและวัยรุ่น โดยเต่าดงยะไข่วัยผู้ใหญ่วัดขนาดแล้วตัวเล็กกว่า 1 ฟุต ลักษณะกระดองเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีลายดำๆ แซมอยู่บ้าง
ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่า เต่าสายพันธุ์นี้สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งการพบเห็นอย่างเป็นทางการครั้งล่าสุดคือในปี พ.ศ. 2451 เจ้าหน้าที่ทหารแห่งสหราชอาณาจักรมีครอบครองไว้ 1 ตัว
ทว่าในปี พ.ศ.2537 ก็มีนักอนุรักษ์ได้เห็นเต่าชนิดนี้ หลงเหลือเป็นวัตถุดิบในตลาดอาหารที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเหล่านักอนุรักษ์ก็กล่าวหาว่า วัฒนธรรมการบริโภคเต่าของชาวเอเชีย ส่งผลให้สัตว์ชนิดนี้เหลือน้อยเต็มทีในธรรมชาติ
อย่างไรก็ดี ที่บริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าที่เดียวกันนี้ ทีมสำรวจของ WCS ก็ยังพบเต่าเหลือง (yellow tortoise, Indotestudo elongate) และเต่าใบไม้ (Asian leaf turtle, Cyclemys dentate) อีกหลายตัว ซึ่งทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ ก็ได้รับความนิยมซื้อขายอย่างผิดกฎหมายกันอยู่ แม้ว่าจะเป็นสายพันธุ์ที่ขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ที่ถูกคุกคามแล้วก็ตาม
"ทั่วเอเชีย เต่ากลายเป็นสัตว์ที่กำลังจะสูญหาย เพราะมีผู้ลุกล้ำเขตที่พวกมันอาศัยอยู่ เพื่อนำไปขายอย่างผิดกฎหมาย" คอลิน โพล (Colin Poole) ผู้อำนวยการ WCS ในภูมิภาคเอเชีย โดยเขากล่าวอีกว่า การค้นพบครั้งนี้ช่างน่าพิศวง และฉายแสงให้เกิดการรณรงค์ดูแลสัตว์สายพันธุ์ที่กำลังหายากยิ่งนี้ในพม่า โดยต้องทำในขณะที่ยังมีประชากรเต่าพอหลงเหลือ ก่อนที่จะหมดไปมากกว่านี้
นอกจากนี้ ในรายงานการค้นพบก็ยังมีข้อแนะนำ เพื่อสร้างความมั่นใจว่า เต่าที่หายากเหล่านี้จะได้รับการปกป้องเป็นอย่างดีในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พร้อมทั้งข้อเสนอให้ฝึกฝนเจ้าหน้าท้องถิ่นได้รู้จักปกป้องดูแลพื้นที่ พร้อมทั้งเชิญชวนกลุ่มอนุรักษ์นักศึกษาได้เข้ามาเก็บข้อมูลของสายพันธุ์ต่างๆ และก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์เพื่อปกป้องเต่าเหล่านี้จากผู้ล่า อย่างถาวรต่อไป
สำหรับเต่าดงยะไข่นั้น มีชื่อท้องถิ่นภาษาพม่าว่า Pyant Cheezar ซึ่งแปลว่า เต่ากินมูลแรด เพราะบริเวณเดียวกันนี้เคยมีแรดสุมาตราอาศัยอยู่ และสูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อประมาณ 55 ปีก่อน นอกจากนี้เต่าดงยะไข่ยังเป็นเต่าที่สืบพันธุ์ยากเมื่ออยู่ในกรงเลี้ยง แต่ที่สวนสัตว์แอตแลนตา สหรัฐฯ ก็ทำได้สำเร็จในปี 2548 ที่ผ่านมา.