โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 กันยายน 2552 00:14 น.
ลิงน้อยนามว่า Spindler เกิดเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 52 เป็น 1 ใน 4 ลูกลิงที่เกิดขึ้นจากการทดลองเปลี่ยนดีเอ็นเอในเซลล์ไข่แม่ลิง (เอเอฟพี)
ลูกลิงน่ารักน่าชัง 4 ตัว เกิดในแล็บสหรัฐฯ จากเทคนิคเปลี่ยนถ่ายดีเอ็นเอในไข่ ก่อนนำไปปฏิสนธิ นักวิจัยมั่นใจในความปลอดภัย หวังพัฒนาไปใช้กับคน เพื่อเป็นหนทางรักษาโรคทางพันธุกรรมจากความผิดปกติของยีนในไมโตรคอนเดรียที่ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกโดยตรง
ทีมนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และสุขภาพโอเรกอน (Oregon Health And Science University) สหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จจากการทดลองให้กำเนิดลูกลิงจำนวน 4 ตัว ที่เกิดจากเซลล์ไข่ที่มีการเปลี่ยนถ่ายดีเอ็นเอ พร้อมกับตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารเนเจอร์ (Nature) ฉบับเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งนักวิจัยหวังจะนำวิธีการเดียวกันนี้มาใช้เพื่อการรักษาในมนุษย์กรณีที่บุตรอาจเป็นโรคทางพันธุกรรมเพราะได้รับถ่ายทอดดีเอ็นเอที่ผิดปกติจากมารดา
"เราคิดว่าเทคนิคนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว และมันก็จะเป็นผลดีด้วย ซึ่งหลายวิธีที่เรานำมาใช้ในการพัฒนาเทคนิคนี้ เป็นวิธีที่ยังใช้กันอยู่ในห้องแล็บเพื่อการทำปฏิสนธิในหลอดทดลองสำหรับผู้มีบุตรยาก" โชอุคฮรัท มีตาลีปอฟ (Shoukhrat Mitalipov) นักวิจัยของศูนย์วิจัยไพรเมตแห่งชาติสหรัฐฯ ในโอเรกอน (Oregon National Primate Research Center) หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวในเอเอฟพี
นักวิจัยใช้ลิงวอก (rhesus macaque) เป็นต้นแบบในการทดลอง โดยนำนิวเคลียสจากเซลล์ไข่ของแม่ลิงที่มีความผิดปกติของดีเอ็นเอในไมโตรคอนเดรีย (mitrochondrial DNA: mtDNA) ไปใส่ในเซลล์ไข่ที่ได้จากแม่ลิงอีกตัวหนึ่งที่มีความสมบูรณ์ดีทุกประการ และได้นำนิวเคลียสเดิมออกไปแล้ว
จากนั้นนำเซลล์ไข่ที่ผ่านกระบวนการย้ายนิวเคลียสดังกล่าวไปผสมกับสเปิร์ม แล้วนำไปฝังไว้ในมดลูกของแม่ลิงให้ตั้งท้อง จนกระทั่งออกลูกเมื่อช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งได้ลูกลิงที่มีสุขภาพแข็งแรงจำนวน 4 ตัว ได้แก่ ไมโต (Mito), แทรคเกอร์ (Tracker), สปินเลอร์ (Spindler) และ สปินดี (Spindy)
ผลสำเร็จในครั้งนี้สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากวิธีการนี้สามารถพัฒนาและนำไปสู่การรักษาโรคหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการป้องกันโรคร้ายแรงในมนุษย์ที่อาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติของพันธุกรรมในไมโตรคอนเดรียที่ได้รับถ่ายทอดมาจากมารดา
ทั้งนี้ ไมโตรคอนเดรีย (mitrochondria) เป็นออร์แกเนลชนิดหนึ่งที่อยู่ในเซลล์ หน้าที่หลักคือสร้างพลังงานให้กับเซลล์ และมีดีเอ็นเอเป็นของตัวเอง ซึ่งพบในเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงด้วย แต่ไม่พบในเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชาย ดังนั้น ไมโตรคอนเดรียและดีเอ็นเอในไมโตรคอนเดรียจึงสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้โดยตรง
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าดีเอ็นเอในไมโตรคอนเดรียเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของมนุษย์มากกว่า 150อาการ ซึ่งคนที่มี mtDNA ผิดปกติหรือผ่าเหล่า อาจจะหรือจะป่วยเป็นโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคเอ็มอีอาร์อาร์เอฟ (Myoclonic epilepsy with ragged red fibers: MERRF) ที่มีอาการลมชัก กล้ามเนื้อไร้เรี่ยวแรง หูหนวก และจิตเสื่อม หรือโรคแอลเอชโอเอ็น (Leber hereditary optic neuropathy: LHON) โดยผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หูหนวก ตาบอด จิตเสื่อม มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ กล้ามเนื้อ ไต และอาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งพบราว 1 ใน 4,000-5,000 คน ตามที่เอพีระบุไว้
นอกจากนั้นความผิดปกติของ mtDNA ยังเกี่ยวข้องกับโรคอื่นๆ ด้วย เช่น มะเร็ง เบาหวาน รวมทั้งโรคที่มีความผิดปกติของระบบประสาทอย่างพากินสันส์ (Parkinson's)อัลไซเมอร์ส (Alzheimer's) และฮันติงตันส์ (Huntington's)
อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จครั้งนี้แม้จะนำไปสู่การรักษาทางการแพทย์ได้ แต่ต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรกหากนำมาใช้กับคน เพราะเป็นวิธีการรักษาด้วยยีน (Gene therapy) และการทดลองในมนุษย์ขณะนี้ก็ยังไม่สามารถทำได้เนื่องจากปัญหาทางด้านกฏหมาย เงินทุนวิจัย และจริยธรรม อีกทั้งในหลายประเทศรวมทั้งสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรก็ยังห้ามใช้วิธีการรักษาด้วยยีน เนื่องจากกังวลเรื่องความปลอดภัยและปัญหาด้านจริยธรรม
ทว่าทีมวิจัยมั่นใจว่าเทคนิคที่พวกเขาพัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยอย่างแน่นอน และเชื่อว่าข้อมูลที่มีอยู่ตอนนี้เพียงพอสำหรับการขอการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (US Food and Drug Administration) และขณะนี้ทีมวิจัยก็กำลังมองหาทุนวิจัยจากภาคเอกชนเพื่อศึกษาวิจัยขั้นต่อไป
ลิงน้อยนามว่า Spindler เกิดเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 52 เป็น 1 ใน 4 ลูกลิงที่เกิดขึ้นจากการทดลองเปลี่ยนดีเอ็นเอในเซลล์ไข่แม่ลิง (เอเอฟพี)
ลูกลิงน่ารักน่าชัง 4 ตัว เกิดในแล็บสหรัฐฯ จากเทคนิคเปลี่ยนถ่ายดีเอ็นเอในไข่ ก่อนนำไปปฏิสนธิ นักวิจัยมั่นใจในความปลอดภัย หวังพัฒนาไปใช้กับคน เพื่อเป็นหนทางรักษาโรคทางพันธุกรรมจากความผิดปกติของยีนในไมโตรคอนเดรียที่ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกโดยตรง
ทีมนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และสุขภาพโอเรกอน (Oregon Health And Science University) สหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จจากการทดลองให้กำเนิดลูกลิงจำนวน 4 ตัว ที่เกิดจากเซลล์ไข่ที่มีการเปลี่ยนถ่ายดีเอ็นเอ พร้อมกับตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารเนเจอร์ (Nature) ฉบับเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งนักวิจัยหวังจะนำวิธีการเดียวกันนี้มาใช้เพื่อการรักษาในมนุษย์กรณีที่บุตรอาจเป็นโรคทางพันธุกรรมเพราะได้รับถ่ายทอดดีเอ็นเอที่ผิดปกติจากมารดา
"เราคิดว่าเทคนิคนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว และมันก็จะเป็นผลดีด้วย ซึ่งหลายวิธีที่เรานำมาใช้ในการพัฒนาเทคนิคนี้ เป็นวิธีที่ยังใช้กันอยู่ในห้องแล็บเพื่อการทำปฏิสนธิในหลอดทดลองสำหรับผู้มีบุตรยาก" โชอุคฮรัท มีตาลีปอฟ (Shoukhrat Mitalipov) นักวิจัยของศูนย์วิจัยไพรเมตแห่งชาติสหรัฐฯ ในโอเรกอน (Oregon National Primate Research Center) หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวในเอเอฟพี
นักวิจัยใช้ลิงวอก (rhesus macaque) เป็นต้นแบบในการทดลอง โดยนำนิวเคลียสจากเซลล์ไข่ของแม่ลิงที่มีความผิดปกติของดีเอ็นเอในไมโตรคอนเดรีย (mitrochondrial DNA: mtDNA) ไปใส่ในเซลล์ไข่ที่ได้จากแม่ลิงอีกตัวหนึ่งที่มีความสมบูรณ์ดีทุกประการ และได้นำนิวเคลียสเดิมออกไปแล้ว
จากนั้นนำเซลล์ไข่ที่ผ่านกระบวนการย้ายนิวเคลียสดังกล่าวไปผสมกับสเปิร์ม แล้วนำไปฝังไว้ในมดลูกของแม่ลิงให้ตั้งท้อง จนกระทั่งออกลูกเมื่อช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งได้ลูกลิงที่มีสุขภาพแข็งแรงจำนวน 4 ตัว ได้แก่ ไมโต (Mito), แทรคเกอร์ (Tracker), สปินเลอร์ (Spindler) และ สปินดี (Spindy)
ผลสำเร็จในครั้งนี้สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากวิธีการนี้สามารถพัฒนาและนำไปสู่การรักษาโรคหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการป้องกันโรคร้ายแรงในมนุษย์ที่อาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติของพันธุกรรมในไมโตรคอนเดรียที่ได้รับถ่ายทอดมาจากมารดา
ทั้งนี้ ไมโตรคอนเดรีย (mitrochondria) เป็นออร์แกเนลชนิดหนึ่งที่อยู่ในเซลล์ หน้าที่หลักคือสร้างพลังงานให้กับเซลล์ และมีดีเอ็นเอเป็นของตัวเอง ซึ่งพบในเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงด้วย แต่ไม่พบในเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชาย ดังนั้น ไมโตรคอนเดรียและดีเอ็นเอในไมโตรคอนเดรียจึงสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้โดยตรง
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าดีเอ็นเอในไมโตรคอนเดรียเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของมนุษย์มากกว่า 150อาการ ซึ่งคนที่มี mtDNA ผิดปกติหรือผ่าเหล่า อาจจะหรือจะป่วยเป็นโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคเอ็มอีอาร์อาร์เอฟ (Myoclonic epilepsy with ragged red fibers: MERRF) ที่มีอาการลมชัก กล้ามเนื้อไร้เรี่ยวแรง หูหนวก และจิตเสื่อม หรือโรคแอลเอชโอเอ็น (Leber hereditary optic neuropathy: LHON) โดยผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หูหนวก ตาบอด จิตเสื่อม มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ กล้ามเนื้อ ไต และอาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งพบราว 1 ใน 4,000-5,000 คน ตามที่เอพีระบุไว้
นอกจากนั้นความผิดปกติของ mtDNA ยังเกี่ยวข้องกับโรคอื่นๆ ด้วย เช่น มะเร็ง เบาหวาน รวมทั้งโรคที่มีความผิดปกติของระบบประสาทอย่างพากินสันส์ (Parkinson's)อัลไซเมอร์ส (Alzheimer's) และฮันติงตันส์ (Huntington's)
อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จครั้งนี้แม้จะนำไปสู่การรักษาทางการแพทย์ได้ แต่ต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรกหากนำมาใช้กับคน เพราะเป็นวิธีการรักษาด้วยยีน (Gene therapy) และการทดลองในมนุษย์ขณะนี้ก็ยังไม่สามารถทำได้เนื่องจากปัญหาทางด้านกฏหมาย เงินทุนวิจัย และจริยธรรม อีกทั้งในหลายประเทศรวมทั้งสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรก็ยังห้ามใช้วิธีการรักษาด้วยยีน เนื่องจากกังวลเรื่องความปลอดภัยและปัญหาด้านจริยธรรม
ทว่าทีมวิจัยมั่นใจว่าเทคนิคที่พวกเขาพัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยอย่างแน่นอน และเชื่อว่าข้อมูลที่มีอยู่ตอนนี้เพียงพอสำหรับการขอการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (US Food and Drug Administration) และขณะนี้ทีมวิจัยก็กำลังมองหาทุนวิจัยจากภาคเอกชนเพื่อศึกษาวิจัยขั้นต่อไป