จับชีพจร 3 รถหรูเยอรมันซุ่มทัพรถใหม่รุกตลาดเฉพาะกลุ่ม - ข่าวอุตสาหกรรม [Industrial News], Car

Tuesday, March 3, 2009 at 3:41 AM

ในปี 2551 ตลาดรถยนต์หรู หรือ premium car มียอดขายประมาณ 7,000 คัน นำตลาดโดยเมอร์เซเดส-เบนซ์ 56% ตามห่างบีเอ็มดับเบิลยู 25% และวอลโว่ 13% ตลาด พรีเมียม คาร์ เคยมียุครุ่งเรืองในไทยด้วยตัวเลข 1.4 หมื่นคัน แต่หลังจากประสบวิกฤติเศรษฐกิจรอบที่แล้ว ตลาดก็หดตัวลง และจากนั้นก็ไม่เคยปรับตัวขึ้นถึงระดับ 1 หมื่นคัน อย่างไรก็ตาม นับว่ามันเป็นการคัดเลือกตลาดให้เหลือแต่ผู้ที่เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลัง ซื้ออย่างแท้จริงส่วนสถานการณ์ในปีนี้...
Credit: Bangkokbiznews.com
(http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/auto-mobile/auto-mobile/20090302/20773/จับชีพจร-3-รถหรูเยอรมันซุ่มทัพรถใหม่รุกตลาดเฉพาะกลุ่ม.html)
จับชีพจร 3 รถหรูเยอรมันซุ่มทัพรถใหม่รุกตลาดเฉพาะกลุ่ม - ข่าวอุตสาหกรรม [Industrial News], รถยนต์ [Car]
Credit: Bangkokbiznews.com
(http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/auto-mobile/auto-mobile/20090302/20773/จับชีพจร-3-รถหรูเยอรมันซุ่มทัพรถใหม่รุกตลาดเฉพาะกลุ่ม.html)
วันที่ 2 มีนาคม 2552 07:52
โดย : สินธุ์ชัย ภมรพล

ในปี 2551 ตลาดรถยนต์หรู หรือ premium car มียอดขายประมาณ 7,000 คัน นำตลาดโดยเมอร์เซเดส-เบนซ์ 56% ตามห่างบีเอ็มดับเบิลยู 25% และวอลโว่ 13%

ตลาด พรีเมียม คาร์ เคยมียุครุ่งเรืองในไทยด้วยตัวเลข 1.4 หมื่นคัน แต่หลังจากประสบวิกฤติเศรษฐกิจรอบที่แล้ว ตลาดก็หดตัวลง และจากนั้นก็ไม่เคยปรับตัวขึ้นถึงระดับ 1 หมื่นคัน อย่างไรก็ตาม นับว่ามันเป็นการคัดเลือกตลาดให้เหลือแต่ผู้ที่เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลัง ซื้ออย่างแท้จริง

ส่วนสถานการณ์ในปีนี้ คาร์ล รูดิเกอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย มั่นใจว่าตลาดอาจจะไม่ถดถอยจากปีที่ผ่านมา แต่ถ้าหากว่าจะลดลงจริงๆ ก็จะลดลงในอัตราส่วนที่ไม่มากนัก แน่นอนว่าน้อยกว่าการหดตัวของตลาดรวม เหตุผลก็คือ จากข้อมูลของคนไทย พบว่ามีผู้ที่จัดอยู่ในระดับเศรษฐีอยู่จำนวนมาก ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจมากนัก

นอกจากนี้ก็ ยังเชื่อมั่นว่าพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยปีนี้ยังมีแง่มุมบวกอยู่ บ้าง นั่นคือ สถาบันการเงินไทยมีความแข็งแกร่ง ต่างจากวิกฤติปี 2539-2540 และที่สำคัญก็คือ กลุ่มลูกค้ารถพรีเมียมในยุคนั้นก็ได้รับผลกระทบไม่น้อย โดยเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่เปลี่ยนแปลงชั่วข้ามคืน การล้ม หรือ อ่อนแรงของสถาบันการเงินจำนวนมาก

รูดิเกอร์ กล่าวว่า การที่ตลาดชะลอตัวลง ในช่วงเดือนม.ค. ที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ไม่ได้เป็นเพราะฐานลูกค้าลดลง เพราะจากการติดตามดูพบว่าจำนวนผู้สนใจรถไม่ได้น้อยลง แต่ปัญหาหลักมาจากปัจจัยที่หลายๆ คน คิดเหมือนกันมาระยะหนึ่งแล้ว นั่นคือ ความมั่นใจในการใช้เงิน หรือการรีรอตัดสินใจที่จะใช้จ่ายเงิน

ดัง นั้นทางออกของผู้ประกอบการก็คือ จะต้องคิดหาวิธีการที่จะเร่งการใช้จ่ายเงินอย่างไรให้เป็นผลสำเร็จ ผ่านกิจกรรมส่งเสริมการขายรูปแบบต่างๆ ซึ่งในส่วนของบีเอ็มดับเบิลยูจะใช้วิธีเจาะตรงถึงตัว

บีเอ็มดับเบิลยูลุยรถใหม่
ดูเหมือนว่าบีเอ็มดับเบิลยูจะ มั่นใจว่าตลาดยังมีช่องว่างอยู่จริง เพราะยังคงเดินหน้าเปิดตัวรถใหม่อย่างต่อเนื่อง เริ่มจาก 120d คูเป้ จากนั้นจะตามมาด้วยรหัสที่หรูที่สุด คือ ซีรีส์ 7 ใหม่ ทั้ง 750Li ตัวท็อปสุด และ 740Li ซึ่งขณะนี้เริ่มปูพรมการตลาด ด้วยการห่อตึกใบหยกด้วยข้อความ 7 Series 7 Heaven และอีกรุ่นหนึ่งที่ยืนยันแน่นอนแล้วตอนนี้ก็คือ โรดสเตอร์ แซด 4 รถที่กำลังได้รับความสนใจอย่างสูงในตลาดโลก แต่ยังไม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ และคาดกันว่า มันจะเป็นตัวประกบติด เอสแอลเค ของคู่แข่งสำคัญอย่างเมอร์เซเดส-เบนซ์

ความจริงแล้ว บีเอ็มดับเบิลยู ไม่ได้เริ่มสร้างสีสันการตลาดในปีนี้ แต่เริ่มมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ด้วยการนำเข้ารถรุ่นพิเศษต่างๆ ที่มียอดขายเฉพาะกลุ่มเล็กเข้ามาทำตลาด เช่น ตระกูลเอ็ม เปิดประทุน ซึ่งแผนการตลาดเชิงรุกก็ตอบแทนด้วยยอดขายที่เติบโตขึ้น 28% ในปีที่ผ่านมา

อีก หนึ่งความสำเร็จก็คือ การทำตลาดรถดีเซล ซึ่งจะเห็นว่า บีเอ็มดับเบิลยู แม้จะเริ่มต้นดีเซลทีหลังหลายๆ ค่าย แต่เมื่อเริ่มแล้ว กลับมีความหลากหลายที่มากกว่า ปัจจุบัน เครื่องยนต์ดีเซล ถูกวางใน ซีรีส์ 1,3,5, คูเป้ เอ็กซ์ 3 เอ็กซ์ 5 และหากมองให้ลึกไปกว่านั้นต้องยกความดีความชอบให้ทีมวิศวกรเครื่องยนต์ที่ สามารถทำให้เครื่องยนต์ตัวเดียวใส่ได้ในรถหลายๆ รุ่น นั่นก็คือ 2.0d ที่อยู่ในทั้ง ซีรีส์ 1,3,5 และเอ็กซ์ 3 เพราะนั่นทำให้บีเอ็มดับเบิลยูนำรถเข้ามาทำตลาดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากทีมเซอร์วิส รู้จักเครื่องยนต์แค่ตัวเดียว ก็ให้บริการได้ถึง 4 รุ่นด้วยกัน

เมอร์เซเดส-เบนซ์ ส่ง ซีแอลเค
เมอร์เซเดส-เบนซ์ ในช่วงครึ่งปีหลัง ดูจะค่อนข้างระมัดระวังการทำตลาดไม่น้อย มีเพียงการเปิดตัว ซีแอลซี เท่านั้น และก็ไม่ใช่ตลาดใหญ่นัก นอกจากนั้นก็มีเพียงการปรับโฉมเล็กๆน้อยๆ ให้กับ อี-คลาส และ บี-คลาส ในช่วงต้นปีนี้ แต่บรรยากาศโดยรวมก็ถือว่ายังค่อนข้างเงียบ

อย่างไรก็ตามปีนี้ เมอร์เซเดส-เบนซ์ จะมีรถใหม่เข้ามาสร้างสีสันให้กับตลาดอีก 1 รุ่น นั่นก็คือหน้าตาของ อี-คลาส ใหม่ ในรูปแบบ คูเป้ ที่เริ่มต้นเผยโฉมในตลาดโลกแล้ว แต่คาดกันว่า ชื่อการค้าของมันจะไม่ใช่ อี-คลาส คูเป้ แต่นี่คือโฉมใหม่ของ ซีแอลเค ใหม่ ที่ปรับเปลี่ยนตำแหน่งในตลาดไปพอสมควร ด้วยรูปลักษณ์ที่ใหญ่ขึ้น หรูหราขึ้น และสปอร์ตมากขึ้นเช่นกัน

เมอร์เซเดส-เบนซ์ ยังไม่ได้เปิดตัว อี-คลาส ใหม่ในไทย แต่อย่างใด แต่เลือกที่จะไปทุ่มตลาดรถเฉพาะกลุ่มก่อน แน่นอนส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับสต็อกรุ่นเดิม

ส่วนอี-คลาส ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของค่ายดาวสามแฉกที่สร้างยอดขายได้เป็นกอบเป็นกำ ต้องรอลุ้นกันต่อไปว่า จะพร้อมทำตลาดภายในปีนี้ ช่วงที่เศรษฐกิจยังหดตัวอย่างต่อเนื่องหรือไม่

ออดี้ ฟื้นแบรนด์บุกไทย
ค่ายรถหรูจากเยอรมนีอีกค่าย หนึ่งที่เงียบหายจากตลาดไทยไปนาน และยังเป็นค่ายเดียวที่ดำเนินธุรกิจโดยกลุ่มทุนไทย ซึ่งก็เป็นเหตุผลว่าทำไมการเคลื่อนไหวของรถชื่อดังระดับโลกจึงเชื่องช้าขนาด นี้

ปลายปีที่แล้ว ออดี้ เริ่มต้นกลับมาทำตลาดอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว เอ 4 ใหม่ ในระดับราคาที่น่าสนใจ เพราะถูกกว่ารุ่นเดิมถึง 4 แสนบาท เป็นการส่งสัญญาณว่าบริษัทแม่พร้อมให้การสนับสนุนการบุกตลาดอีกครั้ง

ปีนี้ ออดี้ ประกาศว่าจะทำตลาดรถครบไลน์ ทั้งรถยนต์นั่ง รถเอสยูวี รวมไปถึงรถซูเปอร์คาร์ ตัวเก่งอย่าง อาร์ 8 เครื่องยนต์ 420 แรงม้า

แน่ นอนว่าค่าตัวระดับที่คาดว่าจะไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท คงไม่สร้างยอดขายได้มากนัก แต่จะเป็นการยกระดับและกู้ชื่อกลับมาอีกครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับรถที่ต้องการฟื้นฟูตลาด

แต่ในช่วง ที่เศรษฐกิจไม่ดีหลายคนอาจมองว่า ออดี้อาจจะทบทวนแผนการสนับสนุนตลาดหรือไม่ แต่หากมองอีกแง่มุมหนึ่ง ช่วงที่ตลาดตกต่ำทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรปซึ่งเป็นตลาดสำคัญ การเร่งสร้างตลาดใหม่ๆ ที่ใช้ต้นทุนไม่สูงนักก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะปฏิเสธอะไร

(http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/auto-mobile/auto-mobile/20090302/20773/จับชีพจร-3-รถหรูเยอรมันซุ่มทัพรถใหม่รุกตลาดเฉพาะกลุ่ม.html)
Home | Site Map | RSS Subscribe | Go to top