วันที่ 3 พฤศจิกายน 2552
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
76 โครงการยอมทำเอชไอเอ เล็งฟื้นอนุญาโต
ผู้ประกอบการ 76 โครงการในมาบตาพุดยอมทำเอชไอเอ หวังสร้างความเชื่อมั่น ไม่หวั่นจะถูกฟ้องเพิ่มอีก 181 โครงการ เสนอ กรอ.ฟื้นอนุญาโตตุลาการ ระงับข้อพิพาท ทุนต่างชาติขู่ลงทุนที่อื่น...
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ประกอบด้วยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทยว่า ที่ประชุมได้หารือถึงปัญหา การลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ภาคเอกชนส่วนใหญ่ยินดีรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) เพิ่มเติมจากรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพียงแต่ต้องการให้มีกรอบชัดเจน โดยสิ่งที่ภาคเอกชนกังวลคือ ความเสี่ยงในเรื่องกฎระเบียบ เพราะที่ผ่านมาภาคเอกชนทุกคนทำตามกระบวนการที่มีแล้ว แต่ก็ยังมีปัญหา "แต่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนในพื้นที่นิคมฯมาบตาพุด เอกชนทั้ง 76 โครงการที่ลงทุนอยู่ในนิคมฯมาบตาพุดยินดีทำรายงานเอชไอเอเพิ่มเติม แม้จะเป็นโครงการที่ไม่จำเป็นต้องทำเอชไอเอก็ตาม"
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอให้ตั้งสถาบันพัฒนาระบบขนส่งทางราง และสถาบันที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า โดยพยายามพัฒนายุทธศาสตร์รถไฟฟ้าในการขนส่งสินค้าและคน เพราะไทยมีศักยภาพของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ หวังว่าในอนาคตไทยจะเป็นเอาท์ซอร์ซ ทั้งอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ และบุคลากร
ด้านนายดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนสนับสนุนการดูแลสภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมดูแลการปล่อยมลพิษตามระบบ 80 : 20 ที่จะต้องจัดการมลพิษให้เรียบร้อยก่อนปล่อยออกมาตามที่กำหนด และโครงการที่เกิดขึ้นในพื้นที่มาบตาพุด มีทั้งโครงการที่ทำถูก และผิด จึงอยากให้แยกแยะให้ชัดเจนไม่ใช่เป็นแบบเหมารวม ส่วนกรณีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ร่วมกับสภาทนายความจะทยอยยื่นฟ้องเพิ่มอีก 181 โครงการเป็นรายๆ ภายใน 1 ปีนั้น นายดุสิตกล่าวว่า ตราบใดที่บริสุทธิ์ใจในการทำธุรกิจ ทำให้ประชาชนและประเทศชาติอยู่ดี โดยการลดภาวะโลกร้อนก็ไม่หวั่น นอกจากเป็นพวกขี้โกง เล่ห์เหลี่ยมมากก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้น ต้องทำให้สังคมอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล และเชื่อว่าทั่วโลกก็มีแนวคิดเดียวกัน
ทั้งนี้ 181 โครงการดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นกิจการเหมืองแร่ และปิโตรเลียม เช่น โครงการเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง จ.สระบุรี ของบริษัท ไกรสิน จำกัด โครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม แปลงสัมปทานปิโตรเลียมอ่าวไทย ของบริษัท เชฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น
"หากจะฟ้องร้องเพิ่มเติมอีกก็คงห้ามไม่ได้ เพียงแต่เราจะต้องทำตัวเองให้ดีที่สุด และอนาคตการลงทุนในไทยต่อไปการแข่งขันจะยากขึ้น และหากยังยืดเยื้อจะกระทบการลงทุนแน่นอน ทางออกที่ดีคือ สร้างความเข้าใจร่วมกัน โดยการถอยคนละก้าวเพื่อให้จบเร็วที่สุด ยิ่งพูดปากต่อปากก็จะยิ่งสับสน ที่ผ่านมาถือว่าไม่มีความต่อเนื่องในนโยบาย เพราะเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย แต่โชคดีที่ภาคเอกชนยังเป็นกลุ่มเดิมที่ทำต่อเนื่อง"
นอกจากนี้ จะเสนอให้คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รื้อฟื้นจัดตั้งอนุญาโตตุลาการก่อนการทำสัญญาลงทุนโครงการขนาดใหญ่ หรือการรับสัมปทานของรัฐบาล ตามที่นักลงทุนต่างประเทศเสนอ เพื่อระงับข้อพิพาท หรือไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลัง เพราะกระบวนการฟ้องร้องคดีในชั้นศาลเสียเวลา และโอกาสการทำธุรกิจ หากไม่มีอนุญาโตตุลาการ อาจทำให้ต่างชาติยกเลิกการลงทุนในไทย
"ต่างชาติมองว่าไทยล้าหลังมากหลังจากที่ ครม.ยกเลิกให้หน่วยงานของรัฐตกลงใช้อนุญาโตตุลา การไกล่เกลี่ยปัญหา เพราะประเทศอื่นใช้วิธีนี้กันหมด ซึ่งโครงการขนาดใหญ่ที่ต่างชาติสนใจมาลงทุน และต้องการให้ใช้วิธีอนุญาโตตุลาการ เช่น ทำสัญญากับรัฐวิสาหกิจ อย่าง ปตท. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หรือโครงการรถไฟฟ้า"
ส่วนนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า สถาบันการเงินยังไม่มีมาตรการอะไร เพราะยังไม่มีภาคเอกชนรายใดจาก 76 โครงการมาขอยืดชำระดอกเบี้ยในช่วงที่ศาลปกครองสั่งให้ระงับการดำเนินการชั่วคราว
ขณะที่นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด กล่าวว่า ปตท.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปชี้แจงศาลปกครองสูงสุดเพิ่มเติม หลังยื่นคำคัดค้านการอุทธรณ์ ซึ่งเป็นการอธิบายสิ่งที่ภาคเอกชนได้ดำเนินการมา และขอความกรุณาให้ดำเนินโครงการต่างๆ ต่อไปให้แล้วเสร็จ เพราะมีหลายโครงการยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง หากดำเนินการได้เสร็จตามที่กำหนดไว้จะลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมมากกว่า ที่ผ่านมา ภาคเอกชนปฏิบัติตามเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมทุกขั้นตอน และขณะนี้ยังไม่มีคำพิพากษาของศาลออกมา จึงควรให้เดินหน้าโครงการต่อไป.
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
76 โครงการยอมทำเอชไอเอ เล็งฟื้นอนุญาโต
ผู้ประกอบการ 76 โครงการในมาบตาพุดยอมทำเอชไอเอ หวังสร้างความเชื่อมั่น ไม่หวั่นจะถูกฟ้องเพิ่มอีก 181 โครงการ เสนอ กรอ.ฟื้นอนุญาโตตุลาการ ระงับข้อพิพาท ทุนต่างชาติขู่ลงทุนที่อื่น...
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ประกอบด้วยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทยว่า ที่ประชุมได้หารือถึงปัญหา การลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ภาคเอกชนส่วนใหญ่ยินดีรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) เพิ่มเติมจากรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพียงแต่ต้องการให้มีกรอบชัดเจน โดยสิ่งที่ภาคเอกชนกังวลคือ ความเสี่ยงในเรื่องกฎระเบียบ เพราะที่ผ่านมาภาคเอกชนทุกคนทำตามกระบวนการที่มีแล้ว แต่ก็ยังมีปัญหา "แต่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนในพื้นที่นิคมฯมาบตาพุด เอกชนทั้ง 76 โครงการที่ลงทุนอยู่ในนิคมฯมาบตาพุดยินดีทำรายงานเอชไอเอเพิ่มเติม แม้จะเป็นโครงการที่ไม่จำเป็นต้องทำเอชไอเอก็ตาม"
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอให้ตั้งสถาบันพัฒนาระบบขนส่งทางราง และสถาบันที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า โดยพยายามพัฒนายุทธศาสตร์รถไฟฟ้าในการขนส่งสินค้าและคน เพราะไทยมีศักยภาพของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ หวังว่าในอนาคตไทยจะเป็นเอาท์ซอร์ซ ทั้งอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ และบุคลากร
ด้านนายดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนสนับสนุนการดูแลสภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมดูแลการปล่อยมลพิษตามระบบ 80 : 20 ที่จะต้องจัดการมลพิษให้เรียบร้อยก่อนปล่อยออกมาตามที่กำหนด และโครงการที่เกิดขึ้นในพื้นที่มาบตาพุด มีทั้งโครงการที่ทำถูก และผิด จึงอยากให้แยกแยะให้ชัดเจนไม่ใช่เป็นแบบเหมารวม ส่วนกรณีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ร่วมกับสภาทนายความจะทยอยยื่นฟ้องเพิ่มอีก 181 โครงการเป็นรายๆ ภายใน 1 ปีนั้น นายดุสิตกล่าวว่า ตราบใดที่บริสุทธิ์ใจในการทำธุรกิจ ทำให้ประชาชนและประเทศชาติอยู่ดี โดยการลดภาวะโลกร้อนก็ไม่หวั่น นอกจากเป็นพวกขี้โกง เล่ห์เหลี่ยมมากก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้น ต้องทำให้สังคมอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล และเชื่อว่าทั่วโลกก็มีแนวคิดเดียวกัน
ทั้งนี้ 181 โครงการดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นกิจการเหมืองแร่ และปิโตรเลียม เช่น โครงการเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง จ.สระบุรี ของบริษัท ไกรสิน จำกัด โครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม แปลงสัมปทานปิโตรเลียมอ่าวไทย ของบริษัท เชฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น
"หากจะฟ้องร้องเพิ่มเติมอีกก็คงห้ามไม่ได้ เพียงแต่เราจะต้องทำตัวเองให้ดีที่สุด และอนาคตการลงทุนในไทยต่อไปการแข่งขันจะยากขึ้น และหากยังยืดเยื้อจะกระทบการลงทุนแน่นอน ทางออกที่ดีคือ สร้างความเข้าใจร่วมกัน โดยการถอยคนละก้าวเพื่อให้จบเร็วที่สุด ยิ่งพูดปากต่อปากก็จะยิ่งสับสน ที่ผ่านมาถือว่าไม่มีความต่อเนื่องในนโยบาย เพราะเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย แต่โชคดีที่ภาคเอกชนยังเป็นกลุ่มเดิมที่ทำต่อเนื่อง"
นอกจากนี้ จะเสนอให้คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รื้อฟื้นจัดตั้งอนุญาโตตุลาการก่อนการทำสัญญาลงทุนโครงการขนาดใหญ่ หรือการรับสัมปทานของรัฐบาล ตามที่นักลงทุนต่างประเทศเสนอ เพื่อระงับข้อพิพาท หรือไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลัง เพราะกระบวนการฟ้องร้องคดีในชั้นศาลเสียเวลา และโอกาสการทำธุรกิจ หากไม่มีอนุญาโตตุลาการ อาจทำให้ต่างชาติยกเลิกการลงทุนในไทย
"ต่างชาติมองว่าไทยล้าหลังมากหลังจากที่ ครม.ยกเลิกให้หน่วยงานของรัฐตกลงใช้อนุญาโตตุลา การไกล่เกลี่ยปัญหา เพราะประเทศอื่นใช้วิธีนี้กันหมด ซึ่งโครงการขนาดใหญ่ที่ต่างชาติสนใจมาลงทุน และต้องการให้ใช้วิธีอนุญาโตตุลาการ เช่น ทำสัญญากับรัฐวิสาหกิจ อย่าง ปตท. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หรือโครงการรถไฟฟ้า"
ส่วนนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า สถาบันการเงินยังไม่มีมาตรการอะไร เพราะยังไม่มีภาคเอกชนรายใดจาก 76 โครงการมาขอยืดชำระดอกเบี้ยในช่วงที่ศาลปกครองสั่งให้ระงับการดำเนินการชั่วคราว
ขณะที่นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด กล่าวว่า ปตท.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปชี้แจงศาลปกครองสูงสุดเพิ่มเติม หลังยื่นคำคัดค้านการอุทธรณ์ ซึ่งเป็นการอธิบายสิ่งที่ภาคเอกชนได้ดำเนินการมา และขอความกรุณาให้ดำเนินโครงการต่างๆ ต่อไปให้แล้วเสร็จ เพราะมีหลายโครงการยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง หากดำเนินการได้เสร็จตามที่กำหนดไว้จะลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมมากกว่า ที่ผ่านมา ภาคเอกชนปฏิบัติตามเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมทุกขั้นตอน และขณะนี้ยังไม่มีคำพิพากษาของศาลออกมา จึงควรให้เดินหน้าโครงการต่อไป.
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)