วันที่ 2009-10-07 14:56:39
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
สำนักงานพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เผยประเทศอุตสาหกรรมเริ่มหันมาใช้พลังงานนิวเคลียร์อีกครั้ง เหตุวิกฤตราคาน้ำมันแพง และปัญหาโลกร้อน ชี้กำลังก่อสร้างอีก 53 แห่งทั่วโลก
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการส่วนสื่อสารและการยอมรับสาธารณะ สำนักงานพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ กระทรวงพลังงาน
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการส่วนสื่อสารและการยอมรับสาธารณะ สำนักงานพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากปัญหาราคาน้ำมันแพง และความพยายามในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนทำให้เริ่มมีการนำพลังงานนิวเคลียร์กลับมาใช้อีกครั้งในประเทศอุตสาหกรรม
เช่น ฟินแลนด์ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เป็นต้น ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่เพิ่มขึ้นโดยตลอด ได้แก่ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน เนื่องจากเรื่องของเทคโนโลยีได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความปลอดภัยสูงมาก และเมื่อดูภาพรวมทั้งโลกมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวน 53 แห่ง ใน 15 ประเทศ
ข้อมูลจากองค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ผลิตไฟฟ้าแล้วจำนวน 436 แห่ง ใน 31 ประเทศทั่วโลก และมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวน 53 แห่ง กำลังผลิตรวม 47,200 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย ประเทศจีน 16 แห่ง รัสเซีย 9 แห่ง อินเดีย 6 แห่ง เกาหลีใต้ 6 แห่ง และอื่น ๆ รวมอีก 16 แห่ง ได้แก่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ยูเครน อาร์เจนตินา ฝรั่งเศส บัลกาเลีย อิหร่าน ปากีสถาน สหรัฐอเมริกา และฟินแลนด์
ทั้งนี้ ในประเทศพัฒนาแล้ว สหรัฐอเมริกามีการออกกฎหมายให้การสนับสนุนการลงทุนในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รวมทั้งแก้ไขขั้นตอนการขออนุญาตเพื่อลดความเสี่ยงของผู้ลงทุน ประเทศอังกฤษมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายพลังงานและกลับมาสนับสนุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกครั้ง ขณะที่ในประเทศฟินแลนด์อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ เพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าภายในประเทศ
นอกจากนี้ ข้อมูลล่าสุดประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประเทศเวียดนาม ซึ่งมีการบรรจุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ในยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศ และกำหนดเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวน 2 แห่ง กำลังการผลิตรวมกัน 8,000 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2563-2567
ขณะนี้ได้มีการปรับแผนเพิ่มเติมเพื่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในช่วงปี พ.ศ. 2567-2573 เพิ่มขึ้นอีก 4 เครื่อง เครื่องละ 1,000 เมกะวัตต์ และหากเป็นไปตามแผนที่วางไว้เวียดนามจะเป็นประเทศที่สองในภูมิภาคอาเซียนต่อจากประเทศฟิลิปปินส์
ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงเพราะผลสำรวจประชาชนในเวียดนามถึง 90% ให้การสนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ชัดเจน และมีการเตรียมบุคคลากรชาวเวียดนามกว่า 300 คน ให้ได้รับทุนไปศึกษาต่อด้านพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น
นายทวารัฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2 แห่ง แห่งละ 1,000 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2563 และ 2564 ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการสร้างความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่ให้การสนับสนุนและการคัดค้าน
แต่เชื่อว่าท้ายที่สุดประชาชนจะได้รับข้อมูลเพียงพอประกอบการตัดสินใจได้ และคาดว่าทีมที่ปรึกษาที่ศึกษาเกี่ยวกับสถานที่ตั้งจะสามารถเสนอพื้นที่ที่มีศักยภาพจากจำนวน 16 แห่ง และคัดให้เหลือ 3-5 แห่ง ภายในเดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งทั้งหมดจะได้จัดทำเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของรัฐบาลในช่วงต้นปี 2554 ต่อไป
. (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
สำนักงานพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เผยประเทศอุตสาหกรรมเริ่มหันมาใช้พลังงานนิวเคลียร์อีกครั้ง เหตุวิกฤตราคาน้ำมันแพง และปัญหาโลกร้อน ชี้กำลังก่อสร้างอีก 53 แห่งทั่วโลก
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการส่วนสื่อสารและการยอมรับสาธารณะ สำนักงานพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ กระทรวงพลังงาน
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการส่วนสื่อสารและการยอมรับสาธารณะ สำนักงานพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากปัญหาราคาน้ำมันแพง และความพยายามในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนทำให้เริ่มมีการนำพลังงานนิวเคลียร์กลับมาใช้อีกครั้งในประเทศอุตสาหกรรม
เช่น ฟินแลนด์ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เป็นต้น ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่เพิ่มขึ้นโดยตลอด ได้แก่ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน เนื่องจากเรื่องของเทคโนโลยีได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความปลอดภัยสูงมาก และเมื่อดูภาพรวมทั้งโลกมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวน 53 แห่ง ใน 15 ประเทศ
ข้อมูลจากองค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ผลิตไฟฟ้าแล้วจำนวน 436 แห่ง ใน 31 ประเทศทั่วโลก และมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวน 53 แห่ง กำลังผลิตรวม 47,200 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย ประเทศจีน 16 แห่ง รัสเซีย 9 แห่ง อินเดีย 6 แห่ง เกาหลีใต้ 6 แห่ง และอื่น ๆ รวมอีก 16 แห่ง ได้แก่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ยูเครน อาร์เจนตินา ฝรั่งเศส บัลกาเลีย อิหร่าน ปากีสถาน สหรัฐอเมริกา และฟินแลนด์
ทั้งนี้ ในประเทศพัฒนาแล้ว สหรัฐอเมริกามีการออกกฎหมายให้การสนับสนุนการลงทุนในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รวมทั้งแก้ไขขั้นตอนการขออนุญาตเพื่อลดความเสี่ยงของผู้ลงทุน ประเทศอังกฤษมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายพลังงานและกลับมาสนับสนุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกครั้ง ขณะที่ในประเทศฟินแลนด์อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ เพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าภายในประเทศ
นอกจากนี้ ข้อมูลล่าสุดประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประเทศเวียดนาม ซึ่งมีการบรรจุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ในยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศ และกำหนดเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวน 2 แห่ง กำลังการผลิตรวมกัน 8,000 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2563-2567
ขณะนี้ได้มีการปรับแผนเพิ่มเติมเพื่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในช่วงปี พ.ศ. 2567-2573 เพิ่มขึ้นอีก 4 เครื่อง เครื่องละ 1,000 เมกะวัตต์ และหากเป็นไปตามแผนที่วางไว้เวียดนามจะเป็นประเทศที่สองในภูมิภาคอาเซียนต่อจากประเทศฟิลิปปินส์
ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงเพราะผลสำรวจประชาชนในเวียดนามถึง 90% ให้การสนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ชัดเจน และมีการเตรียมบุคคลากรชาวเวียดนามกว่า 300 คน ให้ได้รับทุนไปศึกษาต่อด้านพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น
นายทวารัฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2 แห่ง แห่งละ 1,000 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2563 และ 2564 ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการสร้างความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่ให้การสนับสนุนและการคัดค้าน
แต่เชื่อว่าท้ายที่สุดประชาชนจะได้รับข้อมูลเพียงพอประกอบการตัดสินใจได้ และคาดว่าทีมที่ปรึกษาที่ศึกษาเกี่ยวกับสถานที่ตั้งจะสามารถเสนอพื้นที่ที่มีศักยภาพจากจำนวน 16 แห่ง และคัดให้เหลือ 3-5 แห่ง ภายในเดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งทั้งหมดจะได้จัดทำเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของรัฐบาลในช่วงต้นปี 2554 ต่อไป
. (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)