วันที่ 2009-10-09 15:24:36
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
นายกฯเผย ที่ประชุม ครม. เห็นชอบแก้กฎหมายสิ่งแวดล้อม 3 ประเด็น เตรียมดันเข้าสภาฯ ภายใน ต.ค. นี้ ส่วนกองทุนแสนล้านต้องรอคำสั่งศาลเท่านั้น ขณะที่ 76 โครงการยังเคว้ง หวังศาลเร่งพิจารณาโดยเร็ว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
วันนี้ (9 ต.ค. 2552) เวลา 15.00 น. ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 3 ถนนอู่ทองในนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมแก้ไขปัญหาในพื้นที่มาบตาพุด โดยมี รัฐมนตรีทั้ง 3 กระทรวง เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมด้วย
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงผลการประชุมว่า หลักที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ คือจะต้องการที่จะออกกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว โดยใช้วิธีการ แก้กฎหมายสิ่งแวดล้อม และจะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 13 ตุลาคมนี้ เพื่อที่จะเร่งเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ขณะเดียวกันจะนำหลักการของการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายไปใช้ในระหว่างที่กฎหมายยังไม่ออก โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมจะทำเป็นหลักเกณฑ์ให้ถือปฏิบัติก่อนชั่วคราว
สำหรับโครงการที่เข้าข่ายมาตรา 67 วรรคสอง สำหรับการแก้กฎหมายสิ่งแวดล้อมนั้น นายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า มีการแก้ใน 3 ประเด็น คือ 1. มีการกำหนดกระบวนการถึงองค์กรที่จะไปชี้ว่า โครงการใดเข้าข่ายที่จะมีผลกระทบรุนแรง 2. กำหนดให้การจัดทำ EIA จะต้องมีการจัดทำผลกระทบต่อสุขภาพอย่างชัดเจน 3. ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และองค์การอิสระก่อนที่จะมีการดำเนินโครงการโดยกฎหมาย
ส่วนจะแล้วเสร็จเมื่อใดนั้นขึ้นอยู่กับทางสภาฯ ว่าจะส่งเรื่องเข้าสภาฯ ให้ทันภายในเดือนตุลาคมนี้หรือไม่ และระหว่างที่ยังไม่มีการแก้กฎหมาย จะไปออกประกาศตามมาตรา 46 วรรคสองของกฎหมายสิ่งแวดล้อม ซึ่งคิดว่าจะสามารถทดแทนกันได้ เพราะตามมาตรา 67 วรรคสอง ไม่ได้บังคับให้เป็นกฎหมาย เพียงแต่คิดว่าสำหรับระยะยาวควรที่จะมีกฎหมาย
แต่สำหรับประกาศจะต้องมีการยกร่างประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ เพราะร่างฯ สำหรับหลักเกณฑ์ที่จะทำตามมาตรา 46 วรรคสองยังไม่ได้ทำ จากนั้นต้องเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นผู้มีอำนาจในการออกประกาศ ซึ่งขั้นตอนของการยกร่างประกาศฯ และนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาตินั้น คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์
ส่วนเรื่องของกองทุนแสนล้านบาทนั้น จะต้องรอคำสั่งศาลในการอุทธรณ์เท่านั้น เพราะกฎหมายไม่ได้เปิดโอกาสในการขอทุเลาการบังคับคดี ในส่วนของโครงการที่ถูกร้องนั้น นายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า ต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของศาล แต่ส่วนอื่น ๆ ต้องทำความเข้าใจกับภาคเอกชน ที่ผ่านมาภาคเอกชนมีความเข้าใจดีขึ้น แต่ยังอาจจะสับสนในแง่ของขั้นตอน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการอธิบาย
สำหรับโครงการทั้ง 76 โครงการนั้น ยังไม่สามารถประเมินได้ว่า จะมีการย้ายฐานการผลิตหรือไม่ ต้องรอการวินิจฉัยคำอุทธรณ์ก่อน ซึ่งคาดว่าจะมีการพิจารณาค่อนข้างเร็ว ในส่วนของรัฐบาลได้พยายามเร่งเดินหน้าในกระบวนการที่จะมารองรับ โดยตัวมาตรา 46 วรรค 2 และการเสนอกฎหมายใหม่เข้าไปนายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำว่า ขณะนี้ทำเท่าที่สามารถทำได้ และเชื่อว่าได้ทำตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แต่จะไปห้ามคนโต้แย้งไม่ได้
สำหรับโครงการที่อนุญาตไปแล้วทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ยืนยันว่าผ่าน EIA ซึ่งประเมินแล้วว่าไม่มีผลกระทบที่รุนแรง และปัจจุบันกระบวนการของ EIA มีเรื่องการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ แต่จะขยายเพิ่มสำหรับในอนาคตต่อไปในกรณีที่มีโครงการที่เข้าข่ายมาตรา 67 วรรคสอง สำหรับผู้ประกาศนั้น คาดว่าจะให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ทำหน้าที่นี้ แต่ถ้ามีคนโต้แย้งว่าโครงการไหนไม่อยู่ในประกาศฯ แต่มีผลกระทบรุนแรง ก็สามารถโต้แย้งได้
ที่มา : เว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรี (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
นายกฯเผย ที่ประชุม ครม. เห็นชอบแก้กฎหมายสิ่งแวดล้อม 3 ประเด็น เตรียมดันเข้าสภาฯ ภายใน ต.ค. นี้ ส่วนกองทุนแสนล้านต้องรอคำสั่งศาลเท่านั้น ขณะที่ 76 โครงการยังเคว้ง หวังศาลเร่งพิจารณาโดยเร็ว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
วันนี้ (9 ต.ค. 2552) เวลา 15.00 น. ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 3 ถนนอู่ทองในนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมแก้ไขปัญหาในพื้นที่มาบตาพุด โดยมี รัฐมนตรีทั้ง 3 กระทรวง เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมด้วย
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงผลการประชุมว่า หลักที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ คือจะต้องการที่จะออกกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว โดยใช้วิธีการ แก้กฎหมายสิ่งแวดล้อม และจะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 13 ตุลาคมนี้ เพื่อที่จะเร่งเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ขณะเดียวกันจะนำหลักการของการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายไปใช้ในระหว่างที่กฎหมายยังไม่ออก โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมจะทำเป็นหลักเกณฑ์ให้ถือปฏิบัติก่อนชั่วคราว
สำหรับโครงการที่เข้าข่ายมาตรา 67 วรรคสอง สำหรับการแก้กฎหมายสิ่งแวดล้อมนั้น นายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า มีการแก้ใน 3 ประเด็น คือ 1. มีการกำหนดกระบวนการถึงองค์กรที่จะไปชี้ว่า โครงการใดเข้าข่ายที่จะมีผลกระทบรุนแรง 2. กำหนดให้การจัดทำ EIA จะต้องมีการจัดทำผลกระทบต่อสุขภาพอย่างชัดเจน 3. ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และองค์การอิสระก่อนที่จะมีการดำเนินโครงการโดยกฎหมาย
ส่วนจะแล้วเสร็จเมื่อใดนั้นขึ้นอยู่กับทางสภาฯ ว่าจะส่งเรื่องเข้าสภาฯ ให้ทันภายในเดือนตุลาคมนี้หรือไม่ และระหว่างที่ยังไม่มีการแก้กฎหมาย จะไปออกประกาศตามมาตรา 46 วรรคสองของกฎหมายสิ่งแวดล้อม ซึ่งคิดว่าจะสามารถทดแทนกันได้ เพราะตามมาตรา 67 วรรคสอง ไม่ได้บังคับให้เป็นกฎหมาย เพียงแต่คิดว่าสำหรับระยะยาวควรที่จะมีกฎหมาย
แต่สำหรับประกาศจะต้องมีการยกร่างประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ เพราะร่างฯ สำหรับหลักเกณฑ์ที่จะทำตามมาตรา 46 วรรคสองยังไม่ได้ทำ จากนั้นต้องเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นผู้มีอำนาจในการออกประกาศ ซึ่งขั้นตอนของการยกร่างประกาศฯ และนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาตินั้น คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์
ส่วนเรื่องของกองทุนแสนล้านบาทนั้น จะต้องรอคำสั่งศาลในการอุทธรณ์เท่านั้น เพราะกฎหมายไม่ได้เปิดโอกาสในการขอทุเลาการบังคับคดี ในส่วนของโครงการที่ถูกร้องนั้น นายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า ต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของศาล แต่ส่วนอื่น ๆ ต้องทำความเข้าใจกับภาคเอกชน ที่ผ่านมาภาคเอกชนมีความเข้าใจดีขึ้น แต่ยังอาจจะสับสนในแง่ของขั้นตอน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการอธิบาย
สำหรับโครงการทั้ง 76 โครงการนั้น ยังไม่สามารถประเมินได้ว่า จะมีการย้ายฐานการผลิตหรือไม่ ต้องรอการวินิจฉัยคำอุทธรณ์ก่อน ซึ่งคาดว่าจะมีการพิจารณาค่อนข้างเร็ว ในส่วนของรัฐบาลได้พยายามเร่งเดินหน้าในกระบวนการที่จะมารองรับ โดยตัวมาตรา 46 วรรค 2 และการเสนอกฎหมายใหม่เข้าไปนายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำว่า ขณะนี้ทำเท่าที่สามารถทำได้ และเชื่อว่าได้ทำตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แต่จะไปห้ามคนโต้แย้งไม่ได้
สำหรับโครงการที่อนุญาตไปแล้วทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ยืนยันว่าผ่าน EIA ซึ่งประเมินแล้วว่าไม่มีผลกระทบที่รุนแรง และปัจจุบันกระบวนการของ EIA มีเรื่องการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ แต่จะขยายเพิ่มสำหรับในอนาคตต่อไปในกรณีที่มีโครงการที่เข้าข่ายมาตรา 67 วรรคสอง สำหรับผู้ประกาศนั้น คาดว่าจะให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ทำหน้าที่นี้ แต่ถ้ามีคนโต้แย้งว่าโครงการไหนไม่อยู่ในประกาศฯ แต่มีผลกระทบรุนแรง ก็สามารถโต้แย้งได้
ที่มา : เว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรี (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)