วันที่ 2009-10-22 13:41:38
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
กลุ่ม ปตท. เตรียมจัดทำ HIA สำหรับ 25 โครงการในมาบตาพุดหลัง คสช. ประกาศให้รวม HIA เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ EIA ชี้มติ คสช. ช่วยให้ผู้ประกอบการคลายกังวล
กลุ่ม ปตท. เตรียมปรับการดำเนินการจัดทำ HIA ให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบทางสุขภาพที่กำหนดเพิ่มเติม ตามมติคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)
ซึ่งจากเดิมที่แต่ละโครงการผ่านความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ผนวกการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรายงานฯ ไว้แล้ว รวมถึงให้เป็นไปตามกรอบ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว
นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้อนุมัติหลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA)
โดยสรุปให้บูรณาการ HIA เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ EIA โดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการ HIA ของ สผ. และเพิ่มเติมประเด็นสำคัญๆ นั้น กลุ่ม ปตท. ยินดีให้ความร่วมมือเร่งดำเนินการเพิ่มเติมให้สอดคล้องกันกับมติ คสช. เพื่อให้การจัดทำ HIA ที่ประกอบอยู่ในรายงาน EIA เดิมของทั้ง 25 โครงการของกลุ่ม ปตท.มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ปตท.ได้จัดทำโครงการความร่วมมือกับอีก 3 หน่วยงาน
ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ในการศึกษาและกำหนดแนวทางปฏิบัติด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ สำหรับโครงการประเภทโรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงผลิตไฟฟ้า (ก๊าซธรรมชาติ) และโครงการระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ซึ่งได้ดำเนินการมากว่า 4 เดือนแล้วเพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานจากทุกภาคส่วนอีกด้วย
เชื่อว่าจากนี้ไปมาตรการอื่นๆ ที่จะต้องดำเนินตามมาตรา 67 วรรค 2 ก็จะทยอยเห็นเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องการจัดตั้งองค์การอิสระ และข้อกำหนดเพิ่มเติมด้านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งอยู่ระหว่างการแก้ไข พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมปี 2535 ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2553
นายปรัชญา กล่าวเพิ่มเติมว่า มติ คสช. ดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการคลายความกังวลขึ้นมาระดับหนึ่ง เนื่องจากภาครัฐได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่ทุกภาคส่วนร่วมกันแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทั้ง สิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม และชุมชน (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
กลุ่ม ปตท. เตรียมจัดทำ HIA สำหรับ 25 โครงการในมาบตาพุดหลัง คสช. ประกาศให้รวม HIA เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ EIA ชี้มติ คสช. ช่วยให้ผู้ประกอบการคลายกังวล
กลุ่ม ปตท. เตรียมปรับการดำเนินการจัดทำ HIA ให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบทางสุขภาพที่กำหนดเพิ่มเติม ตามมติคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)
ซึ่งจากเดิมที่แต่ละโครงการผ่านความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ผนวกการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรายงานฯ ไว้แล้ว รวมถึงให้เป็นไปตามกรอบ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว
นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้อนุมัติหลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA)
โดยสรุปให้บูรณาการ HIA เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ EIA โดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการ HIA ของ สผ. และเพิ่มเติมประเด็นสำคัญๆ นั้น กลุ่ม ปตท. ยินดีให้ความร่วมมือเร่งดำเนินการเพิ่มเติมให้สอดคล้องกันกับมติ คสช. เพื่อให้การจัดทำ HIA ที่ประกอบอยู่ในรายงาน EIA เดิมของทั้ง 25 โครงการของกลุ่ม ปตท.มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ปตท.ได้จัดทำโครงการความร่วมมือกับอีก 3 หน่วยงาน
ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ในการศึกษาและกำหนดแนวทางปฏิบัติด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ สำหรับโครงการประเภทโรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงผลิตไฟฟ้า (ก๊าซธรรมชาติ) และโครงการระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ซึ่งได้ดำเนินการมากว่า 4 เดือนแล้วเพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานจากทุกภาคส่วนอีกด้วย
เชื่อว่าจากนี้ไปมาตรการอื่นๆ ที่จะต้องดำเนินตามมาตรา 67 วรรค 2 ก็จะทยอยเห็นเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องการจัดตั้งองค์การอิสระ และข้อกำหนดเพิ่มเติมด้านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งอยู่ระหว่างการแก้ไข พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมปี 2535 ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2553
นายปรัชญา กล่าวเพิ่มเติมว่า มติ คสช. ดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการคลายความกังวลขึ้นมาระดับหนึ่ง เนื่องจากภาครัฐได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่ทุกภาคส่วนร่วมกันแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทั้ง สิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม และชุมชน (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)