วันที่ 2009-10-12 11:04:37
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
กกร.จับเข่าถกหามาตรการช่วยผู้ประกอบการมาบตาพุด 12 ต.ค.นี้ ระบุเอกชนพอใจรัฐสร้างความเชื่อมั่นระยะสั้น คาดกฎหมายลูกองค์กรอิสระออกได้เร็วสุด ก.พ.53 ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอี จี้แบงก์ปล่อยกู้ล่าช้า ด้านบีโอไอยันนโยบายดึงการลงทุนไม่เปลี่ยนแปลง คาดปีนี้ยอดส่งเสริมถึง 4 แสนล้านบาท
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 12 ต.ค.นี้การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ส.อ.ท. และสมาคมธนาคารไทย จะมีการหารือหามาตรการทางออกกรณีผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาลปกครองร่วมกันว่าแต่ละฝ่ายควรจะเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
ซึ่งต้องยอมรับว่าขณะนี้ยังคงทำอะไรมากไม่ได้ เนื่องจากต้องรอคำสั่งจากศาลฯ ก่อน แต่โดยส่วนตัวคิดว่าคำสั่งศาลฯ ออกมาน่าจะแยกให้ชัดเจนว่ามีโครงการไหนบ้างที่เข้าข่ายส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เหมารวมทั้งหมด 76 โครงการ
ส่วนความคืบหน้าภาคเอกชนจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองนั้น ขณะนี้ฝ่ายกฎหมายของแต่ละบริษัทกำลังอยู่ระหว่างการหารือว่าจะยื่นหรือไม่ แต่คิดว่าส่วนใหญ่น่าจะรอความชัดเจนจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดก่อนว่าจะยืนตามศาลปกครองกลางหรือไม่ เพราะตามกฎหมายแล้วตอนนี้ผู้ประกอบการยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงเพราะผู้ยื่นฟ้องไม่ได้ยื่นฟ้องตัวผู้ประกอบการ และขณะนี้ผู้ประกอบการก็ยังดำเนินกิจการต่อได้
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จะมีการรายงานความคืบหน้าการแก้ปัญหาการลงทุนในมาบตาพุด จะแจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงแนวทางที่รัฐบาลดำเนินการไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา การประชุมครั้งนี้คงไม่มีการกำหนดข้อเสนอใหม่ให้กับภาครัฐ เพราะต้องการให้รัฐดำเนินการให้ได้ตามข้อเสนอของภาคเอกชนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วให้ได้ก่อน เอกชนจะมีการติดตามความคืบหน้าการดำเนินการของภาครัฐอย่างใกล้ชิด ถ้าเกิดมีปัญหาและอุปสรรคขึ้นมาอีกก็จะเข้าหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรม
ซึ่งในภาพรวม ส.อ.ท.พอใจกับท่าทีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่รีบดำเนินการแก้ปัญหา และท่าทีของรัฐบาลครั้งนี้จะช่วยทำให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการดีขึ้นในระยะสั้นได้ ถ้าการแก้ปัญหามีแนวโน้มที่ดีก็เชื่อว่าจะค่อยๆ ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการดีขึ้นได้ และการที่นายกฯ ลงมาเป็นประธานแก้ปัญหาเองเชื่อว่าจะมีความคืบหน้าเร็ว รวมทั้งทำให้การทำงานของหน่วยงานรัฐไปในทิศทางเดียวกัน
ทั้งนี้ ภาคเอกชนเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ปัญหาระยะสั้นของรัฐบาลโดยเร่งออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะพิจารณาร่างกฎหมายองค์การอิสระสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในวันที่ 13 ต.ค.นี้ โดยเอกชนประเมินว่ากว่าจะผ่านขั้นตอนของรัฐสภาน่าจะใช้เวลาเร็วที่สุดในเดือน ก.พ.53
ซึ่งแม้ว่าต้องใช้เวลาอีกถึง 4 เดือน แต่ก็ยังดีกว่าไม่เริ่มต้นดำเนินการอะไร และทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าเป็นช่องทางเดียวที่เหลืออยู่ที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะที่ทุกฝ่ายเห็นร่วมกันว่าการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพ (เอชไอเอ) จะต้องไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อไม่ให้การดำเนินการกระจายหลายขั้นตอน
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า นอกจากจะมีการหารือเรื่องมาบตาพุดแล้ว ก็จะมีการหารือเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการสินเชื่อ เนื่องจากที่ผ่านมามีการร้องเรียนจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้ามาเป็นจำนวนมากว่ามีการปล่อยสินเชื่อล่าช้า
โดยเฉพาะในส่วนของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ส.ค.52) มียอดอนุมัติสินเชื่อ 24,667 ล้านบาท แต่มีการเบิกจ่ายจริง 16,675 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นโครงการชะลอการเลิกจ้างงานของสมาชิก ส.อ.ท.จำนวน 403 ราย วงเงิน 5,080 ล้านบาท
นางหิรัญญา สุจินัย ที่ปรึกษาด้านการลงทุน สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ขณะนี้ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงแผนการชักจูงการลงทุนหรือแผนโรดโชว์แต่อย่างใด แต่ในส่วนของบีโอไอที่ทำได้คือการดูแลและให้ข้อมูลนักลงทุน โดยประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพราะเรื่องอื่นอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของบีโอไอไปแล้ว ยอมรับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นก็มีส่วนทำให้การโรดโชว์ของบีโอไอยากขึ้น ขณะที่หวังว่าปีนี้ยอดส่งเสริมการลงทุนน่าจะได้ 4 แสนล้านบาทตามเป้า
ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
กกร.จับเข่าถกหามาตรการช่วยผู้ประกอบการมาบตาพุด 12 ต.ค.นี้ ระบุเอกชนพอใจรัฐสร้างความเชื่อมั่นระยะสั้น คาดกฎหมายลูกองค์กรอิสระออกได้เร็วสุด ก.พ.53 ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอี จี้แบงก์ปล่อยกู้ล่าช้า ด้านบีโอไอยันนโยบายดึงการลงทุนไม่เปลี่ยนแปลง คาดปีนี้ยอดส่งเสริมถึง 4 แสนล้านบาท
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 12 ต.ค.นี้การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ส.อ.ท. และสมาคมธนาคารไทย จะมีการหารือหามาตรการทางออกกรณีผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาลปกครองร่วมกันว่าแต่ละฝ่ายควรจะเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
ซึ่งต้องยอมรับว่าขณะนี้ยังคงทำอะไรมากไม่ได้ เนื่องจากต้องรอคำสั่งจากศาลฯ ก่อน แต่โดยส่วนตัวคิดว่าคำสั่งศาลฯ ออกมาน่าจะแยกให้ชัดเจนว่ามีโครงการไหนบ้างที่เข้าข่ายส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เหมารวมทั้งหมด 76 โครงการ
ส่วนความคืบหน้าภาคเอกชนจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองนั้น ขณะนี้ฝ่ายกฎหมายของแต่ละบริษัทกำลังอยู่ระหว่างการหารือว่าจะยื่นหรือไม่ แต่คิดว่าส่วนใหญ่น่าจะรอความชัดเจนจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดก่อนว่าจะยืนตามศาลปกครองกลางหรือไม่ เพราะตามกฎหมายแล้วตอนนี้ผู้ประกอบการยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงเพราะผู้ยื่นฟ้องไม่ได้ยื่นฟ้องตัวผู้ประกอบการ และขณะนี้ผู้ประกอบการก็ยังดำเนินกิจการต่อได้
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จะมีการรายงานความคืบหน้าการแก้ปัญหาการลงทุนในมาบตาพุด จะแจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงแนวทางที่รัฐบาลดำเนินการไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา การประชุมครั้งนี้คงไม่มีการกำหนดข้อเสนอใหม่ให้กับภาครัฐ เพราะต้องการให้รัฐดำเนินการให้ได้ตามข้อเสนอของภาคเอกชนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วให้ได้ก่อน เอกชนจะมีการติดตามความคืบหน้าการดำเนินการของภาครัฐอย่างใกล้ชิด ถ้าเกิดมีปัญหาและอุปสรรคขึ้นมาอีกก็จะเข้าหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรม
ซึ่งในภาพรวม ส.อ.ท.พอใจกับท่าทีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่รีบดำเนินการแก้ปัญหา และท่าทีของรัฐบาลครั้งนี้จะช่วยทำให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการดีขึ้นในระยะสั้นได้ ถ้าการแก้ปัญหามีแนวโน้มที่ดีก็เชื่อว่าจะค่อยๆ ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการดีขึ้นได้ และการที่นายกฯ ลงมาเป็นประธานแก้ปัญหาเองเชื่อว่าจะมีความคืบหน้าเร็ว รวมทั้งทำให้การทำงานของหน่วยงานรัฐไปในทิศทางเดียวกัน
ทั้งนี้ ภาคเอกชนเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ปัญหาระยะสั้นของรัฐบาลโดยเร่งออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะพิจารณาร่างกฎหมายองค์การอิสระสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในวันที่ 13 ต.ค.นี้ โดยเอกชนประเมินว่ากว่าจะผ่านขั้นตอนของรัฐสภาน่าจะใช้เวลาเร็วที่สุดในเดือน ก.พ.53
ซึ่งแม้ว่าต้องใช้เวลาอีกถึง 4 เดือน แต่ก็ยังดีกว่าไม่เริ่มต้นดำเนินการอะไร และทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าเป็นช่องทางเดียวที่เหลืออยู่ที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะที่ทุกฝ่ายเห็นร่วมกันว่าการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพ (เอชไอเอ) จะต้องไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อไม่ให้การดำเนินการกระจายหลายขั้นตอน
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า นอกจากจะมีการหารือเรื่องมาบตาพุดแล้ว ก็จะมีการหารือเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการสินเชื่อ เนื่องจากที่ผ่านมามีการร้องเรียนจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้ามาเป็นจำนวนมากว่ามีการปล่อยสินเชื่อล่าช้า
โดยเฉพาะในส่วนของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ส.ค.52) มียอดอนุมัติสินเชื่อ 24,667 ล้านบาท แต่มีการเบิกจ่ายจริง 16,675 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นโครงการชะลอการเลิกจ้างงานของสมาชิก ส.อ.ท.จำนวน 403 ราย วงเงิน 5,080 ล้านบาท
นางหิรัญญา สุจินัย ที่ปรึกษาด้านการลงทุน สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ขณะนี้ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงแผนการชักจูงการลงทุนหรือแผนโรดโชว์แต่อย่างใด แต่ในส่วนของบีโอไอที่ทำได้คือการดูแลและให้ข้อมูลนักลงทุน โดยประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพราะเรื่องอื่นอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของบีโอไอไปแล้ว ยอมรับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นก็มีส่วนทำให้การโรดโชว์ของบีโอไอยากขึ้น ขณะที่หวังว่าปีนี้ยอดส่งเสริมการลงทุนน่าจะได้ 4 แสนล้านบาทตามเป้า
ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)