วันที่ 2009-10-04 09:13:14
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
เอ็นจีโอชี้สร้างโรงไฟฟ้าจะนะ 2 ผลเสียเพียบ ผลประโยชน์ไม่ชัดเจน จวกรัฐผุดโครงการโรงไฟฟ้าใหม่รวมกว่า 7 พันเมกะวัตต์เกินความจำเป็น ไร้แผนรองรับก๊าซขาด แนะหาทางเลือกอื่นพัฒนาไฟฟ้าแทน
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ โรงพยาบาลจะนะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ศูนย์การเรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ตำบลบ้านา อำเภอจะนะ จัดเวทีเสวนา นโยบายพลังงานเชื่อมโยงอะไรกับความเป็นไปของ "จะนะบ้านเรา" มีนักวิชาการและชาวบ้านเข้าร่วม 100 คน โดยในช่วงแรกเป็นการเวทีเรียนรู้ทิศทางการพัฒนาพลังงานจากภาคใต้สู่สงขลา "จำเป็นจริงหรือ? ต้องมีโรงไฟฟ้าจะนะ2" โดยนายศุภกิจ นันทะวรการ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ ผศ.ประสาท มีแต้ม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายปิยะโชติ อินทรานิวาส ศูนย์ข่าว ASTV ผู้จัดการ เป็นวิทยากร
ผศ.ประสาท กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการผลิตไฟฟ้าเหลือจากความต้องการใช้ไฟฟ้าอยู่ประมาณ 27% แต่โดยทั่วไปมักสำรองไฟฟ้าไว้ที่ 15% เผื่อไฟฟ้าดับ แต่ในปี 2538 ประเทศไทยมีไฟฟ้าสำรองเพียง 8% แต่ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าเกินทำให้งบประมาณจมอยู่ในส่วนดังกล่าวหลายแสนล้านบาท ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ที่ผ่านมาเงินค่าไฟฟ้า 4 แสนล้านบาทใช้เป็นต้นทุนในการก่อสร้าง ซึ่งประชาชนชนต้องจ่าย เรียกว่าไม่ใช้ก็ต้องจ่าย
นายศุภกิจ กล่าวว่า ปัญหาก๊าซธรรมชาติที่ใช้ผลิตไฟฟ้าหายไปในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2552 ทั้งจากประเทศพม่าและอ่าวไทยปริมาณ 10,000 เมกะวัตต์ หายไปได้อย่างไร ใครรับผิดชอบ ซึ่งการขยายโรงไฟฟ้าจะนะระยะที่ 2 กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ ที่ต้องใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงนั้น มีแผนรองรับแล้วหรือไม่
นายศุภกิจ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ประมาณ 2,000 เมกะวัตต์ พยากรณ์ว่าจะเพิ่มเป็น 2,400 เมกะวัตต์ในปี 2564 แต่เมื่อรวมกำลังการผลิตตามโครงการโรงไฟฟ้าที่วางแผนการไว้ คือ โรงไฟฟ้าจะนะระยะที่ 2 จำนวน 800 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าใหม่ที่ขนอมจังหวัดนครศรีธรรมราช 800 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธุ์ 2,800 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีก 2,000 เมกะวัตต์ รวมแล้วเท่ากับ 6,400 เมกะวัตต์ ยังไม่รวมผู้ผลิตรายเล็กอีกอย่างน้อย 1,000 เมกะวัตต์ ถามว่าสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อใคร สรุปคือ ไม่มีความจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าจะนะ ระยะที่ 2
นายศุภกิจ กล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากผลกระทบที่เกิดขึ้น พบว่าอำเภอจะนะ มีท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซียบนบกซึ่งเสี่ยงรั่วและเกิดอุบัติเหตุทั้งท่อและสถานีควบคุม ผลกระทบจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย สารอินทรีย์ก่อมะเร็ง มลพิษอากาศ เสียงดังและความร้อนจากกระบวนการผลิต ฯลฯ ผลกระทบจากโรงไฟฟ้าจะนะ ทั้งการแย่งน้ำในคลองนาทับ การปล่อยน้ำร้อนลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เสียงต่อภาวะน้ำท่วม ก๊าซพิษโอโซน
นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ที่มีการรับฟังความคิดเห็นแบบไม่มีส่วนร่วมและไม่มีธรรมาภิบาล ไม่เปิดเผยร่างรายนงานการศึกษาจนกว่าจะได้รับการอนุมัติแล้ว เจ้าของโครงการเป็นผู้จ่ายเงินให้ผู้ศึกษาอีไอเอ แต่ก็มีผลประโยชน์ต่อท้องถิ่นด้วย เช่นการจัดเก็บภาษี การจ้างงาน กองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า แต่กองทุนเองกลับสร้างความขัดแย้งให้คนในชุมชน
นายศุภกิจ กล่าวว่า ดังนั้นสรุปว่า ผลกระทบชัดเจนและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ระบบการดูแลผลกระทบมีปัญหาอย่างรุนแรง ผลประโยชน์ยังไม่ชัดเจนและคุ้มค่าหรือไม่ ทั้งมูลค่าและคุณค่า ดังนั้นต้องมีทางเลือกอื่นในการพัฒนาไฟฟ้า ซึ่งประเทศไทยมีการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียยางพารา กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า ไบโอดีเซล เป็นต้น
ที่มา : เว็บไซต์ประชาไท (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
เอ็นจีโอชี้สร้างโรงไฟฟ้าจะนะ 2 ผลเสียเพียบ ผลประโยชน์ไม่ชัดเจน จวกรัฐผุดโครงการโรงไฟฟ้าใหม่รวมกว่า 7 พันเมกะวัตต์เกินความจำเป็น ไร้แผนรองรับก๊าซขาด แนะหาทางเลือกอื่นพัฒนาไฟฟ้าแทน
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ โรงพยาบาลจะนะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ศูนย์การเรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ตำบลบ้านา อำเภอจะนะ จัดเวทีเสวนา นโยบายพลังงานเชื่อมโยงอะไรกับความเป็นไปของ "จะนะบ้านเรา" มีนักวิชาการและชาวบ้านเข้าร่วม 100 คน โดยในช่วงแรกเป็นการเวทีเรียนรู้ทิศทางการพัฒนาพลังงานจากภาคใต้สู่สงขลา "จำเป็นจริงหรือ? ต้องมีโรงไฟฟ้าจะนะ2" โดยนายศุภกิจ นันทะวรการ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ ผศ.ประสาท มีแต้ม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายปิยะโชติ อินทรานิวาส ศูนย์ข่าว ASTV ผู้จัดการ เป็นวิทยากร
ผศ.ประสาท กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการผลิตไฟฟ้าเหลือจากความต้องการใช้ไฟฟ้าอยู่ประมาณ 27% แต่โดยทั่วไปมักสำรองไฟฟ้าไว้ที่ 15% เผื่อไฟฟ้าดับ แต่ในปี 2538 ประเทศไทยมีไฟฟ้าสำรองเพียง 8% แต่ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าเกินทำให้งบประมาณจมอยู่ในส่วนดังกล่าวหลายแสนล้านบาท ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ที่ผ่านมาเงินค่าไฟฟ้า 4 แสนล้านบาทใช้เป็นต้นทุนในการก่อสร้าง ซึ่งประชาชนชนต้องจ่าย เรียกว่าไม่ใช้ก็ต้องจ่าย
นายศุภกิจ กล่าวว่า ปัญหาก๊าซธรรมชาติที่ใช้ผลิตไฟฟ้าหายไปในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2552 ทั้งจากประเทศพม่าและอ่าวไทยปริมาณ 10,000 เมกะวัตต์ หายไปได้อย่างไร ใครรับผิดชอบ ซึ่งการขยายโรงไฟฟ้าจะนะระยะที่ 2 กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ ที่ต้องใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงนั้น มีแผนรองรับแล้วหรือไม่
นายศุภกิจ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ประมาณ 2,000 เมกะวัตต์ พยากรณ์ว่าจะเพิ่มเป็น 2,400 เมกะวัตต์ในปี 2564 แต่เมื่อรวมกำลังการผลิตตามโครงการโรงไฟฟ้าที่วางแผนการไว้ คือ โรงไฟฟ้าจะนะระยะที่ 2 จำนวน 800 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าใหม่ที่ขนอมจังหวัดนครศรีธรรมราช 800 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธุ์ 2,800 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีก 2,000 เมกะวัตต์ รวมแล้วเท่ากับ 6,400 เมกะวัตต์ ยังไม่รวมผู้ผลิตรายเล็กอีกอย่างน้อย 1,000 เมกะวัตต์ ถามว่าสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อใคร สรุปคือ ไม่มีความจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าจะนะ ระยะที่ 2
นายศุภกิจ กล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากผลกระทบที่เกิดขึ้น พบว่าอำเภอจะนะ มีท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซียบนบกซึ่งเสี่ยงรั่วและเกิดอุบัติเหตุทั้งท่อและสถานีควบคุม ผลกระทบจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย สารอินทรีย์ก่อมะเร็ง มลพิษอากาศ เสียงดังและความร้อนจากกระบวนการผลิต ฯลฯ ผลกระทบจากโรงไฟฟ้าจะนะ ทั้งการแย่งน้ำในคลองนาทับ การปล่อยน้ำร้อนลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เสียงต่อภาวะน้ำท่วม ก๊าซพิษโอโซน
นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ที่มีการรับฟังความคิดเห็นแบบไม่มีส่วนร่วมและไม่มีธรรมาภิบาล ไม่เปิดเผยร่างรายนงานการศึกษาจนกว่าจะได้รับการอนุมัติแล้ว เจ้าของโครงการเป็นผู้จ่ายเงินให้ผู้ศึกษาอีไอเอ แต่ก็มีผลประโยชน์ต่อท้องถิ่นด้วย เช่นการจัดเก็บภาษี การจ้างงาน กองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า แต่กองทุนเองกลับสร้างความขัดแย้งให้คนในชุมชน
นายศุภกิจ กล่าวว่า ดังนั้นสรุปว่า ผลกระทบชัดเจนและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ระบบการดูแลผลกระทบมีปัญหาอย่างรุนแรง ผลประโยชน์ยังไม่ชัดเจนและคุ้มค่าหรือไม่ ทั้งมูลค่าและคุณค่า ดังนั้นต้องมีทางเลือกอื่นในการพัฒนาไฟฟ้า ซึ่งประเทศไทยมีการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียยางพารา กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า ไบโอดีเซล เป็นต้น
ที่มา : เว็บไซต์ประชาไท (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)