โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 กันยายน 2552 15:06 น.
ดร.เลาจนา เชาวนาดิศัย
ประเทศไทยมีนโยบายปล่อยปลากำจัดลูกน้ำยุงตั้งแต่ปี 2522 แม้จะไม่สามารถกำจัดยุงให้หมดไปได้ แต่ช่วยยับยั้งการแพร่กระจายโรคระบาดจากยุงได้ และเป็นชีววิธีที่ควรรักษาไว้
ปลาหางนกยูงสีสันสวยงามช่วยกินลูกน้ำยุงได้เช่นเดียวกับปลาหางนกยูงในแหล่งน้ำทั่วไป
แมลงดาสวน ชีวินทรีย์ในธรรมชาติช่วยกำจัดลูกน้ำยุงได้
มวนแมงป่องน้ำ ตัวนี้ก็เป็นศัตรูธรรมชาติของยุง
มวนกรรเชียง แหล่งเพาะพันธุ์อยู่ในที่เดียวกับยุงลาย ช่วยกำจัดลูกน้ำยุงร้าย
ตัวโม่งแมลงปอบ้าน กินลูกน้ำยุงเป็นอาหาร
ลูกน้ำยุงยักษ์ ใช้ยุงกำจัดยุงด้วยกันเอง
ไส้เดือนฝอย ชอนไชเข้าทำลายลูกน้ำยุง
เม็ดแมงลัก หนึ่งในชีวินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุง
แบคทีเรียในรูปแบบผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุงที่มีจำหน่ายในประเทศต่างๆ
ยากันยุงก็ใช้ไม่ได้ผล ฉีดพ่นสารเคมีก็แล้ว กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงไปก็มาก แต่สารพัดโรคร้ายที่มาจากยุงก็ยังแพร่กระจายไม่หยุดหย่อน และหลายคนพยายามคิดหาวิธีกำจัดให้ยุงหมดไปจากโลกนี้ แต่ทำยังไงก็ไม่เป็นผลสักที ลองมาดูสารพัดวิธีควบคุมยุงด้วยชีวินทรีย์ แม้ไม่ทำให้ยุงสูญพันธุ์ไป แต่ช่วยตัดวงจรแพร่กระจายโรคระบาดโรคร้ายได้ผลแบบไม่ต้องพึ่งพายาฆ่าแมลง
ในระหว่างการสัมมนาเรื่อง "ยุงมหันตภัยร้ายใกล้ตัวควบคุมได้ด้วยชีววิธี" ที่จัดโดยศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ในงานการนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2552 ที่เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ เมื่อปลายเดือน ส.ค.52 ที่ผ่านมา นายบุญเสริม อ่วมทอง นักวิชาการสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน อย่างไรก็ไม่มีทางกำจัดยุงให้หมดไปได้ ฉะนั้นจึงต้องหาวิธีที่ทำให้ยุงอยู่ร่วมกับเราได้โดยไม่ก่อปัญหา และการควบคุมยุงโดยชีววิธีเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผล
ทางด้าน ศ.ดร.ธีรภาพ เจริญวิริยะภาพ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยว่า ก่อนที่เราจะหาวิธีกำจัดยุงที่เป็นพาหะนำโรค ก็ต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับยุงเหล่านั้นก่อน ตั้งแต่ธรรมชาติของยุงไปจนถึงพันธุกรรมยุง ซึ่งยุงในประเทศไทยมีมากกว่า 400 ชนิด จำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ยุงลาย ยุงก้นป่อง ยุงรำคาญ และยุงยักษ์ แต่มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่เป็นพาหะนำโรค โดยยุงลายเป็นพาหะโรคไข้เลือดออกและชิคุนกุนยา ยุงก้นปล่องเป็นพาหะโรคมาลาเลีย ยุงรำคาญเป็นพาหะโรคเท้าช้างและไข้สมองอักเสบ ส่วนยุงยักษ์จัดว่าเป็นยุงที่มีประโยชน์ เพราะตัวอ่อนช่วยกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ ส่วนตัวเต็มวัยก็ไม่กัดคน
เมื่อพูดถึงการควบคุมยุงด้วยชีวินทรีย์ หลายคนนึกถึงปลาหางนกยูง และแบคทีเรียบีทีไอ ทว่ายังมีชีวินทรีย์อีกหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ควบคุมยุงพาหะของโรคได้ และบางชนิดอาจเป็นสิ่งที่หลายคนนึกไม่ถึงมาก่อน
ดร.เลาจนา เชาวนาดิศัย นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบายว่าชีวินทรีย์สำหรับใช้กำจัดหรือควบคุมยุงแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่ 1) ตัวห้ำ 2) ตัวเบียน 3) โรคแมลง
ตัวห้ำ ได้แก่ ปลาชนิดต่างๆ ที่กินลูกน้ำยุงเป็นอาหาร เช่น ปลาหางนกยูง ปลากัด ปลาสอด ปลาหัวตะกั่ว, แมลงในน้ำ เช่น แมลงดาสวน มวนแมงป่องน้ำ มีแหล่งเพาะพันธุ์อยู่ในหนอง บึง หรือสระบัว, มวนวนยักษ์ แหล่งเพาะพันธุ์อยู่ในน้ำใส เช่นเดียวกับยุงก้นปล่อง, มวนกรรเชียง แหล่งเพาะพันธุ์อยู่ในที่เดียวกับยุงลาย รวมทั้งตัวอ่อนของแมลงปอบ้าน แมลงปอน้ำตก แมลงปอเข็ม โดยเฉพาะลูกน้ำยุงลายยักษ์ ซึ่งเพาะพันธุ์ในแหล่งน้ำที่เดียวกับยุงลาย และกินลูกน้ำยุงลายเป็นอาหาร จึงช่วยกำจัดลูกน้ำยุงลายได้เป็นอย่างดี
ตัวเบียน ได้แก่ ไส้เดือนฝอย จะชอนไชเข้าไปในตัวลูกน้ำยุงลายและทำให้ตายได้, พืชบางชนิด เช่น เม็ดแมงลัก ซึ่งเมื่อโดนน้ำแล้วจะพองตัว เป็นเส้นใยเหนียว เมื่อลูกน้ำยุงกินเข้าไปจะติดอยู่ที่ปาก และทำให้ลูกน้ำยุงไม่สามารถขึ้นมาหายใจบริเวณผิวน้ำได้ และตายในที่สุด, สาหร่ายข้าวเหนียว ซึ่งมีกระเปาะเล็กๆ เมื่อลูกน้ำยุงถูกโบกพัดเข้ามาอยู่ในกระเปาะดังกล่าว ก็จะถูกย่อยเป็นสารอาหารให้สาหร่ายข้าวเนียวดูดซึมไปใช้
โรคแมลง ได้แก่ จุลินทรีย์ในธรรมชาติชนิดต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรคในลูกน้ำยุง ทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา โปโตซัว และไมโครพลาสมา วิธีการใช้งานเหมือนกับการใช้สารเคมี จึงต้องมีการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับกำจัดลูกน้ำยุง โดยคัดเลือกจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่ดี มีประสิทธิภาพในการกำจัดลูกน้ำยุงที่เป็นพาหะนำโรค และมีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีบางชนิดที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับกำจัดลูกน้ำยุง เช่น แบคทีเรียบีทีไอ หรือ บาซิลลัส ทูรินจิเอนซิส (Bacillus thuringiensis) และหลายชนิดอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวอีกว่า การใช้ชีววิธีควบคุมยุงพาหะนำโรคสามารถช่วยลดการใช้สารเคมีได้เป็นอย่างดี และเป็นวิธีที่ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่เลือกใช้มากที่สุด ซึ่งการเลือกใช้วิธีนี้ให้ได้ผล รัฐบาลต้องสนับสนุน หลายฝ่ายจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ต้องได้รับการยอมรับจากชุมชน และต้องให้ความรู้แก่ชาวบ้านถึงผลดีที่เกิดขึ้นจากการควบคุมยุงด้วยชีววิธี รวมทั้งส่งเสริมให้ร่วมกันอนุรักษ์ชีวินทรีย์ในธรรมชาติเพื่อให้มีความชุกชุมอยู่เสมอและเกิดความสมดุลในระบบนิเวศ
รู้จักชีวินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุงพาหะนำโรคหลายชนิดแล้ว ใครที่สนใจอาจลองนำไปใช้กันได้เลย แม้อาจจะไม่ช่วยให้ยุงร้ายที่เป็นมหันตภัยใกล้ตัวหมดไปจากรอบตัวเราได้ แต่ก็สามารถช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคที่มากับยุงได้อย่างปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดสารเคมีตกค้างในธรรมชาติ และไม่แน่ว่าโรคระบาดที่มียุงเป็นพาหะอาจกลายเป็นแค่เรื่องในอดีตสำหรับประเทศไทยก็ได้ หากทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันกำจัดยุงด้วยชีววิธี
ดร.เลาจนา เชาวนาดิศัย
ประเทศไทยมีนโยบายปล่อยปลากำจัดลูกน้ำยุงตั้งแต่ปี 2522 แม้จะไม่สามารถกำจัดยุงให้หมดไปได้ แต่ช่วยยับยั้งการแพร่กระจายโรคระบาดจากยุงได้ และเป็นชีววิธีที่ควรรักษาไว้
ปลาหางนกยูงสีสันสวยงามช่วยกินลูกน้ำยุงได้เช่นเดียวกับปลาหางนกยูงในแหล่งน้ำทั่วไป
แมลงดาสวน ชีวินทรีย์ในธรรมชาติช่วยกำจัดลูกน้ำยุงได้
มวนแมงป่องน้ำ ตัวนี้ก็เป็นศัตรูธรรมชาติของยุง
มวนกรรเชียง แหล่งเพาะพันธุ์อยู่ในที่เดียวกับยุงลาย ช่วยกำจัดลูกน้ำยุงร้าย
ตัวโม่งแมลงปอบ้าน กินลูกน้ำยุงเป็นอาหาร
ลูกน้ำยุงยักษ์ ใช้ยุงกำจัดยุงด้วยกันเอง
ไส้เดือนฝอย ชอนไชเข้าทำลายลูกน้ำยุง
เม็ดแมงลัก หนึ่งในชีวินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุง
แบคทีเรียในรูปแบบผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุงที่มีจำหน่ายในประเทศต่างๆ
ยากันยุงก็ใช้ไม่ได้ผล ฉีดพ่นสารเคมีก็แล้ว กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงไปก็มาก แต่สารพัดโรคร้ายที่มาจากยุงก็ยังแพร่กระจายไม่หยุดหย่อน และหลายคนพยายามคิดหาวิธีกำจัดให้ยุงหมดไปจากโลกนี้ แต่ทำยังไงก็ไม่เป็นผลสักที ลองมาดูสารพัดวิธีควบคุมยุงด้วยชีวินทรีย์ แม้ไม่ทำให้ยุงสูญพันธุ์ไป แต่ช่วยตัดวงจรแพร่กระจายโรคระบาดโรคร้ายได้ผลแบบไม่ต้องพึ่งพายาฆ่าแมลง
ในระหว่างการสัมมนาเรื่อง "ยุงมหันตภัยร้ายใกล้ตัวควบคุมได้ด้วยชีววิธี" ที่จัดโดยศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ในงานการนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2552 ที่เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ เมื่อปลายเดือน ส.ค.52 ที่ผ่านมา นายบุญเสริม อ่วมทอง นักวิชาการสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน อย่างไรก็ไม่มีทางกำจัดยุงให้หมดไปได้ ฉะนั้นจึงต้องหาวิธีที่ทำให้ยุงอยู่ร่วมกับเราได้โดยไม่ก่อปัญหา และการควบคุมยุงโดยชีววิธีเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผล
ทางด้าน ศ.ดร.ธีรภาพ เจริญวิริยะภาพ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยว่า ก่อนที่เราจะหาวิธีกำจัดยุงที่เป็นพาหะนำโรค ก็ต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับยุงเหล่านั้นก่อน ตั้งแต่ธรรมชาติของยุงไปจนถึงพันธุกรรมยุง ซึ่งยุงในประเทศไทยมีมากกว่า 400 ชนิด จำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ยุงลาย ยุงก้นป่อง ยุงรำคาญ และยุงยักษ์ แต่มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่เป็นพาหะนำโรค โดยยุงลายเป็นพาหะโรคไข้เลือดออกและชิคุนกุนยา ยุงก้นปล่องเป็นพาหะโรคมาลาเลีย ยุงรำคาญเป็นพาหะโรคเท้าช้างและไข้สมองอักเสบ ส่วนยุงยักษ์จัดว่าเป็นยุงที่มีประโยชน์ เพราะตัวอ่อนช่วยกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ ส่วนตัวเต็มวัยก็ไม่กัดคน
เมื่อพูดถึงการควบคุมยุงด้วยชีวินทรีย์ หลายคนนึกถึงปลาหางนกยูง และแบคทีเรียบีทีไอ ทว่ายังมีชีวินทรีย์อีกหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ควบคุมยุงพาหะของโรคได้ และบางชนิดอาจเป็นสิ่งที่หลายคนนึกไม่ถึงมาก่อน
ดร.เลาจนา เชาวนาดิศัย นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบายว่าชีวินทรีย์สำหรับใช้กำจัดหรือควบคุมยุงแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่ 1) ตัวห้ำ 2) ตัวเบียน 3) โรคแมลง
ตัวห้ำ ได้แก่ ปลาชนิดต่างๆ ที่กินลูกน้ำยุงเป็นอาหาร เช่น ปลาหางนกยูง ปลากัด ปลาสอด ปลาหัวตะกั่ว, แมลงในน้ำ เช่น แมลงดาสวน มวนแมงป่องน้ำ มีแหล่งเพาะพันธุ์อยู่ในหนอง บึง หรือสระบัว, มวนวนยักษ์ แหล่งเพาะพันธุ์อยู่ในน้ำใส เช่นเดียวกับยุงก้นปล่อง, มวนกรรเชียง แหล่งเพาะพันธุ์อยู่ในที่เดียวกับยุงลาย รวมทั้งตัวอ่อนของแมลงปอบ้าน แมลงปอน้ำตก แมลงปอเข็ม โดยเฉพาะลูกน้ำยุงลายยักษ์ ซึ่งเพาะพันธุ์ในแหล่งน้ำที่เดียวกับยุงลาย และกินลูกน้ำยุงลายเป็นอาหาร จึงช่วยกำจัดลูกน้ำยุงลายได้เป็นอย่างดี
ตัวเบียน ได้แก่ ไส้เดือนฝอย จะชอนไชเข้าไปในตัวลูกน้ำยุงลายและทำให้ตายได้, พืชบางชนิด เช่น เม็ดแมงลัก ซึ่งเมื่อโดนน้ำแล้วจะพองตัว เป็นเส้นใยเหนียว เมื่อลูกน้ำยุงกินเข้าไปจะติดอยู่ที่ปาก และทำให้ลูกน้ำยุงไม่สามารถขึ้นมาหายใจบริเวณผิวน้ำได้ และตายในที่สุด, สาหร่ายข้าวเหนียว ซึ่งมีกระเปาะเล็กๆ เมื่อลูกน้ำยุงถูกโบกพัดเข้ามาอยู่ในกระเปาะดังกล่าว ก็จะถูกย่อยเป็นสารอาหารให้สาหร่ายข้าวเนียวดูดซึมไปใช้
โรคแมลง ได้แก่ จุลินทรีย์ในธรรมชาติชนิดต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรคในลูกน้ำยุง ทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา โปโตซัว และไมโครพลาสมา วิธีการใช้งานเหมือนกับการใช้สารเคมี จึงต้องมีการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับกำจัดลูกน้ำยุง โดยคัดเลือกจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่ดี มีประสิทธิภาพในการกำจัดลูกน้ำยุงที่เป็นพาหะนำโรค และมีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีบางชนิดที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับกำจัดลูกน้ำยุง เช่น แบคทีเรียบีทีไอ หรือ บาซิลลัส ทูรินจิเอนซิส (Bacillus thuringiensis) และหลายชนิดอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวอีกว่า การใช้ชีววิธีควบคุมยุงพาหะนำโรคสามารถช่วยลดการใช้สารเคมีได้เป็นอย่างดี และเป็นวิธีที่ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่เลือกใช้มากที่สุด ซึ่งการเลือกใช้วิธีนี้ให้ได้ผล รัฐบาลต้องสนับสนุน หลายฝ่ายจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ต้องได้รับการยอมรับจากชุมชน และต้องให้ความรู้แก่ชาวบ้านถึงผลดีที่เกิดขึ้นจากการควบคุมยุงด้วยชีววิธี รวมทั้งส่งเสริมให้ร่วมกันอนุรักษ์ชีวินทรีย์ในธรรมชาติเพื่อให้มีความชุกชุมอยู่เสมอและเกิดความสมดุลในระบบนิเวศ
รู้จักชีวินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุงพาหะนำโรคหลายชนิดแล้ว ใครที่สนใจอาจลองนำไปใช้กันได้เลย แม้อาจจะไม่ช่วยให้ยุงร้ายที่เป็นมหันตภัยใกล้ตัวหมดไปจากรอบตัวเราได้ แต่ก็สามารถช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคที่มากับยุงได้อย่างปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดสารเคมีตกค้างในธรรมชาติ และไม่แน่ว่าโรคระบาดที่มียุงเป็นพาหะอาจกลายเป็นแค่เรื่องในอดีตสำหรับประเทศไทยก็ได้ หากทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันกำจัดยุงด้วยชีววิธี