วันที่ 2009-09-22 12:08:46
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
วรรณรัตน์ รับไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากเกินไป หวั่นกระทบความมั่นคงทางพลังงานระยะยาว เร่งเดินหน้าศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หวังแก้ปัญหา กระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิง
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า โครงการศึกษาการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในอนาคตอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าในระยะยาว หรือ พีดีพี 2007 เพื่อเป็นการกระจายเชื้อเพลิง เพราะต้องยอมรับว่าปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากเกินไปถึงร้อยละ 70 จนเกิดปัญหาการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ เช่นที่เกิดขึ้นเมื่อช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่แหล่งก๊าซเจดีเอ, ยาดานา, อาทิตย์ และบงกช ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ต้องเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงอื่นแทน และมีต้นทุนค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ตามแผนศึกษาการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ปัจจุบัน กฟผ.ได้ว่าจ้างบริษัท เบิร์นส์ แอนด์ โลว์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐ มาศึกษาถึงความเป็นไปได้ ทั้งเรื่องพื้นที่ กำลังผลิต และอื่นๆ โดยผลการศึกษาจะเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม 2553 พร้อมยืนยันการศึกษาเรื่องนี้ไม่ได้ล่าช้ากว่าแผนตามที่เป็นข่าว
นอกจากนี้ ในแผนผลิตไฟฟ้ายังมีการศึกษาเรื่องการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังงานถ่านหินสะอาด ซึ่งมีเป้าหมายลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากร้อยละ 70 เหลือร้อยละ 56 ในปี 2564 และเพิ่มการใช้พลังงานถ่านหินนำเข้าจากร้อยละ 8.2 เป็นร้อยละ 15 ลดการใช้ลิกไนต์จากร้อยละ 12.4 เป็นร้อยละ 5.9 และพลังงานน้ำจากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 11.7
อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยได้หรือไม่ ต้องคำนึงถึง 3 ประเด็นหลัก คือ ความปลอดภัย ความคุ้มค่า และการยอมรับของประชาชน ซึ่งหากจะก่อสร้างต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยขณะนี้กระทรวงพลังงานได้ร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องจัดเตรียมแผนรองรับไว้แล้ว เช่น การศึกษาข้อกฎหมาย และการจัดเตรียมบุคลากร
สำหรับกรณี กฟผ. ใช้น้ำมันเตาผลิตไฟฟ้าทดแทนก๊าซธรรมชาติ หลัง ปตท. มีปัญหาขัดข้องฉุกเฉิน ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา นพ.วรรณรัตน์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่า ใครจะเป็นผู้จ่ายภาระที่เพิ่มขึ้น จากกรณีดังกล่าวที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 700 ล้านบาท โดยจะต้องไปศึกษาข้อกฎหมาย และสัญญาทุกด้านให้เหมาะสม ซึ่งยังบอกไม่ได้ว่าจะไม่ผลักภาระต้นทุนส่วนนี้เข้าไปอยู่ในค่าไฟฟ้าอัตโนมัติผันแปร หรือ ค่าเอฟที ที่ประชาชนเป็นผู้จ่ายหรือไม่
ส่วนกรณีการแต่งตั้ง นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานบอร์ด ปตท. เป็นผู้สอบสวนผลกระทบที่เกิดขึ้น ยืนยันว่า การแต่งตั้งเป็นไปตามขั้นตอนของทางราชการ โดยพิจารณาถึงความเป็นธรรม และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กฟผ. ออกมาระบุว่า ได้ทำหนังสือไม่เห็นด้วยกันการแต่งตั้งดังกล่าว เพราะ ปตท. เป็นคู่สัญญา และเป็นผู้ขายก๊าซให้กับ กฟผ.
ที่มา : เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล (www.thaigov.go.th) (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
(ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)
วรรณรัตน์ รับไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากเกินไป หวั่นกระทบความมั่นคงทางพลังงานระยะยาว เร่งเดินหน้าศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หวังแก้ปัญหา กระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิง
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า โครงการศึกษาการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในอนาคตอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าในระยะยาว หรือ พีดีพี 2007 เพื่อเป็นการกระจายเชื้อเพลิง เพราะต้องยอมรับว่าปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากเกินไปถึงร้อยละ 70 จนเกิดปัญหาการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ เช่นที่เกิดขึ้นเมื่อช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่แหล่งก๊าซเจดีเอ, ยาดานา, อาทิตย์ และบงกช ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ต้องเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงอื่นแทน และมีต้นทุนค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ตามแผนศึกษาการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ปัจจุบัน กฟผ.ได้ว่าจ้างบริษัท เบิร์นส์ แอนด์ โลว์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐ มาศึกษาถึงความเป็นไปได้ ทั้งเรื่องพื้นที่ กำลังผลิต และอื่นๆ โดยผลการศึกษาจะเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม 2553 พร้อมยืนยันการศึกษาเรื่องนี้ไม่ได้ล่าช้ากว่าแผนตามที่เป็นข่าว
นอกจากนี้ ในแผนผลิตไฟฟ้ายังมีการศึกษาเรื่องการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังงานถ่านหินสะอาด ซึ่งมีเป้าหมายลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากร้อยละ 70 เหลือร้อยละ 56 ในปี 2564 และเพิ่มการใช้พลังงานถ่านหินนำเข้าจากร้อยละ 8.2 เป็นร้อยละ 15 ลดการใช้ลิกไนต์จากร้อยละ 12.4 เป็นร้อยละ 5.9 และพลังงานน้ำจากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 11.7
อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยได้หรือไม่ ต้องคำนึงถึง 3 ประเด็นหลัก คือ ความปลอดภัย ความคุ้มค่า และการยอมรับของประชาชน ซึ่งหากจะก่อสร้างต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยขณะนี้กระทรวงพลังงานได้ร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องจัดเตรียมแผนรองรับไว้แล้ว เช่น การศึกษาข้อกฎหมาย และการจัดเตรียมบุคลากร
สำหรับกรณี กฟผ. ใช้น้ำมันเตาผลิตไฟฟ้าทดแทนก๊าซธรรมชาติ หลัง ปตท. มีปัญหาขัดข้องฉุกเฉิน ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา นพ.วรรณรัตน์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่า ใครจะเป็นผู้จ่ายภาระที่เพิ่มขึ้น จากกรณีดังกล่าวที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 700 ล้านบาท โดยจะต้องไปศึกษาข้อกฎหมาย และสัญญาทุกด้านให้เหมาะสม ซึ่งยังบอกไม่ได้ว่าจะไม่ผลักภาระต้นทุนส่วนนี้เข้าไปอยู่ในค่าไฟฟ้าอัตโนมัติผันแปร หรือ ค่าเอฟที ที่ประชาชนเป็นผู้จ่ายหรือไม่
ส่วนกรณีการแต่งตั้ง นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานบอร์ด ปตท. เป็นผู้สอบสวนผลกระทบที่เกิดขึ้น ยืนยันว่า การแต่งตั้งเป็นไปตามขั้นตอนของทางราชการ โดยพิจารณาถึงความเป็นธรรม และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กฟผ. ออกมาระบุว่า ได้ทำหนังสือไม่เห็นด้วยกันการแต่งตั้งดังกล่าว เพราะ ปตท. เป็นคู่สัญญา และเป็นผู้ขายก๊าซให้กับ กฟผ.
ที่มา : เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล (www.thaigov.go.th) (ข่าวอุตสาหกรรม Industrial News)