โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 กันยายน 2552 09:55 น.
อีกบรรยากาศการเรียนในสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ ที่ดูสบายๆ แต่จริงจังในเนื้อหา (ภาพจากสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์)
ดริศ สามารถ (ซ้าย) และ อภิมุข วัชรางกูร (ขวา)
เกียรติศักดิ์ เทพสุริยะ
ดร.บุรินทร์ จำกัดภัย
ในนิทานพื้นบ้านเจ้าชายมักมี "ฤาษี" ผู้อาศัยอยู่ในป่าลึกเป็นพระอาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชาการต่อสู้และอิทธิฤทธิ์ เพื่อปูทางสู่การเป็นเจ้าผู้ครองนคร แต่สำหรับ "สำนักเรียนท่าโพธิ์" แห่งนี้ไม่ได้สอนใครให้เป็นเจ้าเมือง หากแต่เป็นแหล่งแสวงหาความรู้ด้าน "ฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยา" ที่มีอยู่จริงในเมืองสองแคว
สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์สำหรับฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยา หรือ TPTP คือสถาบันที่มุ่งปั้นเยาวชนไทย ให้เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีที่มีศักยภาพทัดเทียมนานาชาติ ชื่อสถาบันตั้งชื่อตาม ตำบลท่าโพธิ์ อันเป็นตำแหน่งที่ตั้งของสถาบันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) จ.พิษณุโลก
สำนักเรียนแห่งนี้มี "หัวหน้าครู" (Headmaster) นามว่า ดร.บุรินทร์ จำกัดภัย อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และเขายังได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2551 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
ตำนานของสถาบันแห่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ ดร.บุรินทร์ ยังเป็นนักศึกษาฟิสิกส์ชั้นปีที่ 3 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเขาและเพื่อนๆ อีก 4-5 คนจากหลายคณะ รวมตัวเป็นกลุ่ม "Free Energy" เพื่อต่อต้านระบบรับน้องแบบกดขี่ และภายในกลุ่มยังได้ตั้ง "ฟอรัมฟิสิกส์ทฤษฎีระดับนักศึกษา" (Student Forum for Theoretical Physics: SFTP) ขึ้น เพื่อร่วมกันศึกษาฟิสิกส์ทฤษฎีตามความต้องการของกลุ่ม โดยจัดสัมมนากันเองขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากขณะนั้นการศึกษาในระบบเน้นฟิสิกส์เชิงทดลองมากกว่า สมาชิกภายในกลุ่มมีทั้งนักศึกษาวิศวกรรม ฟิสิกส์ และศึกษาศาสตร์
เมื่อแต่ละคนเรียนจบก็แยกย้ายกันไป โดย ดร.บุรินทร์ได้งานเป็นอาจารย์สอนฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ในปี 2539 แล้วตั้ง "กลุ่มฟิสิกส์ทฤษฎีท่าโพธิ์" (The Tah Poe Group of Theoretical Physics; TPTP) ขึ้น และรวมฟอรัมฟิสิกส์ทฤษฎีระดับนักศึกษาเข้าในกลุ่มใหม่นี้
"เราจะทำให้โรงเรียนฟิสิกส์ที่นี่ เป็นโรงเรียนฟิสิกส์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ" เป็นส่วนหนึ่งของประกาศความยาว 10 หน้ากระดาษ A4 ที่ทางกลุ่มประกาศขึ้น ตั้งแต่ตั้งกลุ่มฟิสิกส์ทฤษฎีขึ้น และ ดร.บุรินทร์ได้เล่าต่อทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า จากนั้นเขาได้รับทุนไปศึกษาฟิสิกส์อีก 5 ปีที่สหราชอาณาจักร
ระหว่างที่ไปศึกษาต่อ การทำงานของกลุ่มฟิสิกส์ท่าโพธิ์ยังคงเดินหน้าต่อไป โดยอาศัยการติดต่อ-สื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ต และจัดบรรยายพิเศษเมื่อเขาเดินทางกลับมาเมืองไทย
ทว่าก็มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในกลุ่มฟิสิกส์ท่าโพธิ์อยู่หลายครั้ง และในปี 2546 ได้เกิด "สำนักเรียนท่าโพธิ์" ขึ้นภายใต้โครงการกิจกรรมวิชาการ กลุ่มฐานของเครือข่ายฟิสิกส์ทฤษฎีท่าโพธิ์ ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งต่อมาในปี 2549 ได้ยกระดับเป็นสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์สำหรับฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยา และมี 2 หน่วยวิจัยอยู่ภายใต้สถาบันคือ หน่วยวิจัยฟิสิกส์รากฐานและจักรวาลวิทยา และหน่วยวิจัยทฤษฎีสสารควบแน่น และสถาบันยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่เป็นทางการ แต่มีรูปแบบการทำงานที่ชัดเจน
"การสอนของเราเหมือนอาศรมฤาษี เป็น "สถาบัน" เพื่อเน้นการทำวิจัย และเป็น "สำนักเรียน" เพื่อเป็นสภาการศึกษาที่ให้คุณวุฒิเองได้อย่างไม่เป็นทางการ ปริญญานิพนธ์ของสถาบันถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดและต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูงให้กับวงการฟิสิกส์ทฤษฎี รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการทำวิจัยระดับนานาชาติ เราหวังผลิตผู้นำทางวิชาการสู่สังคมไทย" บุรินทร์กล่าว" ดร.บุรินทร์กล่าว
หันมาดูทางด้านศิษย์ของสำนักกันบ้าง อย่าง ดริศ สามารถ นักศึกษาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งกำลังจะไปทำวิจัยที่เยอรมนี เป็นหนึ่งในอดีตลูกศิษย์ของสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ขณะเรียนปริญญาโทฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร มีผลงานวิจัยภายใต้การดูแลของ ดร.บุรินทร์ ซึ่งตีพิมพ์ลงวารสารฟิสิคัลรีวิว ดี (Physical Review D) วารสารสำหรับทฤษฎีสัมพัทธภาพ ฟิสิกส์อนุภาคและจักรวาลวิทยา ผลงานครั้งนั้นเป็นผลงานวิชาการด้านฟิสิกส์ทฤษฎีของกลุ่มที่ไม่ได้ร่วมกับต่างประเทศ และทำในนามสำนักท่าโพธิ์
ตอนเรียน ป.โท ดร.บุรินทร์เป็นที่ปรึกษาให้ดริศ ตอนนั้นเขาศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงควอนตัมแบบลูป ซึ่งเป็นจักรวาลวิทยาที่ตั้งสมมุติฐานว่า กาล-อวกาศในระดับเล็กๆ เป็นแบบไม่ต่อเนื่อง ทำให้มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ ขณะนี้เอกภพกำลังขยายตัวด้วยความเร่ง และมีแบบจำลองสำหรับอธิบายที่เรียกว่า "พลังงานมืดแบบปีศาจ" (Phantom Dark Energy)
"ถ้าพลังงานมืดนี้เป็นจริง ในอีก 5,000 ล้านปี ซึ่งเป็นปลายอายุขัยเอกภพนั้น สรรพสิ่งในเอกภพจะถูกฉีกขาด เนื่องจากความเร่งของพลังงานมืด แต่ถ้าศึกษาโดยใช้ผลของจักรวาลวิทยาเชิงควอนตันแบบลูป จะพบว่าที่ปลายอายุขัยของเอกภพไม่พบการฉีกขาด ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รับการอ้างอิงจากวารสารนานาชาติไม่น้อยกว่า 30 ครั้ง" ดริศอธิบายกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV- ผู้จัดการออนไลน์ ถึงผลงานที่ทำระหว่างเป็นลูกศิษฐ์สำนักท่าโพธิ์ และผลงานนี้ยังทำให้เขาได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ขณะที่ อภิมุข วัชรางกูร นักศึกษาฟิสิกส์ ปี 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นลูกศิษย์จากต่างมหาวิทยาลัย ที่เข้าร่วมเป็นศิษย์ของสำนักเรียนท่าโพธิ์ ตั้งแต่ปี 1 จากการชักชวนของ อ.ชาญกิจ คันฉ่อง อาจารย์ฟิสิกส์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เป็น สมทบสมาชิก ของสำนัก โดยอภิมุได้เข้าฟังบรรยายพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ ครั้งแรกที่ฟังเขาไม่เข้าใจเท่าไหร่นัก และถามตัวเองว่าทำไม จากนั้นจึงผลักดันตัวเองให้แสวงหาความรู้ หลังๆ เขาจึงเข้าใจการบรรยายได้มากขึ้น ซึ่งเขายอมรับว่า ถ้าไม่มีสำนักเรียนท่าโพธิ์เขาคงรู้น้อยกว่านี้
ไม่เพียงแค่นักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยที่ดั้นด้นไปยังสำนักเรียนท่าโพธิ์ แม้แต่นักเรียน ม.ปลายสนใจกับการศึกษาฟิสิกส์ทฤษฎีในรูปแบบอาศรมฤาษีนี้ เกียรติศักดิ์ เทพสุริยะ คือตัวอย่างของนักเรียน ม.ปลายที่ต่อสายตรงถึงสำนัก แล้วกลายเป็นหนึ่งในคณะทำงาน โดยหน้าที่หลักๆ คือการเขียนเว็บไซต์เผยแพร่ข้อมูลของสำนักเรียนท่าโพธิ์
เขาบอกกับทีมงานได้ค้นเจอข้อมูลของสำนักเรียนท่าโพธิ์ตั้งแต่ ม.5 เมื่อครั้งที่ยังเรียนอยู่โรงเรียนหอวัง เมื่อปิดเทอมเขาจะเดินทางไปทำงานพิเศษให้กับสำนัก ตอนนี้เขาเรียนจบฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว และทำงานให้กับสำนักเรียนท่าโพธิ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปลายปีนี้เขาจะไปศึกษาต่อปริญญาโท-เอกทางด้านจักรวาลวิทยาที่มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร
นอกจากความพยายามยกระดับการเรียนการสอนฟิสิกส์ในระดับมหาวิทยาลัยแล้ว ทางสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ ยังเริ่มโครงการ สถานีฟิสิกส์ศึกษา (TPTP Physics Station) ซึ่งเป็นโครงการที่มีเป้าหมาย เพื่อเป็นการถ่ายทอดพื้นฐาน ความรู้ ความเข้าใจ ในแก่นวิชาฟิสิกส์ และปลูกฝังจิตวิญญาณของความเป็นนักฟิสิกส์ให้กับครูและนักเรียนมัธยมในโรงเรียนที่ขาดโอกาส
สำหรับรูปแบบการถ่ายทอดความรู้นั้น ไม่มุ่งเน้นการสอนแนวติวหรือกวดวิชา และหวังให้โรงเรียนเครือข่ายของโครงการสถานีฟิสิกส์ศึกษา เป็นแกนนำในถ่ายทอด ส่งเสริม และเพิ่มพูนความรู้แก่นของวิชาฟิสิกส์ให้แก่นักเรียนและครูฟิสิกส์ของโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงสำนักฯ ในอนาคต
ทั้งนี้ โครงการสถานีฟิสิกส์ศึกษาจะคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเพียงปีละ 1 โรงเรียน และคัดเลือกนักเรียนจากระดับชั้น ม.4-5 จำนวน 20-25 คน และครูอีก 3-5 คนเข้าโครงการ จากนั้นจัดโปรแกรมการสอนและกิจกรรมทางวิชาการฟิสิกส์ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรท่าโพธิ์สาขาฟิสิกส์ขั้นต้น แล้วจัดสอนในโรงเรียนที่ได้รับเลือกให้เป็นสถานีฟิสิกส์ตามโปรแกรมอย่างต่อเนื่องตลอดปีรวม 12 ครั้งๆ 2-3 วัน ทั้งนี้การทำงานเป็นลักษณะอาสาสมัครและคณะทำงานต้องออกค่าใช้จ่ายเอง
ในปีนี้เองที่เราได้เริ่มโครงการสถานีฟิสิกส์ศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ดร.บุรินทร์เล่าและบอกว่าโครงการนี้มี ดร.นัฏพงษ์ ยงรัมย์ นักทฤษฎีสนามควอนตัมจากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นผู้จัดการโครงการ พร้อมด้วยผู้ร่วมโครงการจากกลุ่มวิจัยฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์จากภาควิชาเดียวกันเข้าร่วม และสถานีฟิสิกส์ที่หนึ่งซึ่งได้รับการจึดตั้งขึ้นในปีนี้คือ โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม อ. บางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
ดร.บุรินทร์กล่าวว่าการสร้างระบบการศึกษาแบบสำนักท่าโพธิ์นี้ ไม่ใช่การเจียระไนเพชร แต่เป็นการทำเครื่องปั้นดินเผา เนื่องจากลูกศิษย์ของท่าโพธิ์เป็นเด็กต่างจังหวัดที่มีพื้นฐาน ม.ปลายที่อ่อนแอมาก ดังนั้นสิ่งที่ทำในระบบการศึกษาของสำนักท่าโพธิ์จึงเป็นเหมือนการปั้นดินให้เป็นเครื่องปั้นดินเผา เป็นการพัฒนาเด็กให้ทำประโยชน์ต่อสังคมฟิสิกส์และประเทศ
คงไม่สำคัญว่าสถาบันแห่งนี้จะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการหรือไม่ แต่รูปแบบการทำงานที่ชัดเจนมาตั้งแต่ว่าเป็นสถาบันเพื่อการศึกษาฟิสิกส์ทฤษฎี จึงทำให้อาศรมฤาษีแห่งนี้ยังคงตัวตนต่อไป ตราบเท่าที่ยังคงมีผู้ร่วมสานอุดมการณ์
***********
แถมท้าย....
ระบบภาคการศึกษาของสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ แบ่งเป็นเทอมต่างๆ ที่ตั้งชื่อตามผู้มีคุโณปการต่อวงการฟิสิกส์ ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดวิชานั้นๆ ได้แก่
"เทอมนิวตัน" มีการเรียนการสอนวิชา พลศาสตร์
"เทอมแมกซ์เวลล์" มีการเรียนการสอนวิชา พลศาสตร์ไฟฟ้า
"เทอมพลังค์" มีการเรียนการสอนวิชา ทฤษฎีควอนตัม
"เทอมโบลต์ชมันน์" มีการเรียนการสอนวิชา ฟิสิกส์เชิงความร้อน
เทอมไอน์สไตน์ มีการเรียนการสอนวิชา ทฤษฎีสัมพัทธภาพ
สำหรับเทอมนิวตันเป็นภาคบังคับสำหรับนักศึกษาอาคันตุกะที่เข้าศึกษาในระดับวุฒิบัตรท่าโพธิ์ ส่วนคณาจารย์ของสำนักจะเรียกว่า ทาพาเอียนมาสเตอร์ ส่วนนักศึกษาจะแบ่งเป็น นิศิษย์วิจัย ระดับต่างๆ และ นักเรียนเตรียมทฤษฎี โดยนักเรียนเตรียมทฤษฎีจะต้อง สอบข้ามฟาก ซึ่งเป็นมาตรฐานการสอบของสำนักก่อนปรับนักเรียนเตรียมฟิสิกส์ขึ้นเป็นนิศิษย์วิจัยได้
อีกบรรยากาศการเรียนในสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ ที่ดูสบายๆ แต่จริงจังในเนื้อหา (ภาพจากสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์)
ดริศ สามารถ (ซ้าย) และ อภิมุข วัชรางกูร (ขวา)
เกียรติศักดิ์ เทพสุริยะ
ดร.บุรินทร์ จำกัดภัย
ในนิทานพื้นบ้านเจ้าชายมักมี "ฤาษี" ผู้อาศัยอยู่ในป่าลึกเป็นพระอาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชาการต่อสู้และอิทธิฤทธิ์ เพื่อปูทางสู่การเป็นเจ้าผู้ครองนคร แต่สำหรับ "สำนักเรียนท่าโพธิ์" แห่งนี้ไม่ได้สอนใครให้เป็นเจ้าเมือง หากแต่เป็นแหล่งแสวงหาความรู้ด้าน "ฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยา" ที่มีอยู่จริงในเมืองสองแคว
สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์สำหรับฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยา หรือ TPTP คือสถาบันที่มุ่งปั้นเยาวชนไทย ให้เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีที่มีศักยภาพทัดเทียมนานาชาติ ชื่อสถาบันตั้งชื่อตาม ตำบลท่าโพธิ์ อันเป็นตำแหน่งที่ตั้งของสถาบันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) จ.พิษณุโลก
สำนักเรียนแห่งนี้มี "หัวหน้าครู" (Headmaster) นามว่า ดร.บุรินทร์ จำกัดภัย อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และเขายังได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2551 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
ตำนานของสถาบันแห่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ ดร.บุรินทร์ ยังเป็นนักศึกษาฟิสิกส์ชั้นปีที่ 3 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเขาและเพื่อนๆ อีก 4-5 คนจากหลายคณะ รวมตัวเป็นกลุ่ม "Free Energy" เพื่อต่อต้านระบบรับน้องแบบกดขี่ และภายในกลุ่มยังได้ตั้ง "ฟอรัมฟิสิกส์ทฤษฎีระดับนักศึกษา" (Student Forum for Theoretical Physics: SFTP) ขึ้น เพื่อร่วมกันศึกษาฟิสิกส์ทฤษฎีตามความต้องการของกลุ่ม โดยจัดสัมมนากันเองขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากขณะนั้นการศึกษาในระบบเน้นฟิสิกส์เชิงทดลองมากกว่า สมาชิกภายในกลุ่มมีทั้งนักศึกษาวิศวกรรม ฟิสิกส์ และศึกษาศาสตร์
เมื่อแต่ละคนเรียนจบก็แยกย้ายกันไป โดย ดร.บุรินทร์ได้งานเป็นอาจารย์สอนฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ในปี 2539 แล้วตั้ง "กลุ่มฟิสิกส์ทฤษฎีท่าโพธิ์" (The Tah Poe Group of Theoretical Physics; TPTP) ขึ้น และรวมฟอรัมฟิสิกส์ทฤษฎีระดับนักศึกษาเข้าในกลุ่มใหม่นี้
"เราจะทำให้โรงเรียนฟิสิกส์ที่นี่ เป็นโรงเรียนฟิสิกส์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ" เป็นส่วนหนึ่งของประกาศความยาว 10 หน้ากระดาษ A4 ที่ทางกลุ่มประกาศขึ้น ตั้งแต่ตั้งกลุ่มฟิสิกส์ทฤษฎีขึ้น และ ดร.บุรินทร์ได้เล่าต่อทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า จากนั้นเขาได้รับทุนไปศึกษาฟิสิกส์อีก 5 ปีที่สหราชอาณาจักร
ระหว่างที่ไปศึกษาต่อ การทำงานของกลุ่มฟิสิกส์ท่าโพธิ์ยังคงเดินหน้าต่อไป โดยอาศัยการติดต่อ-สื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ต และจัดบรรยายพิเศษเมื่อเขาเดินทางกลับมาเมืองไทย
ทว่าก็มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในกลุ่มฟิสิกส์ท่าโพธิ์อยู่หลายครั้ง และในปี 2546 ได้เกิด "สำนักเรียนท่าโพธิ์" ขึ้นภายใต้โครงการกิจกรรมวิชาการ กลุ่มฐานของเครือข่ายฟิสิกส์ทฤษฎีท่าโพธิ์ ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งต่อมาในปี 2549 ได้ยกระดับเป็นสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์สำหรับฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยา และมี 2 หน่วยวิจัยอยู่ภายใต้สถาบันคือ หน่วยวิจัยฟิสิกส์รากฐานและจักรวาลวิทยา และหน่วยวิจัยทฤษฎีสสารควบแน่น และสถาบันยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่เป็นทางการ แต่มีรูปแบบการทำงานที่ชัดเจน
"การสอนของเราเหมือนอาศรมฤาษี เป็น "สถาบัน" เพื่อเน้นการทำวิจัย และเป็น "สำนักเรียน" เพื่อเป็นสภาการศึกษาที่ให้คุณวุฒิเองได้อย่างไม่เป็นทางการ ปริญญานิพนธ์ของสถาบันถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดและต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูงให้กับวงการฟิสิกส์ทฤษฎี รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการทำวิจัยระดับนานาชาติ เราหวังผลิตผู้นำทางวิชาการสู่สังคมไทย" บุรินทร์กล่าว" ดร.บุรินทร์กล่าว
หันมาดูทางด้านศิษย์ของสำนักกันบ้าง อย่าง ดริศ สามารถ นักศึกษาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งกำลังจะไปทำวิจัยที่เยอรมนี เป็นหนึ่งในอดีตลูกศิษย์ของสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ขณะเรียนปริญญาโทฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร มีผลงานวิจัยภายใต้การดูแลของ ดร.บุรินทร์ ซึ่งตีพิมพ์ลงวารสารฟิสิคัลรีวิว ดี (Physical Review D) วารสารสำหรับทฤษฎีสัมพัทธภาพ ฟิสิกส์อนุภาคและจักรวาลวิทยา ผลงานครั้งนั้นเป็นผลงานวิชาการด้านฟิสิกส์ทฤษฎีของกลุ่มที่ไม่ได้ร่วมกับต่างประเทศ และทำในนามสำนักท่าโพธิ์
ตอนเรียน ป.โท ดร.บุรินทร์เป็นที่ปรึกษาให้ดริศ ตอนนั้นเขาศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงควอนตัมแบบลูป ซึ่งเป็นจักรวาลวิทยาที่ตั้งสมมุติฐานว่า กาล-อวกาศในระดับเล็กๆ เป็นแบบไม่ต่อเนื่อง ทำให้มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ ขณะนี้เอกภพกำลังขยายตัวด้วยความเร่ง และมีแบบจำลองสำหรับอธิบายที่เรียกว่า "พลังงานมืดแบบปีศาจ" (Phantom Dark Energy)
"ถ้าพลังงานมืดนี้เป็นจริง ในอีก 5,000 ล้านปี ซึ่งเป็นปลายอายุขัยเอกภพนั้น สรรพสิ่งในเอกภพจะถูกฉีกขาด เนื่องจากความเร่งของพลังงานมืด แต่ถ้าศึกษาโดยใช้ผลของจักรวาลวิทยาเชิงควอนตันแบบลูป จะพบว่าที่ปลายอายุขัยของเอกภพไม่พบการฉีกขาด ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รับการอ้างอิงจากวารสารนานาชาติไม่น้อยกว่า 30 ครั้ง" ดริศอธิบายกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV- ผู้จัดการออนไลน์ ถึงผลงานที่ทำระหว่างเป็นลูกศิษฐ์สำนักท่าโพธิ์ และผลงานนี้ยังทำให้เขาได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ขณะที่ อภิมุข วัชรางกูร นักศึกษาฟิสิกส์ ปี 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นลูกศิษย์จากต่างมหาวิทยาลัย ที่เข้าร่วมเป็นศิษย์ของสำนักเรียนท่าโพธิ์ ตั้งแต่ปี 1 จากการชักชวนของ อ.ชาญกิจ คันฉ่อง อาจารย์ฟิสิกส์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เป็น สมทบสมาชิก ของสำนัก โดยอภิมุได้เข้าฟังบรรยายพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ ครั้งแรกที่ฟังเขาไม่เข้าใจเท่าไหร่นัก และถามตัวเองว่าทำไม จากนั้นจึงผลักดันตัวเองให้แสวงหาความรู้ หลังๆ เขาจึงเข้าใจการบรรยายได้มากขึ้น ซึ่งเขายอมรับว่า ถ้าไม่มีสำนักเรียนท่าโพธิ์เขาคงรู้น้อยกว่านี้
ไม่เพียงแค่นักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยที่ดั้นด้นไปยังสำนักเรียนท่าโพธิ์ แม้แต่นักเรียน ม.ปลายสนใจกับการศึกษาฟิสิกส์ทฤษฎีในรูปแบบอาศรมฤาษีนี้ เกียรติศักดิ์ เทพสุริยะ คือตัวอย่างของนักเรียน ม.ปลายที่ต่อสายตรงถึงสำนัก แล้วกลายเป็นหนึ่งในคณะทำงาน โดยหน้าที่หลักๆ คือการเขียนเว็บไซต์เผยแพร่ข้อมูลของสำนักเรียนท่าโพธิ์
เขาบอกกับทีมงานได้ค้นเจอข้อมูลของสำนักเรียนท่าโพธิ์ตั้งแต่ ม.5 เมื่อครั้งที่ยังเรียนอยู่โรงเรียนหอวัง เมื่อปิดเทอมเขาจะเดินทางไปทำงานพิเศษให้กับสำนัก ตอนนี้เขาเรียนจบฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว และทำงานให้กับสำนักเรียนท่าโพธิ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปลายปีนี้เขาจะไปศึกษาต่อปริญญาโท-เอกทางด้านจักรวาลวิทยาที่มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร
นอกจากความพยายามยกระดับการเรียนการสอนฟิสิกส์ในระดับมหาวิทยาลัยแล้ว ทางสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ ยังเริ่มโครงการ สถานีฟิสิกส์ศึกษา (TPTP Physics Station) ซึ่งเป็นโครงการที่มีเป้าหมาย เพื่อเป็นการถ่ายทอดพื้นฐาน ความรู้ ความเข้าใจ ในแก่นวิชาฟิสิกส์ และปลูกฝังจิตวิญญาณของความเป็นนักฟิสิกส์ให้กับครูและนักเรียนมัธยมในโรงเรียนที่ขาดโอกาส
สำหรับรูปแบบการถ่ายทอดความรู้นั้น ไม่มุ่งเน้นการสอนแนวติวหรือกวดวิชา และหวังให้โรงเรียนเครือข่ายของโครงการสถานีฟิสิกส์ศึกษา เป็นแกนนำในถ่ายทอด ส่งเสริม และเพิ่มพูนความรู้แก่นของวิชาฟิสิกส์ให้แก่นักเรียนและครูฟิสิกส์ของโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงสำนักฯ ในอนาคต
ทั้งนี้ โครงการสถานีฟิสิกส์ศึกษาจะคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเพียงปีละ 1 โรงเรียน และคัดเลือกนักเรียนจากระดับชั้น ม.4-5 จำนวน 20-25 คน และครูอีก 3-5 คนเข้าโครงการ จากนั้นจัดโปรแกรมการสอนและกิจกรรมทางวิชาการฟิสิกส์ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรท่าโพธิ์สาขาฟิสิกส์ขั้นต้น แล้วจัดสอนในโรงเรียนที่ได้รับเลือกให้เป็นสถานีฟิสิกส์ตามโปรแกรมอย่างต่อเนื่องตลอดปีรวม 12 ครั้งๆ 2-3 วัน ทั้งนี้การทำงานเป็นลักษณะอาสาสมัครและคณะทำงานต้องออกค่าใช้จ่ายเอง
ในปีนี้เองที่เราได้เริ่มโครงการสถานีฟิสิกส์ศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ดร.บุรินทร์เล่าและบอกว่าโครงการนี้มี ดร.นัฏพงษ์ ยงรัมย์ นักทฤษฎีสนามควอนตัมจากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นผู้จัดการโครงการ พร้อมด้วยผู้ร่วมโครงการจากกลุ่มวิจัยฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์จากภาควิชาเดียวกันเข้าร่วม และสถานีฟิสิกส์ที่หนึ่งซึ่งได้รับการจึดตั้งขึ้นในปีนี้คือ โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม อ. บางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
ดร.บุรินทร์กล่าวว่าการสร้างระบบการศึกษาแบบสำนักท่าโพธิ์นี้ ไม่ใช่การเจียระไนเพชร แต่เป็นการทำเครื่องปั้นดินเผา เนื่องจากลูกศิษย์ของท่าโพธิ์เป็นเด็กต่างจังหวัดที่มีพื้นฐาน ม.ปลายที่อ่อนแอมาก ดังนั้นสิ่งที่ทำในระบบการศึกษาของสำนักท่าโพธิ์จึงเป็นเหมือนการปั้นดินให้เป็นเครื่องปั้นดินเผา เป็นการพัฒนาเด็กให้ทำประโยชน์ต่อสังคมฟิสิกส์และประเทศ
คงไม่สำคัญว่าสถาบันแห่งนี้จะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการหรือไม่ แต่รูปแบบการทำงานที่ชัดเจนมาตั้งแต่ว่าเป็นสถาบันเพื่อการศึกษาฟิสิกส์ทฤษฎี จึงทำให้อาศรมฤาษีแห่งนี้ยังคงตัวตนต่อไป ตราบเท่าที่ยังคงมีผู้ร่วมสานอุดมการณ์
***********
แถมท้าย....
ระบบภาคการศึกษาของสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ แบ่งเป็นเทอมต่างๆ ที่ตั้งชื่อตามผู้มีคุโณปการต่อวงการฟิสิกส์ ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดวิชานั้นๆ ได้แก่
"เทอมนิวตัน" มีการเรียนการสอนวิชา พลศาสตร์
"เทอมแมกซ์เวลล์" มีการเรียนการสอนวิชา พลศาสตร์ไฟฟ้า
"เทอมพลังค์" มีการเรียนการสอนวิชา ทฤษฎีควอนตัม
"เทอมโบลต์ชมันน์" มีการเรียนการสอนวิชา ฟิสิกส์เชิงความร้อน
เทอมไอน์สไตน์ มีการเรียนการสอนวิชา ทฤษฎีสัมพัทธภาพ
สำหรับเทอมนิวตันเป็นภาคบังคับสำหรับนักศึกษาอาคันตุกะที่เข้าศึกษาในระดับวุฒิบัตรท่าโพธิ์ ส่วนคณาจารย์ของสำนักจะเรียกว่า ทาพาเอียนมาสเตอร์ ส่วนนักศึกษาจะแบ่งเป็น นิศิษย์วิจัย ระดับต่างๆ และ นักเรียนเตรียมทฤษฎี โดยนักเรียนเตรียมทฤษฎีจะต้อง สอบข้ามฟาก ซึ่งเป็นมาตรฐานการสอบของสำนักก่อนปรับนักเรียนเตรียมฟิสิกส์ขึ้นเป็นนิศิษย์วิจัยได้