โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 กันยายน 2552 15:13 น.
ข้าวต้านทานโรคใบไหม้ ผลงานวิจัยเด่นของไบโอเทคที่จะนำมาจัดแสดงในงาน ABIC 2009
เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน อีกหนึ่งผลงานวิจัยเด่นที่ไบโอเทคจะนำไปจัดแสดงในงาน ABIC 2009
ไบโอเทคจัดยิ่งใหญ่ "ABIC 2009" ครั้งแรกในไทย ยึดแนวคิดเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรเพื่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต ขนงานวิจัยเมล็ดพันธุ์พืชโชว์ในงานเพียบ ชูเมล็ดข้าวต้านทานโรคใบไหม้ ข้าวทนน้ำท่วม และนวัตกรรมการเกษตรอีกเพียบ พร้อมเชิญที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีออสซี บรรยายพิเศษเป็นไฮไลต์ภาคการประชุม
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แถลงข่าวการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร หรือ เอบิค 2009 (ABIC 2009) ภายใต้หัวข้อ เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร เพื่อสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและชีวิตที่ดีกว่า โดยมี ดร.สุจินดา โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธานการแถลงข่าว เมื่อวันที่ 17 ก.ย.52 ที่ผ่านมา ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับเลือกจากมูลนิธิด้านการประชุมนานาชาติเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร (ABIC Foundation) ประเทศแคนาดา ให้เป็นเจ้าภาพจัดงานเอบิค 2009 ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 23-25 ก.ย.52 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB)
"ภายในงานเอบิค 2009 จะประกอบด้วย การประชุมวิชาการ การแสดงโปสเตอร์ผลงานวิจัย และการจัดแสดงนิทรรศการความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ทั้งของนักวิจัยไทยและต่างประเทศ ทั้งด้านพืชและสัตว์ ที่น่าสนใจ ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าว ข้าวโพดหวาน พริก ฟักทอง แตงกวา อ้อยพลังงาน และอ้อยอาหารสัตว์ ส่วนในด้านสัตว์จะมุ่งเน้นเทคโนโลยีทางด้านสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลา เพราะปัจจุบันไม่สามารถจับจากธรรมชาติได้เพียงพอ" ศ.ดร.มรกต กล่าวกับผู้สื่อข่าวและทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์
สำหรับผลงานวิจัยเด่นของไบโอเทคที่จะนำมาจัดแสดงในงานนี้ ได้แก่ การปรับปรุงเมล็ดพันธุ์พืช เช่น เมล็ดพันธุ์ข้าวต้านทานโรคใบไหม้ ที่ขณะนี้ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรนำไปปลูกบ้างแล้วในจังหวัดชัยภูมิ, น่าน และสกลนคร และยังมีพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วมที่นำไปปลูกแล้วในจังหวัดพิจิตร, พิษณุโลก และอุตรดิตถ์
"กลุ่มเป้าหมายผู้มาร่วมงานคือนักวิชาการ เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ซึ่งหวังว่าจะมีเกษตรกรจากภูมิภาคต่างๆ ให้ความสนใจมาร่วมงานนี้กันเป็นจำนวนมาก เพราะจะได้ความรู้ด้านการเกษตรจากนักวิชาการโดยตรง อีกทั้งยังมีการจำหน่ายและแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพที่เหมาะสมแก่พื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้เกษตรกรนำไปทดลองปลูกด้วย โดยเกษตรกรที่มาร่วมงานสามารถลงทะเบียนแจ้งความจำนงได้ภายในงาน แล้วจะจัดส่งไปให้ภายหลัง" ศ.ดร.มรกต กล่าว ซึ่งขณะนี้มีนักวิชาการลงทะเบียนเข้าร่วมงานแล้วกว่า 500 คน จาก 32 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐฯ แคนาดา อังกฤษ อิสราเอล ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน อินเดีย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย รวมทั้งไทย โดยหวังว่าจะเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัย บริษัทเอกชนของไทยและต่างชาติ
สำหรับไฮไลต์ในภาคการประชุมวิชาการ จะมีการบรรยายพิเศษเรื่อง โอกาสด้านการเกษตรของไทยภายใต้วิกฤตโลก (Thai Agriculture: Opportunities Under the World Crisis) โดย ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบรรยายพิเศษเรื่องอาหารและการผลิตอาหารให้ได้ปริมาณมากและคุณภาพดี (Food, More Food, Good Food) โดย ดร.วิลเลียม เจมส์ พีค็อค (Dr. William James Peacock) ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของนายกรัฐมนตรีประเทศออสเตรเลีย
นอกจากนี้ยังมีการแสดงเทคโนโลยีการผลิตหัวพันธุ์ปทุมมาและหงส์เหินแบบปลอดเชื้อเพื่อการส่งออก ซึ่งภายในงานจะมีกิจกรรมสอนจัดดอกไม้จากดอกปทุมมาและหงส์เหินด้วยทุกวัน วันละประมาณ 3 รอบ รอบละ 20 คน รวมถึงการแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีสำหรับการเกษตรที่น่าสนใจอีกหลายเรื่อง เช่น พลาสติกคลุมโรงเรือน ชุดตรวจโรคในพืชและสัตว์ วัคซีนสำหรับสัตว์น้ำ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ศ.ดร.มรกต ระบุว่าผลงานที่นำมาจัดแสดงภายในงานเอบิค 2009 นั้น ไม่ได้มาจากเทคโนโลยีการดัดแปรพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอแต่อย่างใด แต่จะมีการแสดงผลงานวิจัยทางด้านพืชจีเอ็มโอและความปลอดภัยทางชีวภาพด้วย โดยในส่วนของไบโอเทคจะมีผลงานวิจัยทางด้านจีเอ็มโอในส่วนของพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง รวมทั้งงานวิจัยการศึกษาการกระจายของละอองเกสรของมะละกอดัดแปรพันธุกรรม เป็นต้น
ทั้งนี้ นักวิชาการ เกษตรกร และผู้สนใจ สามารถเข้าร่วมชมงานเอบิค 2009 ได้ตั้งแต่วันที่ 23-25 ก.ย.52 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยในส่วนนิทรรศการสามารถเข้าชมได้ฟรี แต่ในส่วนของการประชุมวิชาการมีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-564-6700 ต่อ 3379-3382
ข้าวต้านทานโรคใบไหม้ ผลงานวิจัยเด่นของไบโอเทคที่จะนำมาจัดแสดงในงาน ABIC 2009
เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน อีกหนึ่งผลงานวิจัยเด่นที่ไบโอเทคจะนำไปจัดแสดงในงาน ABIC 2009
ไบโอเทคจัดยิ่งใหญ่ "ABIC 2009" ครั้งแรกในไทย ยึดแนวคิดเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรเพื่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต ขนงานวิจัยเมล็ดพันธุ์พืชโชว์ในงานเพียบ ชูเมล็ดข้าวต้านทานโรคใบไหม้ ข้าวทนน้ำท่วม และนวัตกรรมการเกษตรอีกเพียบ พร้อมเชิญที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีออสซี บรรยายพิเศษเป็นไฮไลต์ภาคการประชุม
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แถลงข่าวการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร หรือ เอบิค 2009 (ABIC 2009) ภายใต้หัวข้อ เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร เพื่อสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและชีวิตที่ดีกว่า โดยมี ดร.สุจินดา โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธานการแถลงข่าว เมื่อวันที่ 17 ก.ย.52 ที่ผ่านมา ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับเลือกจากมูลนิธิด้านการประชุมนานาชาติเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร (ABIC Foundation) ประเทศแคนาดา ให้เป็นเจ้าภาพจัดงานเอบิค 2009 ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 23-25 ก.ย.52 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB)
"ภายในงานเอบิค 2009 จะประกอบด้วย การประชุมวิชาการ การแสดงโปสเตอร์ผลงานวิจัย และการจัดแสดงนิทรรศการความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ทั้งของนักวิจัยไทยและต่างประเทศ ทั้งด้านพืชและสัตว์ ที่น่าสนใจ ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าว ข้าวโพดหวาน พริก ฟักทอง แตงกวา อ้อยพลังงาน และอ้อยอาหารสัตว์ ส่วนในด้านสัตว์จะมุ่งเน้นเทคโนโลยีทางด้านสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลา เพราะปัจจุบันไม่สามารถจับจากธรรมชาติได้เพียงพอ" ศ.ดร.มรกต กล่าวกับผู้สื่อข่าวและทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์
สำหรับผลงานวิจัยเด่นของไบโอเทคที่จะนำมาจัดแสดงในงานนี้ ได้แก่ การปรับปรุงเมล็ดพันธุ์พืช เช่น เมล็ดพันธุ์ข้าวต้านทานโรคใบไหม้ ที่ขณะนี้ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรนำไปปลูกบ้างแล้วในจังหวัดชัยภูมิ, น่าน และสกลนคร และยังมีพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วมที่นำไปปลูกแล้วในจังหวัดพิจิตร, พิษณุโลก และอุตรดิตถ์
"กลุ่มเป้าหมายผู้มาร่วมงานคือนักวิชาการ เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ซึ่งหวังว่าจะมีเกษตรกรจากภูมิภาคต่างๆ ให้ความสนใจมาร่วมงานนี้กันเป็นจำนวนมาก เพราะจะได้ความรู้ด้านการเกษตรจากนักวิชาการโดยตรง อีกทั้งยังมีการจำหน่ายและแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพที่เหมาะสมแก่พื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้เกษตรกรนำไปทดลองปลูกด้วย โดยเกษตรกรที่มาร่วมงานสามารถลงทะเบียนแจ้งความจำนงได้ภายในงาน แล้วจะจัดส่งไปให้ภายหลัง" ศ.ดร.มรกต กล่าว ซึ่งขณะนี้มีนักวิชาการลงทะเบียนเข้าร่วมงานแล้วกว่า 500 คน จาก 32 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐฯ แคนาดา อังกฤษ อิสราเอล ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน อินเดีย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย รวมทั้งไทย โดยหวังว่าจะเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัย บริษัทเอกชนของไทยและต่างชาติ
สำหรับไฮไลต์ในภาคการประชุมวิชาการ จะมีการบรรยายพิเศษเรื่อง โอกาสด้านการเกษตรของไทยภายใต้วิกฤตโลก (Thai Agriculture: Opportunities Under the World Crisis) โดย ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบรรยายพิเศษเรื่องอาหารและการผลิตอาหารให้ได้ปริมาณมากและคุณภาพดี (Food, More Food, Good Food) โดย ดร.วิลเลียม เจมส์ พีค็อค (Dr. William James Peacock) ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของนายกรัฐมนตรีประเทศออสเตรเลีย
นอกจากนี้ยังมีการแสดงเทคโนโลยีการผลิตหัวพันธุ์ปทุมมาและหงส์เหินแบบปลอดเชื้อเพื่อการส่งออก ซึ่งภายในงานจะมีกิจกรรมสอนจัดดอกไม้จากดอกปทุมมาและหงส์เหินด้วยทุกวัน วันละประมาณ 3 รอบ รอบละ 20 คน รวมถึงการแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีสำหรับการเกษตรที่น่าสนใจอีกหลายเรื่อง เช่น พลาสติกคลุมโรงเรือน ชุดตรวจโรคในพืชและสัตว์ วัคซีนสำหรับสัตว์น้ำ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ศ.ดร.มรกต ระบุว่าผลงานที่นำมาจัดแสดงภายในงานเอบิค 2009 นั้น ไม่ได้มาจากเทคโนโลยีการดัดแปรพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอแต่อย่างใด แต่จะมีการแสดงผลงานวิจัยทางด้านพืชจีเอ็มโอและความปลอดภัยทางชีวภาพด้วย โดยในส่วนของไบโอเทคจะมีผลงานวิจัยทางด้านจีเอ็มโอในส่วนของพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง รวมทั้งงานวิจัยการศึกษาการกระจายของละอองเกสรของมะละกอดัดแปรพันธุกรรม เป็นต้น
ทั้งนี้ นักวิชาการ เกษตรกร และผู้สนใจ สามารถเข้าร่วมชมงานเอบิค 2009 ได้ตั้งแต่วันที่ 23-25 ก.ย.52 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยในส่วนนิทรรศการสามารถเข้าชมได้ฟรี แต่ในส่วนของการประชุมวิชาการมีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-564-6700 ต่อ 3379-3382