โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 กันยายน 2552 16:17 น.
ภาพก้อนหินที่เคยเข้าใจว่าเป็นก้อนหินดวงจันทร์ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งแผ่นป้ายพลาสติกสีทองไม่ได้ระบุว่าหินก้อนนี้คือหินดวงจันทร์ และเมื่อพิสูจน์จึงพบว่าคือไม้กลายเป็นหิน (เอพี)
ภาพนิทรรศการจัดแสดงการจำลองปฏิบัติการอะพอลโล 11 (เอพี)
"ก้อนหินจากดวงจันทร์" ของกำนัลจากนาซาสู่ชาวโลก ในคราได้ส่งฝูงยานอะพอลโลไปสำรวจ ผ่านไปเกือบ 40 ปี เพิ่งจะรู้ว่าที่แสดงโชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเนเธอร์แลนด์นั้นเป็น "ของปลอม" พร้อมทั้งร่องรอยผู้นำชาติต่างๆ ที่นำไปครอบครองไว้เพียงผู้เดียว ชวนให้สงสัยว่า หินจากดวงจันทร์ส่งถึง 130 ประเทศยังอยู่ดีในฐานะสมบัติของชาตินั้นๆ หรือไม่
หลังจากที่ยานอะพอลโล 11 ได้ขนหินดวงจันทร์กลับโลกมาเมื่อปี 2512 และให้หลังอีก 3 ปียานอะพอลโล 17 ได้ขนหินดวงจันทร์กับมาเช่นกัน รวมก้อนหินที่ชาวโลกขนมาจากดวงจันทร์มีน้ำหนักทั้งสิ้น 382 กิโลกรัม และองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ได้มอบหินประมาณ 270 ก้อน ให้แก่ประเทศต่างๆ กว่า 130 แห่งทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม จากการสืบค้นของสำนักข่าวเอพีพบว่า มีหินดวงจันทร์หลายก้อน ที่ไม่สามารถระบุที่อยู่ได้ชัดเจนว่าไปอยู่ที่ใด
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติของเนเธอร์แลนด์ (Rijksmuseum) ได้ประกาศเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมาว่า ผลทดสอบหินดวงจันทร์ขนาดเท่าลูกพลัม ที่ได้รับตกทอดมาจากอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศนั้น เป็นเพียงชิ้นส่วนของไม้กลายเป็นหิน ซึ่งอาจจะมาจากแอริโซนา สหรัฐฯ ก็เป็นได้
ส่วนหินดวงจันทร์ของแท้ ที่ชาวดัตช์มีนั้น ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ของเนเธอร์แลนด์ ถึงอย่างนั้นการพบของปลอมดังกล่าว ก็ทำให้เกิดคำถามว่าประเทศต่างๆ ที่ได้รับของขวัญจากสหรัฐฯ นั้น ดูแลรักษาความปลอดภัยสิ่งที่ได้รับดีแค่ไหน หินดวงจันทร์ของแท้ที่ไม่ค่าเลยในแง่การเป็นแหล่งแร่ธาตุ แต่สามารถดึงดูดเงินจากกระเป๋านักสะสมในตลาดมืดได้
ทั้งนี้ มีหินดวงจันทร์ 135 ก้อนจากยานอะพอลโล 17 ที่ถูกแจกจ่ายให้กับชาติต่างๆ หรือผู้นำประเทศนั้นๆ แต่มีหินเพียง 25 ก้อนเท่านั้นที่สามารถระบุที่อยู่ได้ชัดเจนโดยเว็บไซต์ CollectSpace.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับผู้หลงใหลในประวัติศาสตร์อวกาศ และได้รวบรวมรายชื่อไว้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า หินที่เหลือนั้นหายไป เพียงแต่ข้อมูลยังไม่สมบูรณ์
ผมเชื่อสนิทเลยว่า หินดวงจันทร์ส่วนใหญ่ได้สูญหายหรือถูกขโมยไป และตอนนี้ถูกเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัวของใครหลายคน" โจเซฟ กูเธียนซ์ (Joseph Gutheinz) อาจารย์มหาวิทยาลัยอาริโซนาและอดีตนักสืบของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งเคยทำโครงการติดตามขุมทรัพย์จากดวงจันทร์ให้ความเห็น
ทางด้านเอพียังตรวจสอบจดหมายระหว่างกระทรวงของสหรัฐฯ และสถานทูตสหรัฐฯ หลายแห่งที่ติดต่อกันในปี 2516 ซึ่งสามารถระบุที่อยู่ของหินดวงจันทร์จากยานอะพอลโล 17 ได้ 10 ประเทศคือ สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียม อิตาลี บาร์เบโดส ฝรั่งเศส โปแลนด์ นอร์เวย์ คอสตาริกา อียิปต์ และเนปาล
หากแต่ยังมีอีก 30 ประเทศ ที่ขาดข้อมูลสำคัญๆ อย่างชื่อผู้รับมอบหินดวงจันทร์ หรือชื่อพิพิธภัณฑ์ที่นำหินดวงจันทร์ไปจัดแสดง
ตัวอย่างเช่นประเทศเอกวาดอร์และไซปรัสระบุว่า ไม่เคยทราบเรื่องเกี่ยวกับหินดวงจันทร์เลย และยังมีหินดวงจันทร์อีก 5 ก้อนที่ถูกครอบครองโดยผู้นำเผด็จการแอฟริกันเป็นเวลายาวนาน จนกระทั่งเสียชีวิตหรือไม่ก็ลงจากอำนาจ
ส่วนหินดวงจันทร์ 134 ก้อนจากยานอะพอลโล 11 นั้น มีจำนวนไม่ถึงโหลที่ระบุที่อยู่ได้ชัดเจน
นาซาได้ส่งมอบตัวอย่างหินให้กับกระทรวงต่างประเทศเพื่อแจกจ่ายต่อไป เราไม่มีบันทึกใดๆ ว่าได้มอบหินเหล่านั้นให้กับใครและเมื่อใดบ้าง" เจนนิเฟอร์ รอสส์-นาซซาล (Jennifer Ross-Nazzal) นักประวัติศาสตร์ของนาซาโต้ตอบเอพีผ่านอีเมล
สำนักงานประวัติศาสตร์ไม่ได้เก็บบันทึกเกี่ยวกับหินดวงจันทร์ว่า เป็นไปอย่างไรบ้าง และด้วยความรู้ของฉันเอง ไม่มีใครทำอย่างนั้นด้วย" ทิฟฟานี ฮาเมลิน (Tiffany Hamelin) นักประวัติศาสตร์ของกระทรวงต่างประเทเทศสหรัฐฯ อีเมลตอบคำถามเอพี
คำตอบทีได้รับเหล่านี้เอพีมองว่าเป็นเรื่องน่าประหลาดใจ ช่วงทศวรรษที 70 ต้นๆ (ราว พ.ศ. 2513) หลายคนคาดว่ายานอะพอลโล 17 จะเป็นเที่ยวบินสุดท้ายที่จะไปเยือนดวงจันทร์ และในช่วงเวลารุ่งโรจน์นั้น หินดวงจันทร์มีมูลค่าสูงลิ่ว
นาซาเก็บหินดวงจันทร์เกือบทั้งหมดไว้อย่างแน่นหนา และมอบเห็นก้อนเล็กๆ ให้กับนักวิจัย และให้ยืมหินดวงจันทร์ที่ใหญ่กว่าเพื่อจัดแสดง โดยหินของขวัญจากยานอะพอลโล 11 นั้นมีน้ำหนักเพียง 0.05 กรัม ใหญ่กว่าเม็ดข้าวเพียงเล็กน้อย ส่วนหินจากยานอะพอลโล 17 ที่มอบให้เป็นของขวัญนั้นมีน้ำหนักประมาณ 1.1 กรัม ซึ่งทั้งหมดถูกเก็บไว้ในกล่องพลาสติกทรงกลมเพื่อปกป้องหินเหล่านั้นและให้ง่ายต่อการมองเห็น
ทุกรัฐในสหรัฐฯ ได้รับชุดหินทั้งสอง ซึ่งกูเธียนซ์กล่าวว่าเขาและลูกศิษย์ได้ทำบันทึกรายการหินดวงจันทร์จากยานอะพอลโล 17 เกือบทั้งหมด แม้ว่าบางส่วนจะถูกเก็บไว้และไม่สามารถเข้าถึงได้ ส่วนหินดวงจันทร์จากยานอะพอลโล 11 นั้น พวกเขาเพิ่งจะเริ่มต้นสำรวจ
มีกรณีการซื้อขายตัวอย่างจากดวงจันทร์ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในปี 2536 คือการซื้อขายดินดวงจันทร์ที่มีน้ำหนัก 0.2 กรัม ซึ่งเก็บมาโดยยานสำรวจดวงจันทร์แบบไร้คนขับของรัสเซีย โดยมีการประมูลกันที่ราคา 15 ล้านบาท ซึ่งกูเธียนซ์กล่าวว่าการเพิกเฉยต่อหินดวงจันทร์เช่นนี้จะเป็นการเชื้อเชิญให้เกิดการขโมยได้
เมื่อปี 2541 กูเธียนซ์ได้ทำงานให้กับนาซาในแผนกสืบสวนทั่วไป เพื่อเปิดเผยเกี่ยวกับหินดวงจันทร์ปลอม และระหว่างนั้นเขาได้รับข้อเสนอให้รับหินดวงจันทร์ของจริงจากยานอะพอลโล 17 ที่มอบให้กับประเทศฮอนดูลัส ซึ่งมีมูลค่าถึง 170 ล้านบาท ที่สุดหินดวงจันทร์ดังกล่าวได้กลับคืนฮอนดูรัส แต่ก็ต้องผ่านการต่อสู้กันบนศาลในฟลอริดาก่อน
หินดวงจันทร์จากยานอะพอลโล 17 ที่มอบให้ประเทศมอลตาก็ถูกขโมยไปเมื่อปี 2547 และที่สเปนหินดวงจันทร์จากเที่ยวบินอวกาศเดียวกัน ซึ่งมอบให้กับผู้นำเผด็จการของประเทศ ฟรานซิสโก แฟรงโก (Francisco Franco) ก็หายไปจนเป็นข่าวในช่วงกลางปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้แฟรงโกได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 2518 และหลานชายของเขาได้ปฏิเสธว่า หินดวงจันทร์ดังกล่าวถูกขายไปแล้ว โดยบอกว่าแม่ของเขาได้ทำหาย แต่ก็อ้างด้วยว่าหินดังกล่าวเป็นสมบัติของครอบครัว ซึ่งจะขายไปก็ได้หากต้องการ
ไม่เพียงเท่านั้น หินดวงจันทร์ที่มอบให้ประเทศโรมาเนียก็หายไป หลังการลงจากอำนาจของอดีตผู้นำ นิโคไล เชาเซสกู (Nicolae Ceausescu) เมื่อปี 2532 เช่นเดียวกับหินดวงจันทร์ที่มอบให้ปากีสถานและนิคารากัว ส่วนหินดวงจันทร์ที่มอบให้กับอาฟกานิสถานและจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ก็ถูกปล้นไป
ในความเป็นจริงเนเธอร์แลนด์เป็นเพียงไม่กี่ประเทศ ที่เราทราบว่าหินดวงจันทร์ทั้งจากยานอะพอลโล 11 และ อะพอลโล 17 นั้นตั้งอยู่ที่ใด ส่วนอังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์และประเทศอื่นๆ เหล่านี้ไม่ได้จัดแสดงหินดวงจันทร์แก่สาธารณะในรูปแบบถาวร และบางประเทศได้เก็บรักษาหินดวงจันทร์ไว้นานหลายสิบปี
ด้านโฆษกของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งพบว่าหินดวงจันทร์ในครอบครองนั้นได้รับตกทอดจาก วิลเลม ดรีส (Willem Drees) อดีตนายกรัฐมนตรีคนก่อน ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์ได้ตรวจสอบกลับไปยังนาซา และนาซาได้ตอบกลับมาว่าหินดังกล่าวน่าจะเป็นหินดวงจันทร์ โดยที่ไม่ได้ดู ทั้งที่น้ำหนักของหินมากถึง 89 กรัม ซึ่งเกินน้ำหนักของตัวอย่างหินของจริงที่นาซาส่งให้ประเทศต่างๆ อีกทั้งแผ่นป้ายพลาสติกสีทองก็ไม่ได้ระบุว่าตัวอย่างดังกล่าวเป็นหินดวงจันทร์
ทั้งนี้ทูตสหรัฐฯ ได้มอบตัวอย่างหินให้แก่อดีตนายกรัฐมนตรีดรีสระหว่างการเข้าเยี่ยมของนักบินอะพอลโล 11 ที่เนเธอร์แลนด์เมื่อปี 2512 ซึ่งหลานชายของรีสที่ชื่อวิลเลมเช่นกันนั้นกล่าวกับเอพีว่า ปู่ของเขาได้พ้นจากตำแหน่งมากกว่า 10 ปีแล้ว และในปีที่นักบินอะพอลโลเข้าปู่ของเขาก็แทบจะหูหนวกและตาบอด แม้ว่าสติปัญญาจะยังแหลมคมอยู่ก็ตาม
ผมเดาว่าปู่คงได้ยินไม่ชัดนักว่าเขาพูดอะไรกัน ท่านอาจจะคิดไปเองก็ได้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร" เวลเลมผู้หลานให้ความเห็น ซึ่งเอพีระบุด้วยว่าครอบครัวอดีตนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ไม่ได้คิดถึงประเด็นความสำคัญและมูลค่าเป็นตัวเงินก่อนบริจาคก้อนหินให้พิพิธภัณฑ์.
ภาพก้อนหินที่เคยเข้าใจว่าเป็นก้อนหินดวงจันทร์ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งแผ่นป้ายพลาสติกสีทองไม่ได้ระบุว่าหินก้อนนี้คือหินดวงจันทร์ และเมื่อพิสูจน์จึงพบว่าคือไม้กลายเป็นหิน (เอพี)
ภาพนิทรรศการจัดแสดงการจำลองปฏิบัติการอะพอลโล 11 (เอพี)
"ก้อนหินจากดวงจันทร์" ของกำนัลจากนาซาสู่ชาวโลก ในคราได้ส่งฝูงยานอะพอลโลไปสำรวจ ผ่านไปเกือบ 40 ปี เพิ่งจะรู้ว่าที่แสดงโชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเนเธอร์แลนด์นั้นเป็น "ของปลอม" พร้อมทั้งร่องรอยผู้นำชาติต่างๆ ที่นำไปครอบครองไว้เพียงผู้เดียว ชวนให้สงสัยว่า หินจากดวงจันทร์ส่งถึง 130 ประเทศยังอยู่ดีในฐานะสมบัติของชาตินั้นๆ หรือไม่
หลังจากที่ยานอะพอลโล 11 ได้ขนหินดวงจันทร์กลับโลกมาเมื่อปี 2512 และให้หลังอีก 3 ปียานอะพอลโล 17 ได้ขนหินดวงจันทร์กับมาเช่นกัน รวมก้อนหินที่ชาวโลกขนมาจากดวงจันทร์มีน้ำหนักทั้งสิ้น 382 กิโลกรัม และองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ได้มอบหินประมาณ 270 ก้อน ให้แก่ประเทศต่างๆ กว่า 130 แห่งทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม จากการสืบค้นของสำนักข่าวเอพีพบว่า มีหินดวงจันทร์หลายก้อน ที่ไม่สามารถระบุที่อยู่ได้ชัดเจนว่าไปอยู่ที่ใด
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติของเนเธอร์แลนด์ (Rijksmuseum) ได้ประกาศเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมาว่า ผลทดสอบหินดวงจันทร์ขนาดเท่าลูกพลัม ที่ได้รับตกทอดมาจากอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศนั้น เป็นเพียงชิ้นส่วนของไม้กลายเป็นหิน ซึ่งอาจจะมาจากแอริโซนา สหรัฐฯ ก็เป็นได้
ส่วนหินดวงจันทร์ของแท้ ที่ชาวดัตช์มีนั้น ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ของเนเธอร์แลนด์ ถึงอย่างนั้นการพบของปลอมดังกล่าว ก็ทำให้เกิดคำถามว่าประเทศต่างๆ ที่ได้รับของขวัญจากสหรัฐฯ นั้น ดูแลรักษาความปลอดภัยสิ่งที่ได้รับดีแค่ไหน หินดวงจันทร์ของแท้ที่ไม่ค่าเลยในแง่การเป็นแหล่งแร่ธาตุ แต่สามารถดึงดูดเงินจากกระเป๋านักสะสมในตลาดมืดได้
ทั้งนี้ มีหินดวงจันทร์ 135 ก้อนจากยานอะพอลโล 17 ที่ถูกแจกจ่ายให้กับชาติต่างๆ หรือผู้นำประเทศนั้นๆ แต่มีหินเพียง 25 ก้อนเท่านั้นที่สามารถระบุที่อยู่ได้ชัดเจนโดยเว็บไซต์ CollectSpace.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับผู้หลงใหลในประวัติศาสตร์อวกาศ และได้รวบรวมรายชื่อไว้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า หินที่เหลือนั้นหายไป เพียงแต่ข้อมูลยังไม่สมบูรณ์
ผมเชื่อสนิทเลยว่า หินดวงจันทร์ส่วนใหญ่ได้สูญหายหรือถูกขโมยไป และตอนนี้ถูกเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัวของใครหลายคน" โจเซฟ กูเธียนซ์ (Joseph Gutheinz) อาจารย์มหาวิทยาลัยอาริโซนาและอดีตนักสืบของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งเคยทำโครงการติดตามขุมทรัพย์จากดวงจันทร์ให้ความเห็น
ทางด้านเอพียังตรวจสอบจดหมายระหว่างกระทรวงของสหรัฐฯ และสถานทูตสหรัฐฯ หลายแห่งที่ติดต่อกันในปี 2516 ซึ่งสามารถระบุที่อยู่ของหินดวงจันทร์จากยานอะพอลโล 17 ได้ 10 ประเทศคือ สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียม อิตาลี บาร์เบโดส ฝรั่งเศส โปแลนด์ นอร์เวย์ คอสตาริกา อียิปต์ และเนปาล
หากแต่ยังมีอีก 30 ประเทศ ที่ขาดข้อมูลสำคัญๆ อย่างชื่อผู้รับมอบหินดวงจันทร์ หรือชื่อพิพิธภัณฑ์ที่นำหินดวงจันทร์ไปจัดแสดง
ตัวอย่างเช่นประเทศเอกวาดอร์และไซปรัสระบุว่า ไม่เคยทราบเรื่องเกี่ยวกับหินดวงจันทร์เลย และยังมีหินดวงจันทร์อีก 5 ก้อนที่ถูกครอบครองโดยผู้นำเผด็จการแอฟริกันเป็นเวลายาวนาน จนกระทั่งเสียชีวิตหรือไม่ก็ลงจากอำนาจ
ส่วนหินดวงจันทร์ 134 ก้อนจากยานอะพอลโล 11 นั้น มีจำนวนไม่ถึงโหลที่ระบุที่อยู่ได้ชัดเจน
นาซาได้ส่งมอบตัวอย่างหินให้กับกระทรวงต่างประเทศเพื่อแจกจ่ายต่อไป เราไม่มีบันทึกใดๆ ว่าได้มอบหินเหล่านั้นให้กับใครและเมื่อใดบ้าง" เจนนิเฟอร์ รอสส์-นาซซาล (Jennifer Ross-Nazzal) นักประวัติศาสตร์ของนาซาโต้ตอบเอพีผ่านอีเมล
สำนักงานประวัติศาสตร์ไม่ได้เก็บบันทึกเกี่ยวกับหินดวงจันทร์ว่า เป็นไปอย่างไรบ้าง และด้วยความรู้ของฉันเอง ไม่มีใครทำอย่างนั้นด้วย" ทิฟฟานี ฮาเมลิน (Tiffany Hamelin) นักประวัติศาสตร์ของกระทรวงต่างประเทเทศสหรัฐฯ อีเมลตอบคำถามเอพี
คำตอบทีได้รับเหล่านี้เอพีมองว่าเป็นเรื่องน่าประหลาดใจ ช่วงทศวรรษที 70 ต้นๆ (ราว พ.ศ. 2513) หลายคนคาดว่ายานอะพอลโล 17 จะเป็นเที่ยวบินสุดท้ายที่จะไปเยือนดวงจันทร์ และในช่วงเวลารุ่งโรจน์นั้น หินดวงจันทร์มีมูลค่าสูงลิ่ว
นาซาเก็บหินดวงจันทร์เกือบทั้งหมดไว้อย่างแน่นหนา และมอบเห็นก้อนเล็กๆ ให้กับนักวิจัย และให้ยืมหินดวงจันทร์ที่ใหญ่กว่าเพื่อจัดแสดง โดยหินของขวัญจากยานอะพอลโล 11 นั้นมีน้ำหนักเพียง 0.05 กรัม ใหญ่กว่าเม็ดข้าวเพียงเล็กน้อย ส่วนหินจากยานอะพอลโล 17 ที่มอบให้เป็นของขวัญนั้นมีน้ำหนักประมาณ 1.1 กรัม ซึ่งทั้งหมดถูกเก็บไว้ในกล่องพลาสติกทรงกลมเพื่อปกป้องหินเหล่านั้นและให้ง่ายต่อการมองเห็น
ทุกรัฐในสหรัฐฯ ได้รับชุดหินทั้งสอง ซึ่งกูเธียนซ์กล่าวว่าเขาและลูกศิษย์ได้ทำบันทึกรายการหินดวงจันทร์จากยานอะพอลโล 17 เกือบทั้งหมด แม้ว่าบางส่วนจะถูกเก็บไว้และไม่สามารถเข้าถึงได้ ส่วนหินดวงจันทร์จากยานอะพอลโล 11 นั้น พวกเขาเพิ่งจะเริ่มต้นสำรวจ
มีกรณีการซื้อขายตัวอย่างจากดวงจันทร์ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในปี 2536 คือการซื้อขายดินดวงจันทร์ที่มีน้ำหนัก 0.2 กรัม ซึ่งเก็บมาโดยยานสำรวจดวงจันทร์แบบไร้คนขับของรัสเซีย โดยมีการประมูลกันที่ราคา 15 ล้านบาท ซึ่งกูเธียนซ์กล่าวว่าการเพิกเฉยต่อหินดวงจันทร์เช่นนี้จะเป็นการเชื้อเชิญให้เกิดการขโมยได้
เมื่อปี 2541 กูเธียนซ์ได้ทำงานให้กับนาซาในแผนกสืบสวนทั่วไป เพื่อเปิดเผยเกี่ยวกับหินดวงจันทร์ปลอม และระหว่างนั้นเขาได้รับข้อเสนอให้รับหินดวงจันทร์ของจริงจากยานอะพอลโล 17 ที่มอบให้กับประเทศฮอนดูลัส ซึ่งมีมูลค่าถึง 170 ล้านบาท ที่สุดหินดวงจันทร์ดังกล่าวได้กลับคืนฮอนดูรัส แต่ก็ต้องผ่านการต่อสู้กันบนศาลในฟลอริดาก่อน
หินดวงจันทร์จากยานอะพอลโล 17 ที่มอบให้ประเทศมอลตาก็ถูกขโมยไปเมื่อปี 2547 และที่สเปนหินดวงจันทร์จากเที่ยวบินอวกาศเดียวกัน ซึ่งมอบให้กับผู้นำเผด็จการของประเทศ ฟรานซิสโก แฟรงโก (Francisco Franco) ก็หายไปจนเป็นข่าวในช่วงกลางปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้แฟรงโกได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 2518 และหลานชายของเขาได้ปฏิเสธว่า หินดวงจันทร์ดังกล่าวถูกขายไปแล้ว โดยบอกว่าแม่ของเขาได้ทำหาย แต่ก็อ้างด้วยว่าหินดังกล่าวเป็นสมบัติของครอบครัว ซึ่งจะขายไปก็ได้หากต้องการ
ไม่เพียงเท่านั้น หินดวงจันทร์ที่มอบให้ประเทศโรมาเนียก็หายไป หลังการลงจากอำนาจของอดีตผู้นำ นิโคไล เชาเซสกู (Nicolae Ceausescu) เมื่อปี 2532 เช่นเดียวกับหินดวงจันทร์ที่มอบให้ปากีสถานและนิคารากัว ส่วนหินดวงจันทร์ที่มอบให้กับอาฟกานิสถานและจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ก็ถูกปล้นไป
ในความเป็นจริงเนเธอร์แลนด์เป็นเพียงไม่กี่ประเทศ ที่เราทราบว่าหินดวงจันทร์ทั้งจากยานอะพอลโล 11 และ อะพอลโล 17 นั้นตั้งอยู่ที่ใด ส่วนอังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์และประเทศอื่นๆ เหล่านี้ไม่ได้จัดแสดงหินดวงจันทร์แก่สาธารณะในรูปแบบถาวร และบางประเทศได้เก็บรักษาหินดวงจันทร์ไว้นานหลายสิบปี
ด้านโฆษกของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งพบว่าหินดวงจันทร์ในครอบครองนั้นได้รับตกทอดจาก วิลเลม ดรีส (Willem Drees) อดีตนายกรัฐมนตรีคนก่อน ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์ได้ตรวจสอบกลับไปยังนาซา และนาซาได้ตอบกลับมาว่าหินดังกล่าวน่าจะเป็นหินดวงจันทร์ โดยที่ไม่ได้ดู ทั้งที่น้ำหนักของหินมากถึง 89 กรัม ซึ่งเกินน้ำหนักของตัวอย่างหินของจริงที่นาซาส่งให้ประเทศต่างๆ อีกทั้งแผ่นป้ายพลาสติกสีทองก็ไม่ได้ระบุว่าตัวอย่างดังกล่าวเป็นหินดวงจันทร์
ทั้งนี้ทูตสหรัฐฯ ได้มอบตัวอย่างหินให้แก่อดีตนายกรัฐมนตรีดรีสระหว่างการเข้าเยี่ยมของนักบินอะพอลโล 11 ที่เนเธอร์แลนด์เมื่อปี 2512 ซึ่งหลานชายของรีสที่ชื่อวิลเลมเช่นกันนั้นกล่าวกับเอพีว่า ปู่ของเขาได้พ้นจากตำแหน่งมากกว่า 10 ปีแล้ว และในปีที่นักบินอะพอลโลเข้าปู่ของเขาก็แทบจะหูหนวกและตาบอด แม้ว่าสติปัญญาจะยังแหลมคมอยู่ก็ตาม
ผมเดาว่าปู่คงได้ยินไม่ชัดนักว่าเขาพูดอะไรกัน ท่านอาจจะคิดไปเองก็ได้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร" เวลเลมผู้หลานให้ความเห็น ซึ่งเอพีระบุด้วยว่าครอบครัวอดีตนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ไม่ได้คิดถึงประเด็นความสำคัญและมูลค่าเป็นตัวเงินก่อนบริจาคก้อนหินให้พิพิธภัณฑ์.